วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

งาน "ที่นี่ชยราชบุรี เล่าขานวัฒนธรรมไทย"



งาน "ที่นี่ชยราชบุรี เล่าขานวัฒนธรรมไทย" เป็นงานที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกของจังหวัดราชบุรี ในโครงการสืบสานงานวัฒนธรรมแผ่นดินเมืองชยราชบุรี วิถีลุ่มน้ำแม่กลอง ตามนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy ) โดยจังหวัดราชบุรีได้บูรณาการ ร่วมกับโครงการถนนวัฒนธรรม ของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี และโครงการถนนคนเดิน (อนุรักษ์วัฒนธรรม) ของสำนักงานพาณิชย์จังหวัดราชบุรี
กำหนดจัดงาน วันที่ 21-22 พฤษภาคม 2553 ณ บริเวรณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี และบริเวณถนนวรเดช อ.เมือง จ.ราชบุรี
กิจกรรมสำคัญในงานประกอบด้วย
-การประกวดวาดภาพ "วิถีลุ่มน้ำแม่กลอง..เมืองราชบุรี"
-นิทรรศการเล่าเรื่องเมืองราชบุรี
-การสาธิตทำของที่ระลึกจากวัสดุธรรมชาติ เล่าขานสุภาษิต สำนวนขำๆ
-สาธิตการเขียนภาพด้วยสีน้ำ

กิจกรรมวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน นิทรศการและสาธิตถ่ายทอดภูมิปัญญา/จำหน่าย
-อ.ปากท่อ การสาธิตทอผ้าพื้นเมืองไทยทรงดำ
-อ.เมืองราชบุรี การสาธิตการทอผ้าจกจากดอนแร่
-อ.ดำเนินสะดวก การสาธิตการแปรรูปสินค้า ผ้าไทยทรงดำ
-อ.จอมบึง การสาธิต การเป่าแก้ว การจำหน่ายผ้าจกรางบัว
-อ.วัดเพลง การสาธิตการทำงาสลัด, ผ้าเขียนลายทอง,จักสานตะกร้า
-อ.สวนผึ้ง การสาธิตทำไผ่ไล่กว้าง (กังหันน้ำ)
-อ.บ้านคา การสาธิตทำตุ๊กตาสัตว์จากเมล็ดพืช
-อ.บ้านโป่ง การสาธิตขั้นตอนประเพณีบวชนาคแบบชาวมอญ
-อ.โพธาราม การสาธิตทำตุ๊กตาผ้า การทำหมอนจากบ้านสิงห์
-อ.บางแพ การสาธิตการจักสานไม้ไผ่
กิจกรรมถนนวัฒนธรรม
การแสดง
-ดนตรีไทย โดย ชมรมผู้สูงอายุ/เยาวชน
-ฟ้อนแคน โดย ชาวไทยทรงดำ ตำบลดอนคลัง
-ดนตรีกะเหรี่ยง โดย ชาวไทยกะเหรี่ยงบ้านบ่อหวี อ.สวนผึ้ง
-การละเล่นเด็กไทย โดย สภาวัฒนธรรมอำเภอวัดเพลง
-การแสดงโขน โดย กรมศิลปากร
-การแสดงเพลงพื้นบ้าน "รำโทน" โดย สภาวัฒนธรรมตำบลโพหัก
-การแสดงเพลงพื้นบ้าน "เพลงปรบไก่" โดย สภาวัฒนธรรมอำเภอวัดเพลง
-การละเล่นเด็กไทย โดย สภาวัฒนธรรมอำเภอวัดเพลง
-การแสดงละครชาตรี โดย
คณะทองคำนาฎศิลป์
-การแสดงหนังใหญ่ โดย วัดขนอน
-การแสดงโปงลาง โดย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี
-การแสดงเชิดหุ่นคน โดย ชมรมสืบสานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี
-การแสดงคีตมวยไทย โดย
สภาเด็กและเยาวชนจังหวัดราชบุรี
การสาธิตภูมิปัญญา
-การทำเซรามิค โดย โรงงานเถ้าฮงไถ่ อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี
-การปั้นโอ่ง โดย สมาคมเครื่องเคลือบดินเผาจังหวัดราชบุรี
-การทำกระดิ่งทองเหลืองแบบโบราณ โดย บ้านเขาลอยมูลโค อ.เมืองราชบุรี
-การตอกหนังใหญ่ โดย วัดขนอน
-การตัดกระดาษฉลุลาย/การแทงหยวก โดย สภาวัฒนธรรมตำบลหนองปลาหมอ
-การจักสานไม้ไผ่ โดย โครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน ตำบลดอนแร่
ลานอาหาร 8 ชาติพันธุ์ การสาธิตประกอบอาหาร
-ครัวชาวไทยพื้นถิ่น โดย สภาวัฒนธรรมอำเภอบางแพ
-ครัวชาวไทยมอญ โดย สภาวัฒนธรรมอำเภอบ้านโป่ง
-ครัวชาวไทยจีน โดย อำเภอเมืองราชบุรี
-ครัวชาวไทยยวน โดย
สภาวัฒนธรรมอำเภอเมือง
-ครัวชาวไทยกะเหรี่ยง โดย สภาวัฒนธรรมอำเภอสวนผึ้ง
-ครัวชาวไทยทรงดำ โดย สภาวัฒนธรรมอำเภอปากท่อ
-ครัวชาวไทยเขมร โดย สภาวัฒนธรรมอำเภอวัดเพลง
-ครัวชาวไทยลาวเวียง โดย
สภาวัฒนธรรมตำบลบ้านสิงห์
ซุ้มกิจกรรมวัฒนธรรม โดย สภาเด็กและเยาวชนจังหวัดราชบุรี
กิจกรรมคนเดิน (อนุรักษ์วัฒนธรรม)
-ลานอาหารของดีเมืองราชบุรีและการจำหน่ายสินค้า OTOP
อ่านต่อ >>

วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

พระพิมพ์ภาพพระพุทธรูปปางสมาธิ-โบราณวัตถุสมบัติชิ้นสำคัญของชาติที่ราชบุรี


โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เป็นหลักฐานอันแสดงถึงความรุ่งเรืองของชาติที่บรรพชนไทยได้สั่งสมสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ในสมัยที่นายอารักษ์ สังหิตกุล เป็นอธิบดีกรมศิลปากร ได้จัดทำหนังสือ "โบราณวัตถุที่เป็นสมบัติชิ้นสำคัญของชาติ" เมื่อปี พ.ศ.2547 ซึ่งรวบรวมไว้ 69 รายการ พระพิมพ์ภาพพระพุทธรูปปางสมาธิ ที่จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติราชบุรี นับเป็นโบราณวัตถุที่เป็นสมบัติสำคัญของชาติลำดับที่ 15 ใน 69 รายการนั้น โดยมีรายละเอียด ดังนี้
เลขทะเบียนวัตถุ 235/2533 เลขเดิม 7/2534
แบบศิลปะ/สมัย ทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 12-14
วัสดุ (ชนิด) หินชนวนสีขาว-เทา
ขนาด สูง 10 เซนติเมตร กว้าง 7 เซนติเมตร
ประวัติความเป็นมา ขุดพบภายในเจดีย์หมายเลข 1 เมืองโบราณคูบัว ต.คูบัว อ.เมือง จ.ราชบุรี
สถานที่จัดแสดง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี จ.ราชบุรี
ลักษณะและสภาพของโบราณวัตถุ
พระพิมพ์สลักจากหินชนวนเป็นภาพพระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิราบ พระหัตถ์แสดงปางสมาธิ ประทับอยู่ภายใต้พระกลดหรือฉัตรขนาบด้วยพระสถูปด้านขวา และธรรมจักรตั้งอยู่บนเสาสูงด้ายซ้าย นับเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะการตั้งธรรมจักรในสมัยทวารวดี ซึ่งพบอยู่ทั่วไปในเมืองโบราณสมัยทวารวดี ในภาคต่างๆ ของประเทศไทย
คุณค่าที่เสนอให้เป็นโบราณวัตถุที่เป็นสมบัติชิ้นสำคัญของชาติ
เป็นโบราณวัตถุที่มีคุณค่าโดดเด่นทางด้านศิลปะที่มีอยู่เพียงชิ้นเดียวในประเทศ จึงหาได้ยาก และกล่าวได้ว่ามีคุณค่าทางวิชาการด้านประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดีสมัยประวัติศษสตร์

โบราณสถานหมายเลข 1 ริมห้วยคูบัว เมืองโบราณคูบัว อ.เมือง จ.ราชบุรี
ที่มา :
สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ. (2547). โบราณวัตถุที่เป็นสมบัติชิ้นสำคัญของชาติ. กระทรวงวัฒนธรรม กรมศิลปากร : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. (หน้า 48-49).
อ่านต่อ >>