วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สายสัมพันธ์ 8 เชื้อชาติในราชบุรี

ประชากรในจังหวัดราชบุรีมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์อันเป็นลักษณะเด่นของจังหวัดที่สืบทอดมาแต่โบราณกาล ทั้งนี้เพราะสภาพภูมิประเทศที่เสริมให้เมืองราชบุรีเป็นอู่รวมทางวัฒธรรม เป็นเมืองที่ผู้คนทั้งจากดินแดนโพ้นทะเลและชาวพื้นเมืองอีกหลายกลุ่มที่อยู่อาศัยบริเวณชายแดนระหว่างไทย และประเทศสหภาพพม่าอพยพเข้ามาตั้งรกรากเมืองราชบุรีจึงประกอบด้วยชนหลายเชื้อชาติ แต่ละเชื้อชาติมีความแตกต่างกันทางวัฒนธรรมและประเพณี ประชากรของจังหวัดราชบุรีเท่าที่สืบค้นได้ในปัจจุบัน แบ่งตามสายเชื้อชาติได้ดังนี้ คนไทยภาคกลางพื้นถิ่น ชาวไทยจีน ชาวไท–ยวน ชาวไทยมอญ ชาวไทยกระเหรี่ยง ชาวไทยลาวโซ่ง ชาวไทยลาวตี้ และชาวไทยเขมร
1. คนไทยภาคกลางพื้นถิ่น
คนไทยภาคกลางพื้นถิ่นที่จังหวัดราชบุรีเห็นเด่นชัดที่ชุมชนบ้านโพหัก ตำบลโพหัก อำเภอบางแพ คนที่รู้จักโพหักรวมทั้งคนโพหักดั้งเดิม ต่างยอมรับว่า คนโพหักเป็นไทยแท้ สังเกตได้จากสำเนียงภาษาที่แปลกว่าท้องถิ่นอื่นในจังหวัดราชบุรี เช่น ใช้คำนำหน้าชื่อผู้หญิง “ออ” อาทิ ออแดง ออนุ่น เป็นต้น บางคนกล่าวว่าคำเหล่านี้เป็นคำไทยแท้แต่โบราณ
2.ชาวไทยจีน
ชาวไทยเชื้อสายจีนเป็นกลุ่มชนที่มีบทบาททางเศรษฐกิจต่อเมืองราชบุรีอย่างมาก G.Williaw Skinner ผู้ศึกษาเรื่องราวของชาวจันในประเทศไทยระบุว่าใน พ.ศ.๒๔๕๐ ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เป็นช่วงที่ชาวจีนอพยพเข้ามายังดินแดนประเทศไทยมากที่สุด ชาวจีนที่อพยพเข้ามาสารถแยกออกเป็น ๕ กลุ่มตามสำเนียงการพูด ได้แก่ ชาวจีนกลุ่มแต้จิ๋ว จีนแคะ ไหหลำ กวางตุ้ง และฮกเกี้ยน ชาวจีนเหล่านี้กระจายกันอยู่ในเขตอำเภอเมืองราชบุรี อำเภอดำเนินสะดวก อำเภอบ้านโป่ง และอำเภอโพธาราม
3.ชาวไท – ยวน
ชาวยวนมีถิ่นฐานเดิมอยู่ทางแถบอาณาจักรล้านนา ดินแดนทางตอนเหนือของประเทศไทย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ได้มีพระราชบัญชาให้กองทัพกรมหลวงเทพหริรักษ์ กองทัพเมืองเวียงจันทน์ พร้อมด้วยกองทัพเมืองล้านา ยกขึ้นไปตีเมืองเชียงแสนใน พ.ศ.๒๓๔๗ ขณะนั้นเมืองเชียงแสนถูกพม่ายึดไว้ เมื่อยึดเมืองเชียงแสนได้และไล่ตีทัพพม่าแตกไปแล้วกองทัพจากกรุงเทพฯ ก็ได้รื้อกำแพงเผาบ้านเมืองแล้วกวาดครัวชาวเมืองราง ๒๓,๐๐๐ คนเศษ อพยพลงมาทางใต้ แบ่งครัวออก เป็น ๕ ส่วนหนึ่งให้อยู่ที่เชียงใหม่ ส่วนที่สองอยู่ที่เมืองนครลำปาง ส่วนที่สามอยู่ที่เมืองน่าน ส่วนที่สี่อยู่ที่เมืองเวียงจันทน์ ส่วนสุดท้ายพาลงมากรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่สระบุรีบ้าง ราชบุรีบ้าง
ชาวยวนที่มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เมืองราชบุรีนั้น พากันตั้งบ้านเรือนบริเวณริมฝั่งขวาของแม่น้ำแม่กลอง ห่างจากเมืองราชบุรีปัจจุบันไปทางทิศตะวันออกประมาณ ๒ กิโลเมตร เรียกว่าบ้านไร่นที ต่อมามีการขยายครัวเรือนออกไปจากที่เดิมอีกหลายพื้นที่ อาทิ ตำบลคูบัว ตำบลดอนตะโก ตำบลดอนแร่ ฯลฯ อำเภอเมืองราชบุรี ตำบลหนองโพ ตำบลบางกระโด ฯลฯ อำโพธาราม และตำบลหนองปลาหมอ เป็นต้น
4.ชาวไทยมอญ
ชาวมอญอพยพเข้าสู่ประเทศไทย มีหลักฐานปรากฏครั้งแรงเมื่อ พ.ศ.๒๑๒๗ หลักจากสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสรภาพเมืองแคลง ครั้งนั้นพระมหาเถรคันฉ่องกับพระยาเกียรติ พระยารามได้พาสมัครพรรคพวกชาวมอญตามเสด็จกลับมากรุงศรีอยุธยาเป็นจำนวนมาก หลังจากนั้นก็มีการอพยพต่อมาอีกหลายครั้งให้สมัยอยุธยาและสมัยรัตนโกสินทร์ ชาวมอญในจังหวัดราชบุรีตั้งถิ่นฐานบริเวณสองฝั่งแม่น้ำ แม่กลองในเขตอำเภอโพธารามและอำเภอบ้านโป่ง
5.ชาวไทยกะเหรี่ยง
ชาวไทยกะเหรี่ยงในจังหวัดราชบุรีตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณชายแดนใกล้เทือกเขาตะนาวศรี มีผู้สันนิษฐานว่ากะเหรี่ยงกลุ่มราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ น่าจะอพยพโยกย้ายมาจากเมืองทวายในพม่า ชาวกะเหรี่ยงรุ่นเก่าที่อยู่ในตำบลสวนผึ้งเล่าต่อกันมาว่าราว ๒๐๐ ปีเศษผ่านมาแล้ว ได้ถูกพม่ารุกรานจึงพากันอพยพข้ามเทือกเขาตะนาวศรีเข้าชายแดนไทยทางอำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี แล้วแยกย้ายกันไปอยู่ที่จังหวัดราชบุรีอพยพมาอยู่ที่บ้านเก่ากะเหรี่ยงและบ้านหนองกะเหรี่ยง (บ้านหนองนกกระเรียน) แล้วโยกย้ายต่อมาทางตะวันตกจนถึงลำน้ำภาชี ตั้งบ้านเรือนอยู่ในอำเภอสวนผึ้ง และกิ่งอำเภอบ้านคาส่วนอีกสายแยกลงไปทางใต้ถึงต้นน้ำเพชรบุรี
กะเหรี่ยงที่อยู่ในอำเภอสวนผึ้งและกิ่งอำเภอบ้านคา กระจายอยู่ในตำบลสวนผึ้ง ตำบลบ้านบึง ตำบลบ้านคา และตำบลตะนาวศรี นอกจากนี้ยังอยู่ที่ตำบลยางหักอำเภอปากท่ออีกด้วย
6.ชาวไทยลาวโซ่ง
ชาวลาวโซ่งมีถิ่นฐานเดิมอยู่บริเวณกึ่งกลางระหว่างญวนกันอาณาจักรหลวงพระบาท ซึ่งทำสงคราม รุกรานกันอยู่เป็นประจำชาวลาวโซ่งจึงต้องอพยพโยกย้ายถิ่นฐานเพื่อหนีภัยสงคราม บางกลุ่มโยกย้ายไปอยู่ในถิ่นญวน บางกลุ่มย้ายเข้าไปอยู่ในอาณาจักรหลวงพระบาท ทั้งไปเองโดยสมัครใจและถูกกวาดต้อนไป รวมทั้งการอพยพเขามายังดินแดนประเทศไทยด้วย
ลาวโซ่งที่เข้ามายังประเทศไทยในสมัยธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตาสินมหาราชโปรดให้ตั้งบ้านเรื่อนอยู่ที่จังหวัดเพชรบุรีต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ได้โปรดให้ชาวลาวโซ่งที่อพยพเข้ามาใหม่ตั้งหลักแหล่งที่บ้านหนองปรงอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ภายหลังเมื่อจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น ชาวลาวโซ่งจึงพากันอพยพโยกย้ายไปตั้งหลักแหล่งในพื้นที่ใกล้เคียงและขยายออกไป ส่วนหนึ่งเข้ามาตั้งหลักแหล่งในจังหวัดราชบุรี ที่บ้านตลาดควาย อำเภอจอมบึง บ้าดอนคลัง บ้านบัวงาน บ้านโคกตับเป็ด อำเภอดำเนินสะดวก บ้านดอนคา บ้านตากแดด บ้านดอนพรม อำเภอบางแพ และที่บ้านเขาภูทอง อำเภอปากท่อ
7.ชาวไทยลาวตี้
ชาวลาวตี้หรือชาวไทยลาวเวียน เป้นกลุ่มคนที่มีเชื้อสายลาวจากเมืองเวียงจันทร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองราชบุรีตั้งแต่สมัยธนบุรีเรื่อยมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์โดยตั้งถิ่นฐานบริเวณที่ห่างจากฝั่งแม่น้ำแม่กลองด้านทิศตะวันออกราว ๒ กิโลเมตร ที่เขาแร้ง อำเภอเมืองราชบุรี บ้านฆ้อง บ้านบ่อมะกรูด บ้านเลือก บ้านสิงห์ บ้านกำแพงเหนือ บ้านกำแพงใต้ บ้านดอนทราย บ้านหนองรี บ้านบางลาน ในอำเภอโพธาราม บ้านดอนเสลา บ้านหนองปลาดุก บ้านหนองอ้อ บ้านฆ้องน้อย ในอำเภอบ้านโป่ง นอกจากนี้ยังมีอีกกลุ่มที่อำเภอจอมบึง ในเขตบ้านนาสมอ บ้านสูงเนิน บ้านทำเนียบ บ้านเกาะ บ้านหนอง บ้านเก่า บ้านวังมะเดื่อ เป็นต้น

8.ชาวไทยเขมร
ชาวเขมรลาวเดิมเป็นชื่อเรียนประชากรกลุ่มหนึ่งของจังหวัดราชบุรีที่ไม่มีเอกสารหลักฐานใดๆ กล่าวถึงถิ่นกำเนิดเดิมและสาเหตุของการอพยพครัวเข้าอยู่ในจังหวัดราชบุรีและจังหวัดใกล้เคียง นอกจากคำบอกจากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่บางคนว่า ถูกกวาดต้อนมาจากทางเหนือปัจจุบันชาวเขมรลาวเดิมตั้งบ้านเรือนกระจายในหลายท้องที่ของจังหวัด ได้แก่ ในท้องที่บางส่วนของตำบลคุ้มกระถิน และตำบลคุ้งน้ำวน เขตอำเภอเมืองราชบุรี อำเภอปากท่อ ที่ตำบลวัดยางงาน หมู่ ๓ บ้านกอไผ่ ตำบลบ่อกระดาน ที่บ้านบ่อตะคร้อ บ้านหัวถนน และบางส่วนของตำบลดอนทราย ที่หมู่บ้านหนองจอก อำเภอวัดเพลง ที่ตำบลวัดเพลงบริเวณวัดศรัทธาราษฎร์บ้านบางนางสูญ ตำบลเกาะศาลพระ ที่บ้านคลองขนอน คลองพะเนาว์ บ้านโคกพริก อำเภอบางแพ ที่ตำบลหัวโพ บ้านดอนมะขามเทศ ตำบลวังเย็น ที่บ้านเตาอิฐ บ้านหนองม่วง ตำบลวัดแก้ว ที่บ้านเสาธง บ้านทำนบ ตำบลบางแพ ที่บ้านท่าราบ ฯลฯ
ที่มา : สายสัมพันธ์ 8 เชิ้อชาติในราชบุรี. (2552). จังหวัดราชบุรี. [Online]. Available :http://www.ratchaburi.go.th/culture/people/index.htm#คนไทยภาคกลางพื้นถิ่น .[2552, พฤศจิกายน 8].
อ่านต่อ >>

วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ขนบธรรมเนียมประเพณีของจังหวัด

ขนบธรรมเนียมประเพณีของจังหวัดราชบุรี
  • ประเพณีสารทลาวของชาวไทยลาวเวียง : วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 10 ของทุกปี ชาวไทย เชื้อสายลาวเวียงในราชบุรี หมู่บ้านบ้านฆ้อง อำเภอโพธาราม ถือว่าเป็นวันสารทลาว ชาวบ้านมา ทำบุญ แก้ข้าวห่อ โดยแต่ละครอบครัวนำห่อข้าว ซึ่งภายในบรรจุข้าวสวยกับข้าวและผลไม้ ไปวางไว้ หน้าเจดีย์ผีบรรพบุรุษของตน คอยเวลาเมื่อพระบนศาลาการเปรียญฉันเพลเสร็จก็จะได้ทำพิธี แก้ ข้าวห่อกัน
  • การละเล่นสะบ้ามอญ : การเล่นสะบ้ามอญ เป็นประเพณีของชาวมอญในอำเภอบ้านโป่ง และอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี เป็นการละเล่นพื้นบ้าน นิยมเล่นในเทศกาลวันสงกรานต์
  • พิธีจองโอ๊ะห์ต่าน : จอง แปลว่า เผา โอ๊ะห์ แปลว่า ฟืน ต่าน แปลว่า บริจาค สิ่งที่ให้ ประเพณีนี้ยังไม่มีชื่อเป็นภาษาไทย จึงเรียกเป็นภาษามอญ จะมีขึ้นในวันมาฆบูชา ขึ้น 15 ค่ำเดือน 3 ซึ่งเป็นฤดูที่มีอากาศหนาวเย็น พุทธบัญญัติห้ามพระสงฆ์ก่อไฟเพื่อผิงหรือให้ความอบอุ่นแก่ ร่างกาย คนมอญเป็นผู้ที่มีความเป็นห่วงพระภิกษุสงฆ์ จึงได้ร่วมใจกันก่อไฟให้ความอบอุ่นแก่
  • ประเพณีเสนเรือนของลาวโซ่ง : ประเพณีเสนเรือน หรือประเพณีเสนผีเฮือน เป็น ประเพณีที่จัดขึ้นเพื่อเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษ ด้วยเชื่อว่าบรรพบุรุษของตนที่ตายไปจะได้ไม่อดอยาก มี ความเป็นอยู่สุขสบาย เป็นผลให้ลูกหลานที่อยู่มีชีวิตอย่างสุขสบายด้วย พิธีเสนเรือนจะไม่ทำใน เดือน 9 กับเดือน 10 แต่นิยมทำในเดือน 4 เดือน 6 และเดือน 12 เพราะว่าเป็นเดือนที่ว่างและมีข้าว ปลาอาหารสมบูรณ์ ชาวไทยทรงดำ ตำบลดอนคลัง อำเภอดำเนินสะดวก และอำเภอปากท่อ
  • ประเพณีกินข้าวห่อกะเหรี่ยง : ประเพณีกินข้าวห่อกะเหรี่ยง ของตำบลสวนผึ้ง และกิ่ง อำเภอบ้านคา หรือประเพณีเดือน 9 เป็นประเพณีอันดีงามที่ชาวกะเหรี่ยงในจังหวัดราชบุรี ประเพณี กินข้าวห่อกะเหรี่ยงจะเริ่มในเดือน “หล่าค่อก” หรือเดือนเก้าของทุกปี กะเหรี่ยงเชื่อว่าเดือนหล่าค่อก นี้ไม่ดี เป็นเดือนที่ภูตผีปีศาจจะออกหากิน โดยเฉพาะขวัญของชาวกะเหรี่ยงที่ไม่อยู่กับเจ้าของ ขวัญ ของใครถูกภูตผีจับกิน เจ้าของขวัญก็จะเกิดอาการเจ็บป่วยจนถึงตายได้
  • ประเพณีแห่ดอกไม้ของชาวลาวเวียง : ประเพณีนี้จัดเพื่อฉลองสงกรานต์ของชาวลาว เวียง 4 ตำบล ได้แก่
    -พิธีอัญเชิญพระเถรอุปคุต : ประชาชนชาวไทยเชื้อสายลาวเวียง ตำบลเขาแร้ง ร่วมกัน จัดพิธีอัญเชิญพระเถรอุปคุต ในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 เป็นวันเริ่มงานเทศน์มหาชาติ ทางวัดโสดา ประดิษฐาราม ได้มีพิธีอัญเชิญพระเถรอุปคุต เพราะเชื่อว่าพระเถรอุปคุตเป็นพระเถระผู้ใหญ่ จำศีล สะดือทะเลเป็นผู้คุมและดูแลงาน ปกปักรักษาและคุ้มครองงานเทศน์มหาชาติ ทางวัดได้จัดเครื่อง บูชาอัญเชิญอุปคุต โดยมีพระพุทธ ตาลปัตร ผ้าไตร ดอกไม้ ธูปเทียน เมื่อเริ่มทำพิธีพระสงฆ์ และ ชาวบ้านที่มาถือศีลมาร่วมชุมนุมกันอัญเชิญ ณ ข้างสระน้ำมีผู้อ่านโองการบูชาอัญเชิญพระอุปคุต แล้วนำพระพุทธรูปพร้อมเครื่องบูชาทั้งหมดอัญเชิญมาตั้งที่ศาลหน้าศาลาที่จะมีการเทศน์มหาชาติ อันเชิญพระเถรอุปคุต
    -พิธีตักบาตรเทโว : พิธีตักบาตรเทโว ปฏิบัติกันในวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ทำกันใน บริเวณอุโบสถ ทางวัดอัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานในบุษบก ซึ่งตั้งอยู่บนล้อเลื่อนระหว่างคาหาม มีบาตรตั้งไว้ข้างหน้าพระพุทธรูปเคลื่อนไปช้าๆ นำหน้าพระสงฆ์ และสามเณร ซึ่งถือบาตรเรียงไป ตามลำดับ พุทธศาสนิกชนทั้งหลายต่างก็นำข้าว อาหารหวาน คาว และข้าวต้มลูกโยน เรียงรายกัน เป็นแถวตามแนวที่บุษบกเคลื่อนผ่านคอยตักบาตร โดยชาวไทยลาวเวียงของตำบลเขาแร้ง อำเภอ เมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี ซึ่งจัดทำที่วัดโสดาปรดิษฐาราม
    -การเลี้ยงผี การรำผีของคนมอญ : หมู่บ้านชัยรัตน์ ตำบลท่าชุมพล อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ส่วนมากตำบลท่าชุมพลจะเป็นคนมอญ พอถึงเดือน 4 เดือน 6 จะมีการทำพิธีเลี้ยงผี แต่ถ้าบ้านไหน มีคนในครอบครัวทำผิดธรรมเนียมของคนมอญ บ้านนั้นจะต้องทำพิธีเลี้ยงผี โดยต้อง มีการรำผีด้วย ปัจจุบันมีบุคคลที่ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องนี้ คือ นางกง สินค้าประเสริฐ นางเจียน ปั้นน่วม และนางนที โนรีสุวรรณ
  • ประเพณีแก้ข้าวห่อของชาวไทยลาวเวียง : วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 10 ทุกปี ชาวไทยเชื้อ สายลาวเวียงในราชบุรี ถือว่าเป็นวันสารทลาว ชาวบ้านมาทำบุญ แก้ข้าวห่อ โดยแต่ละครอบครัวนำ ข้าวห่อ ซึ่งภายในบรรจุข้าวสวย กับข้าว ผลไม้ ไปวางไว้หน้าเจดีย์ผีบรรพบุรุษของตน คอยเวลาเมื่อ พระบนศาลาการเปรียญฉันท์เพลเสร็จ ก็จะได้ทำพิธีแก้ข้าวห่อกัน
  • ประเพณีเหยียบหลังกะเหรี่ยง : วัดแจ้งเจริญ ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลจอมประทัด อำเภอวัด เพลง มีพระภิกษุนวม ซึ่งเป็นอดีตเจ้าอาวาส และความศักดิ์สิทธิ์ในอำนาจพระพุทธคุณของเจ้า อาวาสอันเป็นเหตุจูงใจให้ชาวกะเหรี่ยงเดินทางมายังวัดแจ้งเจริญแห่งเดียว ทำให้เกิดประเพณีที่ เรียกว่า “เหยียบหลังกะเหรี่ยงวัดแจ้งเจริญ” พิธีกรรมที่ปฏิบัติคือ เตรียมน้ำผสมขมิ้น ถูตัว ผู้หญิงถู เท้า คลีมวยผมของตนเช็ดเท้าด้วยความศรัทธา สรงน้ำเสร็จแล้ว กะเหรี่ยงผู้ชายจะนอนเรียงกันบน พื้นดินให้ท่าเจ้าอาวาสเดินบนตัวจากที่สรงน้ำจนถึงกุฏิที่พัก เสร็จแล้วจะนำสายสิญจน์ ขี้ผึ้ง ขวดน้ำ มาให้เสกเป่าเพื่อนำกลับบ้าน และขอประพรมน้ำพระพุทธมนต์ ทำแล้วทำให้สบายใจ โล่งใจ โรคภัย ไข้เจ็บก็หายไป ผู้สนใจมาดูประเพณีเหยียบหลังกะเหรี่ยงได้ที่วัดแจ้งเจริญ ในงานประจำปีในเดือน เมษายน ระหว่างขึ้น 15 ค่ำ – แรม 1 ค่ำเดือน 5 ของทุกปี
  • ประเพณีป้าดตง : เป็นประเพณีของชาวไทยทรงดำ ตำบลดอนคลัง อำเภอดำเนิน สะดวก คือพิธีการเซ่นไหว้ผีเรือนของตนกินทุก 10 วัน ที่ห้องกะล้อห่อง วันที่จัดป้าดตง “มื้อเวนตง” เป็นการเซ่นไหว้อย่างธรรมดาต่างกับพิธีเสนและพิธีป้าดตงข้าวใหม่
  • ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง : เป็นประเพณีเก่าแก่ประเพณีหนึ่งของชุมชนชาวบ้านม่วง จัด ขึ้นทุกปี ในวันพระขึ้น 15 ค่ำเดือน 10 ในวันทำบุญตักบาตรน้ำผึ้งนั้น จะมีการทำบุญตักบาตร เช่นเดียวกับการทำบุญในเทศกาลอื่น มีการทำบุญตักบาตร ถวายอาหารคาวหวานแด่พระภิกษุสงฆ์ แต่ที่พิเศษคือ จะมีการตักบาตรน้ำผึ้ง ซึ่งทางวัดจะเรียงบาตร หรือภาชนะอื่นไว้ต่างหากจากการตัก บาตรข้าว โดยผู้ที่จะตักบาตรน้ำผึ้งนั้นจะนำน้ำผึ้งที่บรรจุอยู่ในขวดรินน้ำผึ้งลงในบาตร หรือภาชนะ ที่จัดไว้เหมือนกับที่เราตักบาตรข้าว การตักบาตรน้ำผึ้งนั้น เชื่อว่าจะได้อานิสงส์มากเพราะน้ำผึ้งนั้น พระสงฆ์จะนำไปผสมกับยาโบราณในการรักษาโรคภัยต่างๆ ปัจจุบันน้ำผึ้งหายากและมีน้อยจึง เปลี่ยนมาใช้ตักด้วยน้ำตาลทรายแทน
  • ประเพณีลอยกระทง : ในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 ในตอนเช้าจะจัดให้มีการทำบุญตัก บาตรเลี้ยงพระที่วัดในตอนเย็นและกลางคืนจะจัดให้มีการลอยกระทงสาย มีการประกวดธิดานพมาศ และจัดนิทรรศการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และประเพณีและวิถีชีวิตชาวไทยเชื้อสายมอญ สำหรับกระทงสายของชาวบ้านม่วง จะแตกต่างกับกระทงสายของจังหวัดอื่นๆ เพราะที่วัดม่วง กระทงสายจะเป็นกระทงที่ทำด้วยกระดาษสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 6 นิ้ว พับหักมุมสี่ด้าน ใส่น้ำมันพืช ผสมน้ำมันโซล่า มีไส้เส้นด้ายฟั้นเป็นสามขาตั้งอยู่กลางกระทง โดยในแต่ละปีจะมีการจัดทำกระทง สายจำนวนไม่น้อยกว่า 5,000 ใบ นำไปลอยเป็นสายกลางลำน้ำแม่กลอง จากหน้าวัดม่วงไปจนถึง เขตอำเภอโพธาราม
  • ประเพณีแห่ข้าวแช่ (เปิงสงกรานต์) : ในเทศกาลเปิงสงกรานต์ หรือตรุษสงกรานต์ตาม ประเพณีของชาวไทยมอญ ตำบลบ้านม่วง อำเภอบ้านโป่ง จะมีการทำสำรับข้าวแช่ เพื่อนำไปถวาย
  • การตำหูก : ในสมัยโบราณ ใต้ถุนเรือนจะมีกี่ประจำทุกครัวเรือน กี่นี้ใช้สำหรับตำหูก (ทอผ้า) หญิงที่เริ่มแตกเนื้อสาวจะมาใช้กี่นี้เป็นที่ฝึกทอผ้า ทอเป็นผ้าฝ้าย ไหม ผ้าควบ ผ้าลัง ผ้า โสร่ง แพรชิต แพรลาย เสื่อ สาด อาสนะ มุ้ง หมอน ทำเป็นลวดลายต่างๆ การทำสวนฝ้าย สวน หม่อน เป็นหน้าที่ของผู้ชาย การเลี้ยงหม่อน เข็ญฝ้ายเป็นหน้าที่ของผู้หญิง ใต้ถุนเรือนของคน โบราณเป็นโรงงานอุตสาหกรรมเบาชนิดที่ถือเป็นประเพณี
  • การตำข้าว : การตำข้าว ใต้ถุนเล้าข้าว จะมีครกมอญ (กระเดื่อง ไว้ใช้สำหรับตำ ข้าวเปลือก มีอยู่ทุกครัวเรือน) การตำข้าวเปลือกเป็นหน้าที่ของผู้หญิง สำหรับเรือนที่มีลูกสาว เขาจะ ตำข้าวหลังจากกินแรงแล้ว ในการนี้จะมีชายหนุ่มมาช่วยตำด้วย มีการเกี้ยวพาราสีตามวิสัยชาย หนุ่มหญิงสาว ส่วนเรือนที่ไม่มีลูกสาวเขาจะตำข้าวในเวลารุ่งเช้า ถ้าจะลงดำนาหรือทำบุญให้ทานก็ มักจะบอกเล่าญาติพี่น้องให้มาช่วย
  • ประเพณีสู่ขวัญข้าว : ประเพณีการสู่ขวัญข้าว เป็นประเพณีของผู้มีอาชีพทำนา ถือว่า ข้าวคือพระแม่โพสพที่ชุบชีวิตเลี้ยงผู้คนทั่วทั้งประเทศมาจนถึงทุกวันนี้ บุญคุณแม่โพสพนี้จึงมีแก่ พวกเราชาวมนุษย์ เหลือล้นพ้นคณา เมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวข้าวจะเอาข้าวเก็บใส่ยุ้งและจะนำข้าว ออกมารับประทานหรือซื้อขายกัน ชาวนาจะทำพิธีสู่ขวัญข้าวเสียก่อน (ปัจจุบันจะทำพร้อมกันทั้งทำ ข้าวใส่ยุ้งและเปิดยุ้ง) โดยนำข้าวที่นวดแล้วกองรวมกันไว้ต่อหน้ารูปปั้นแม่โพสพ นิมนต์พระสงฆ์มา สวดเพื่อเป็นสิริมงคล ทำบุญเลี้ยงพระ และมีหมอทำขวัญรับขวัญแม่โพสพ ทั่วๆ ไป แล้วทำพิธีใน เดือน 3 ขึ้น 3 ค่ำ ทุกปี
  • บุญข้าวจี่ : ข้าวจี่คือการนำข้าวเหนียวที่ปั้นแล้ว โรยเกลือทาไข่ไก่นำไปจี่ไฟให้สุก เรียกว่า ข้าวจี่ การทำบุญมีการให้ทานข้าวจี่ เรียกว่า บุญข้าวจี่ มีคนนิยมทำกันมาก เพราะถือว่าได้ บุญกุศลมาก และเป็นการให้ทานชนิดหนึ่ง เวลาทำกำหนดเอาเดือนสาม เพราะมีการกำหนดเช่นนี้ จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าบุญเดือนสาม มีเรื่องเล่าในพระธรรมบทว่า คราวหนึ่งนางปุณณทาสี ทำ ขนมแป้งจี้ (ข้าวจี่) ถวายแด่พระพุทธเจ้าและพระอานนท์ นางคิดว่าพระองค์รับแล้วคงจะไม่ฉันท์ เพราะอาหารของเราไม่ประรีต คงจะโยนให้กาให้สุนัขกินเสีย เมื่อพระองค์ทรงทราบวาระจิตของนาง ปุณณทาสีแล้ว จึงรับสั่งให้พระอานนท์ปูลาดอาสนะลง ทรงประทับนั่งฉันท์ขนมแป้งจี่ ณ ที่นั่น พอ นางปุณณทาสีได้เห็นก็เกิดความปิติยินดีสุดกำลัง พระองค์ทรงแสดงธรรมให้ฟัง นางก็ได้บรรลุโสดา ปัตติผลเป็นอริยบุคคล เพราะข้าวจี่เป็นมูลเหตุ ดังนั้นชาวนาเมื่อเก็บเกี่ยวแล้ว จึงพากันทำบุญข้าวจี่ เพราะการถวายข้าวจี่มีอานิสงส์มาก พิธีทำข้าวจี่ ชาวบ้านตัดหาฟืนและไม้เสียบมาไว้ที่เรือนของตน รุ่งเช้าจุดไฟขึ้น เอาข้าวเหนียวปั้นเป็นปั้นๆ โรยเกลือจี่ไฟเอาไข่ไก่ทาให้ทั่วแล้วจี่ไฟให้สุก เอา
  • ประเพณีสงกรานต์ : ประเพณีสงกรานต์เป็นประเพณีที่ดีงามสืบทอดกันมาเป็น เวลานาน เป็นวันครอบครัว เป็นประเพณีที่คนไทยถือว่าทุกคนในครอบครัว ญาติ พี่น้องได้มาพบกัน พร้อมหน้าเพื่อร่วมกันอนุรักษ์ประเพณีสงกรานต์ ให้ลูกหลานได้สืบทอดวัฒนธรรมที่ดีงามให้ยืนยาว ชุมชนจึงได้ร่วมกันจัดงานประเพณีสงกรานต์อย่างยิ่งใหญ่ มีการสรงน้ำพระ ประกวดนางสงกรานต์ การละเล่นพื้นเมือง การละเล่นแบบไทยๆ มีประชาชนมาร่วมรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ
  • การแห่โคมเวียนเทียนในวันวิสาขบูชา : ในอดีตที่ผ่านมา เพื่อเป็นการสักการะพระพุทธ องค์ ประชาชนตำบลหนองโพ อำเภอโพธาราม ร่วมกันจัดทำโคมดอกบัวด้วยการขดลวดเป็นกลีบ ดอกบัว เอากระดาษแก้วปะติดที่กลีบดอกบัว ต่อด้ามถือ เสียบเทียนไว้ในดอกบัว 1 เล่ม นำไปมอบ ให้กับทางวัดหนองโพ แล้วนำมาจำหน่ายให้ประชาชนทุกที่ที่มาร่วมงาน การเวียนเทียนวันวิสาขบู ชา จัดทำในวันเพ็ญเดือน 6 ของทุกปี
  • ประเพณีทุกขตะ : พระครูสังฆรักษ์พิชัย พุทธยาโน เจ้าอาวาสวัดเขาส้ม ได้สืบค้น ประวัติของประเพณีทุกขตะจากผู้เฒ่าแก่ชาวมอญที่จัดขึ้นในปีที่มีเดือนแปดสองครั้ง ลักษณะของ ประเพณีจะเป็นพิธีถวายทานโดยชาวบ้านแต่ละบ้านจะมารับพระไปฉันท์ที่บ้านของตนเอง ซึ่งจะต้อง มาขึ้นทะเบียนขอรับพระที่วัด โดยทางวัดจะทำสลากเท่ากับจำนวนพระที่นิมนต์ มีจุดประสงค์ว่าในปี หนึ่งๆ ได้มีโอกาสนิมนต์พระไปยังบ้านของตนเอง เพื่อเป็นสิริมงคลโดยไม่ต้องเจาะจงว่าเป็น พระสงฆ์องค์ใด ทำให้ชาวบ้านที่มีกำลังทรัพย์มากหรือน้อย มีโอกาสได้ทำบุญบ้านตามกำลังศรัทธา เจ้าอาวาสวัดเขาส้มได้กล่าวถึงประวัติที่มาของพิธีทุกขตะว่า สืบเนื่องในสมัยพุทธกาลมีนายทุกขตะ และภรรยาเป็นครอบครัวที่ยากจนมาก แต่มีจิตศรัทธาที่จะทำบุญในบวรพุทธศาสนาทั้งที่ตนยากจน โดยมีเครื่องนุ่งห่มเพียงชุดเดียว นายทุกขตะได้นำเครื่องนุ่งห่มของตนไปซักให้สะอาดแล้วนำไปขาย ได้เงินเพียงน้องนิด ก็นำเงินที่ได้ไปเตรียมจัดหาอาหารเพื่อถวายพระ ซึ่งในสมัยพุทธกาลนั้นได้มี ประเพณีการถวายอาหารพระสงฆ์ที่บ้านโดยไม่เจาะจงว่าเป็นพระสงฆ์องค์ใด ชาวบ้านมีความเชื่อว่า ถ้าได้ถวายอาหารแด่พระอรหันต์จะได้บุญและสมความปรารถนา พระพุทธเจ้าทรงจับได้ชื่อของนาย ทุกขตะ พระพุทธเจ้าจึงเสด็จไปยังบ้านของนายทุกขตะ เมื่อพระองค์ทรงฉันท์เสร็จ ได้ให้พรแก่ ครอบครัวของนายทุกขตะ เรื่องของนายทุกขตะครั้งนี้ได้แพร่หลายออกไป ซึ่งเป็นการแสดงถึงจิต ศรัทธาอันแรงกล้าของการทำบุญ พระราชาทรงทราบและทรงโปรดครอบครัวนายทุกขตะ จึงให้การ ดูแลครอบครัวนายทุกขตะเป็นอย่างดี
  • พิธีต้อนรับของชาวบ้านบางโตนด : พิธีต้อนรับบุคคลที่มาเยี่ยมเยียนตำบลบางโตนด หรือไปร่วมกับตำบลใกล้เคียง โดยกลุ่มแม่บ้านทั้ง 6 หมู่ มีประมาณ 20 คน จะแต่งกายด้วยชุดไทย โบราณ นุ่งโจงกระเบน ห่มผ้าสไบเฉียง เป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยโบราณให้คนรุ่นหลังได้เห็น เครื่องแต่งกายของผู้หญิงในอดีต

ที่มา : http://www.ratchaburi.go.th/data/storyofratchaburi.pdf

อ่านต่อ >>