วันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2552

รำผีมอญ


มูลเหตุของการรำผีมอญ เนื่องมาจากความเชื่อที่ว่า ชาวมอญมีผีรักษา หรือผีประจำตระกูล เรียกเป็นการทั่วไปว่า "ผีมอญ" ซึ่งผีนี้มีหน้าที่คอยปกปักรักษาให้สมาชิกในครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุข แต่มีข้อแม้ว่า ห้ามล่วงละเมิดหรือ "ทำผิดผี" ด้วยประการทั้งปวง เช่น ห้ามคนตั้งครรภ์ที่มิใช่ลูกสาวของเจ้าของเรือนนอนในเรือน ห้ามคู่สามีภรรยาที่ไม่ได้อยู่ร่วมผีเดียวกันกับเจ้าของเรือน ร่วมหลับนอนในเรือน ห้ามเจ้าเรือนกินอาหารร่วมสำรับกับแขกที่มาเยือน ฯลฯ
การ "ผิดผี" จะส่งผลให้คนในบ้านเกิดเจ็บไข้ไม่สบาย เมื่อหมอดูทำนายว่าเป็นเพราะผีกระทำ ก็จะจัดหาวันเพื่อทำพิธีรำผีมอญ ซึ่งก็คือกระบวนการแสดงขอขมา หรือลุแก่โทษ ที่ได้กระทำล่วงเกินผีนั่นเอง
ชาวมอญราชบุรี ไม่ทำพิธีรำผีมอญบ่อยครั้งนัก หากเลี่ยงได้ก็จะเลี่ยง เนื่องจากการจัดรำผีมอญแต่ละครั้งใช้เงินค่อนข้างมาก อีกประการหนึ่ง เป็นการประกาศว่า บ้านเรือนหลังนี้ ได้มีผู้ทำผิดผี จึงได้เกิดการรำผีมอญขึ้น
ดังนั้น วิธีเลี่ยงที่ดีและง่าย คือ การปฏิบัติกิจของคนภายในครอบครัวมิให้ผิดผี ซึ่งก็เท่ากับเป็นการคุมพฤติกรรมให้อยู่ในกรอบของความเหมาะควร เมื่อทุกคนเคารพในการถือผีของกันและกัน ก็คือเคารพหลักในการอยู่ร่วมกันเป็นชุมชน การนับถือผีมอญจึงไม้ไร้เหตุผล














ที่มาข้อมูล
วีระพงศ์ มีสถาน. (2550). รำผีมอญ. คนราชบุรี.ราชบุรี.สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี. (141).

ที่มาของภาพ http://www.openbase.in.th/files/monstudies-pic045_md.jpg
ข้อมูลเพิ่มเติม
http://www.monstudies.com/thaismf112/index.php?topic=631.0
อ่านต่อ >>

ปฏิทินประเพณี-พิธีกรรม ของคน 8 ชาติพันธ์ราชบุรี


1.กะเหรี่ยงราชบุรี
  • เวียนเจดีย์ --> แรม 14 ค่ำ เดือน 5
  • เหยียบหลังกะเหรี่ยง --> ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5
  • ไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำหมู่บ้าน (ไหว้ต้นไม้) --> เดือน 6 (จันทรคติ)
  • ผูกแขนเรียกขวัญ (กินข้าวห่อ) -->เดือน 9 (จันทรคติ)

2.เขมรราชบุรี

  • เทศกาลทำข้าวหลาม --> เดือน 3
  • ตรุษไทย --> เดือน 4
  • เทศกาลสงกรานต์ --> เดือน 5
  • สาร์ทไทย --> เดือน 10

3.จีนราชบุรี

  • ตรุษจีน --> เดือนกุมภาพันธ์
  • เช็งเม้ง --> 1-5 เมษายน
  • เทศกาลขนมจ้าง --> ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 (ปฏิทินจีน หรือประมาณเดือนมิถุนายน)
  • สาร์ทจีน --> ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 (ปฏิทินจีน หรือประมาณเดือนสิงหาคม)
  • ไหว้พระจันทร์ --> ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 (ปฏิทินจีน หรือประมาณเดือนกันยายน)
  • กินเจ --> ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 9 (ปฏิทินจีน หรือประมาณเดือนตุลาคม)
  • เทศกาลขนมบัวลอย --> เดือน 12 (ปฎิทินจีน หรือประมาณเดือนธันวาคม)

4.ไทยพื้นถิ่นราชบุรี

  • ตรุษไทย/ตักบาตรอาหารสัมรวม --> แรม 15 ค่ำ เดือน 4
  • สงกรานต์/แห่พ่อปู่โพหัก --> 13-15 เมษายน
  • ตักบาตรดอกไม้ธูปเทียน/ตักบาตรสัมรวม --> วันเข้าพรรษา
  • ตักบาตรข้าวบิณฑ์ --> แรม 15 ค่ำ เดือน 10
  • ประเพณีแข่งเรือยาว --> แรม 7 ค่ำ เดือน 11

5.ไทยยวนราชบุรี

  • ประเพณีปอยขันโตกไทยยวน --> เดือนเมษายน
  • สงกรานต์ไทยยวน --> 13-15 เมษายน
  • สาร์ทไทย --> เดือน 10
  • เทศน์มหาชาติ --> วันออกพรรษา

6.มอญราชบุรี

  • สงกรานต์มอญ-ข้าวแช่ แห่ปลา --> 13-16 เมษายน
  • จองโอฮต่าน --> วันมาฆบูชา
  • รำผีมอญ (ขอขมา) --> เดือน 6 ยกเว้นวันพระ
  • เลี้ยงผีมอญ --> เดือน 6 ข้างขึ้น
  • แห่นาค --> ช่วงเทศกาลบวชนาค

7.ลาวเวียงราชบุรี

  • บุญข้าวจี่ --> ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3
  • แห่ดอกไม้ --> 15-17 เมษายน
  • ตักบาตรดอกไม้ --> วันเข้าพรรษา
  • สาร์ทลาว (แก้ห่อข้าว) --> ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10
  • บุญไต้น้ำมัน --> วันออกพรรษา

8.โส้งราชบุรี

  • เสนเฮือน --> เดือน 2,4,6 และ 12
  • อิ้นกอน (เล่นคอน-โยนลูกช่วง) --> 1 ค่ำ เดือน 5-6
  • งานสงกรานต์ (มีการละเล่นแทรกอยู่ในเทศกาล) --> เดือน 5 เทศกาลสงกรานต์

ที่มาข้อมูล
วีระพงศ์ มีสถาน. (2550). ปฏิทินงานประเพณี-พิธีกรรม ของกลุ่มวัฒนธรรมราชบุรี. คนราชบุรี. ราชบุรี : สำนักวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี. (216-217)

ที่มาของภาพ
http://www.damnoensaduak.go.th/images/location/location-11-big.jpg
อ่านต่อ >>

กะเหรี่ยงตีผึ้ง

ที่ อ.สวนผึ้ง มีชุมชนกะเหรี่ยงอยู่ค่อนข้างหนาแน่น เมื่อเปรียบเทียบกับ อำเภออื่นๆ ของ จ.ราชบุรี และมีต้นไม้ชนิดหนึ่งที่คล้ายกับชื่อของอำเภอสวนผึ้ง ชาวบ้านเรียกทั่วไปว่า "ต้นผึ้ง" จึงอาจเป็นไปได้ว่า การเรียกต้นผึ้งนี้ เรียกตามสภาพที่ผึ้งมาสร้างรัง

การจะได้น้ำผึ้งมารับประทาน หรือนำน้ำผึ้งแลกไปเปลี่ยนสิ่งของกับผู้คนถิ่นอื่นๆ ชาวกะเหรี่ยงราชบุรีมีภูมิปัญญาเก็บเอาน้ำผึ้งอยู่บนคาคบไม้ที่สูงขนาดแหงนคอตั้งบ่าได้อย่างชาญฉลาด ประกอบกับความเด็ดเดี่ยวใจกล้า ระคนกับความที่มีจิตนอบน้อมในธรรมชาติ ดังนั้น เมื่อกล่าวถึงการตีผึ้ง จึงต้องนึกถึงชาวกะเหรี่ยงเป็นลำดับต้นๆ
เมื่อหมายตาว่าจะเก็บน้ำผึ้งที่ทำรังบนกิ่งไม้จากต้นใด หมอผึ้งหรือผู้นำในการตีผึ้ง จะนำพรรคพวกไปตอกทอยเตรียมไว้ในช่วงเย็น หากบริเวณโคนต้นไม้มีเถาวัลย์หรือพงหนาม จะต้องถางให้เป็นเวิ้งพอที่จะเข้าหรือออกได้สะดวก
ก่อจะเริ่มตอกทอย ผู้ตอกจะนั่งยอง ประนมมือกล่าวขอขมาแม่นางไม้ที่ตนต้องตอกทอยลงไป และขอให้แม่นางไม้หนุนนำให้การตอกทอยสำเร็จด้วยดี
ผู้ตอกทอยจะเตรียมทอย (ถ่าเล่) ใส่ยามสะพายขึ้นไปพร้อมกับค้อนตอกทอย (จะคึ่ง) การตอกทอยดอกแรก จะตอกตั้งแต่ระดับที่ขาก้าวจากพื้นดินได้พอดี แล้วตอกสูงขึ้นหากจากระยะเดิมสูงประมาณศอดเศษขึ้นไปเรื่อยๆ จนใกล้กับรังผึ้ง
วิธีการตอกทอย ใช้มือข้างหนึ่งจับทอยระดับไหล่เอาไว้ ส่วนมืออีกข้างล้วงทอยในย่าม กำให้แน่นแล้วกระแทกให้ฝังลงไปในเปลือกไม้ พอที่ทอยจะตรึงอยู่ได้ ต่อจากนั้นมือข้างเดิมจึงหยิบค้อนแล้วตีทอย 2-4 ครั้ง เพื่อให้ทอยฝังลึกลงตรึงแน่น พอเพียงที่จะรับน้ำหนักคนได้ ทำเช่นนี้เรื่อยๆ ไป
มีการสอนย้ำอย่างหนักแน่นว่า ห้ามมิให้ใช้ทอยเดิมที่เคยมีผู้ตอกไว้แล้ว เพราะความแข็งแรงทนทานของทอยจะคาดคะเนด้วยตาไม่ได้ จึงต้องใช้ค้อนต่อยให้หัก แล้วให้ตอกทอยดอกใหม่ในบริเวณและระยะที่เหมาะสม ห้ามตอกซ้ำรอยเดิม
ข้อปฏิบัติอีกหลายประการที่มิได้ตราไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่ได้บอกสอนกันมาว่า ห้ามตีผึ้งในวันพระและในรอบหนึ่งปี มีฤดูตีผึ้งได้ 2 เดือน คือ เดือน 5 เป็นช่วงที่น้ำผึ้งมีรสหวานเป็นพิเศษ และจะตีอีกครั้งในเดือน 9 ซึ่งการมีข้อปฏิบัติและระยะเวลาตีผึ้งเช่นนี้ ทำให้ผึ้งได้มีโอกาสได้ขยายพันธุ์
ขั้นตอนการเก็บน้ำผึ้ง
หลังตอกทอยไว้ตอนเย็น ต้องรอให้ฟ้ามืดสนิทประมาณ 1 ทุ่ม ถ้าเป็นวันข้างขึ้นเดือนหงายจะต้องรอเวลาให้เดือนตก แต่โดยธรรมเนียมปฏิบัติแล้ว ชาวกะเหรี่ยงไม่นิยมตีผึ้งในเวลาค้างขึ้น แต่เลือกเอาวันข้างแรม เมื่อดวงอาทิตย์ตกไม่นาน ท้องฟ้าก็จะมืด เพราะต้องตีผึ้งในเวลาฟ้ามืดเท่านั้น ก่อนปีนต้นไม้ หมอผึ้งไหว้สักการะแม่นางไม้อีกครั้งหนึ่ง ว่าจะไปขอเก็บน้ำผึ้งข้างบน ขอแม่นางไม้ได้โปรดค้ำชู อย่าให้พลัดตกลงมา
หมอผึ้งใช้เชือก (เถาวัลย์หรือหวายก็ได้) ผูกปี๊บแล้วสะพายปี๊บไว้ที่บ่าข้างใดข้างหนึ่ง หรือถือปลายเชือกอีกข้างหนึ่ง แล้วเหยียบทอยไต่ขึ้นไป พร้อมกับฟ่อนคบเพลิงที่เตรียมไหว้ เมื่อไปใกล้รังผึ้ง หมอผึ้งจะจุดคบเพลิงซึ่งมัดเป็นฟ่อนเหมือนไม้กวาดทางมะพร้าว แต่มัดหลายเปลาะ ปล่อยให้ส่วนปลายบานชี้กางออก
คบเพลิงนี้ ทำจากกาบมะพร้าวแห้ง หรือเถารางจืดหรือเถาหมูป่าก็ได้ เพราะมีคุณสมบัติไม่ติดไฟเป็นเปลวเพลิง แต่ติดไฟคุแดงคล้ายไฟปลายธูป ส่วนที่ติดไฟแดงนี้เปราะ เมื่อถูกกระแทกหรือกระเทือนก็จะหักโดยง่าย แต่เศษไฟที่เหลือก็จะลามปลายไม้เข้ามาใหม่เรื่อยๆ ด้วยภูมิรู้นี้เอง ชาวกะเหรี่ยงจึงนำไม้ดังกล่าว มาทำคบเพลิงตีผึ้ง
หมอผึ้งใช้ด้านข้างของฟ่อนคบเพลิงกวาดที่รังผึ้ง ซึ่งมีผึ้งจับหุ้มโดยรอบ ทำให้ปลายของซี่คบเพลิงที่ติดไฟแดง แต่ละซี่นั้นหัก และร่วงกราวลงเบื้องล่าง บรรดาผึ้งเมื่อเห็นแสงไฟ ก็จะบินตามสะเก็ดไฟไปทันที หมอผึ้งกวาดรังผึ้งครั้งใด ปลายคบเพลิงก็จะหักและร่วงพลูลงทุกครั้ง ผึ้งที่เหลืออยู่ก็จะบินตามไฟลงไปทุกครั้งเช่นกัน เมื่อผึ้งเกือบทั้งหมดบินไปตามแสงไฟ จึงเหลือเพียงรังผึ้งและหัวน้ำหวาน หมอผึ้งรวบใส่ปี๊บที่เตรียมไว้อย่างรวดเร็ว ขั้นตอนนี้หมอผึ้งมีโอกาสถูกผึ้งต่อยได้ง่าย หมอผึ้งบางคนถูกผึ้งต่อยจนตัวชาหรือตกต้นไม้จนเสียชีวิตก็มี
อนึ่ง ขณะที่ไต่ขึ้นไปเก็บน้ำหวาน หมอผึ้งจะร้องเพลงกะเหรี่ยง เชื่อว่าเป็นการกล่อมแม่นางไม้ให้เคลิบเคลิ้ม ไม่ทำอันตราย หรือผลักให้ตกต้นไม้
ความรู้อีกอย่างหนึ่ง คือ ถ้ามีผึ้งหลายรังที่ต้นไม้เดียวกัน จะเลือกตัผึ้งจากรังบนก่อน เพราะขณะที่ตีรังบนสะเก็ดไฟจากคบเพลิงจะร่วงลงมา ผึ้งที่อยู่รังล่างจะบินตามไฟไปด้วยเช่นกัน ทำให้ทุ่นเวลาในการกวาดเขี่ยผึ้งรังที่อยู่เบื้องล่าง
นอกจากนี้ ชาวกะเหรี่ยงสอนกันไว้ว่า ขณะที่ตีผึ้ง ห้ามพรรคพวกที่อยู่ข้างล่างก่อไฟ ฉายไฟ แม้กระทั่งสูบบุหรี่ เพราะแสงไฟในยามมืด จะเป็นช่องทางให้ผึ้งบินไปหาและต่อยคนใกล้ต้นกำเนิดไฟได้ ยิ่งถ้าเป็นกองไฟที่เป็นเปลวเพลิง ผึ้งจะบินเข้ากองไฟและตายในทันที



ที่มาบทความ
วีระพงศ์ มีสถาน. (2550). กระเหรี่ยงตีผึ้ง. คนราชบุรี. ราชบุรี : สำนักงานวัฒนธรรม จ.ราชบุรี, 25-28
ที่มาของภาพ
ต้นไม้
http://www.trekkingthai.com/webboard/trip/7390-89.jpg
ตอกทอย
http://www.trekkingthai.com/webboard/trip/7390-70.jpg
ทอย
http://www.trekkingthai.com/webboard/trip/3846-20.jpg
จุดไฟ
http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/622/622/images/HoneyComp/05.jpg
อ่านต่อ >>

วันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ถิ่นอาศัยของคน 8 ชาติพันธ์ราชบุรี

ชาวไทยที่เป็นประชากรของราชบุรีตามกลุ่มวัฒนธรรมต่างๆ มีอยู่เป็นหย่อมย่าน ถ้ามีการรวมกลุ่มกันอย่างหนาแน่น ทำให้เกิดการแสดงออกทางประเพณี วัฒนธรรม และความเชื่อ ถ้าชุมชนที่มีกลุ่มคนตามวัฒนธรรมนั้นอยู่เบาบาง ก็ไม่สามารถแสดงออกทางวัฒนธรรมได้อย่างเต็มที่ บางครั้งก็ถูกกลุ่มวัฒนธรรมหลักชักนำหรือถูกกลืนกลายให้เสื่อมสูญไปจากสังคมก็มี ข้อมูลต่อไปนี้แสดงถึงพื้นที่อยู่อาศัยของผู้คนตามวัฒนธรรมต่างๆ

1.ไทยพื้นถิ่นราชบุรี
  • วัดใหญ่โพหัก วัดบางแพใต้ ต.โพหัก อ.บางแพ
  • วัดหลวง ต.วังเย็น อ.บางแพ
  • บ้านหนองเกสร บ้านเวียงทุน บ้านหัวดอน บ้านบางนางสูญ ต.วัดเพลง อ.วัดเพลง
  • บ้านปลายคลองเล็ก บ้านดอกกลาง บ้านบางกล้วย บ้านบางกระดี่ บ้านตาสน บ้านปากสระ ต.จอมประทัด อ.วัดเพลง

2.จีนราชบุรี

  • ตลาดเทศบาลเมืองบ้านโป่ง ต.บ้านโป่ง อ.บ้านโป่ง
  • ตลาดห้วยกระบอก ต.กรับใหญ่ อ.บ้านโป่ง
  • ตลาดเทศบาลเมืองราชบุรี ต.หน้าเมือง อ.เมือง
  • ตลาดเทศบาลเมืองโพธาราม ต.โพธาราม อ.โพธาราม

3.ไทยยวนราชบุรี

  • บ้านระหนอง บ้านหนองขัน บ้านใต้ บ้านตะโก บ้านต้นแหน บ้านโพธิ์งาม บ้านใหม่ บ้านหัวนา วัดแคทราย ต.คูบัว อ.เมือง
  • บ้านห้วยไผ่ บ้านนครบาล ต.ห้วยไผ่ อ.เมือง
  • วัดใหญ่อ่างทอง ต.อ่างทอง อ.เมือง
  • บ้านเจดีย์หัก วัดเจติยาราม ต.เจดีย์หัก อ.เมือง
  • วัดห้วยปลาดุก ต.หินกอง อ.เมือง
  • บ้านดอนแร่ บ้านนาหนอง บ้านชาด บ้านดอนตัน บ้านห้วย บ้านดอนกอก บ้านหนองสระ บ้านหนองโป่ง บ้านหนองมะตูม ต.ดอนแร่ อ.เมือง
  • บ้านบางกระโด วัดบางกระโด วัดหนองโพ ต.หนองโพ อ.โพธาราม
  • วัดหนองปลาหมอ ต.หนองปลาหมอ อ.บ้านโป่ง
  • วัดชมภูพล บ้านบ่อเจ๊ก ต.หนองอ้อ อ.บ้านโป่ง
  • วัดบ้านหลวง ต.วัดแก้ว อ.บางแพ
  • วัดหนองโก วัดนาคอก ต.อ่างหิน อ.ปากท่อ
  • บ้านพุคาย บ้านพุพลับ ต.ทุ่งหลวง อ.ปากท่อ
  • วัดหนองบัว ต.บ่อกระดาน อ.ปากท่อ
  • บ้านรางอาว บ้านทุ่งกว้าง บ้านชัฎใหญ่ บ้านหนองนกกระเรียน ต.รางบัว อ.จอมบึง
  • บ้านหนองกลางเนิน บ้านนาไร่เดียว บ้านชัฎหนองหมี บ้านชัฎป่าหวาย ต.บ้านบ่อ อ.สวนผึ้ง
  • บ้านหนองขาม บ้านทุ่งแหลม บ้านนาขุนแสน ต.ท่าเคย อ.สวนผึ้ง

4.มอญราชบุรี

  • วัดตาลปากลัด วัดโพธิ์โสภาราม วัดมะขาม ต.คุ้งพยอม อ.บ้านโป่ง
  • วัดม่วง วัดบัวงาม ต.บ้านม่วง อ.บ้านโป่ง
  • วัดหัวหิน วัดใหญ่นครชุมน์ วัดตาผา ต.นครชุมน์ อ.บ้านโป่ง
  • วัดบ้านหมอ วัดป่าไผ่ วัดคงคาราม ต.คลองตาคต อ.โพธาราม
  • วัดไทรอารีรักษ์ ต.โพธาราม อ.โพธาราม
  • วัดม่วงราษฎร์ศรัทธาราม วัดเกาะ วัดขนอน วัดสร้อยฟ้า ต.สร้อยฟ้า อ.โพธาราม
  • ชุมชนมอญดอนกระเบื้อง ต.ดอนกระเบื้อง อ.โพธาราม

5.เขมรราชบุรี

  • บ้านรากมะขาม บ้านเขาน้อย บ้านห้วยหมู ต.ห้วยไผ่ อ.เมือง
  • บ้านเด่นกระต่าย ต.หน้าเมือง อ.เมือง
  • บ้านคุ้งกระถิน ต.คุ้งกระถิน อ.เมือง
  • บ้านคุ้งน้ำวน ต.คุ้งน้ำวน อ.เมือง
  • บ้านพงสวาย บ้านคลองแค ต.พงสวาย อ.เมือง
  • บ้านก่อไผ่(หมู่ 3) ต.ยางงาม อ.ปากท่อ
  • บ้านหนองจอก ต.ดอนทราย อ.ปากท่อ
  • บ้านหัวถนน บ้านบ่อตะคร้อ วัดยางงาม ต.บ่อกระดาน อ.ปากท่อ
  • วัดโคกพระ ต.ปากท่อ อ.ปากท่อ
  • บ้านหนองกระทุ่ม ต.หนองกระทุ่ม อ.ปากท่อ
  • บ้านคลองขนอน บ้านคลองพะเนาว์ บ้านโคกพริก ต.เกาะศาลพระ อ.วัดเพลง
  • บ้านบางนางสูญ วัดศรัทธาราษฎร์ ต.วัดเพลง อ.วัดเพลง
  • บ้านดอนมะขามเทศ ต.หัวโพ อ.บางแพ
  • บ้านเตาอิฐ บ้านหนองม่วง ต.วังเย็น อ.บางแพง
  • บ้านเสาธง บ้านทำนบ ต.วัดแก้ว อ.บางแพ
  • บ้านท่าราบ ต.บางแพ อ.บางแพ
  • บ้านสมถะ ต.บางโตนด อ.โพธาราม
  • บ้านสนามชัย ต.เจ็ดเสมียน อ.โพธาราม

6.ลาวเวียงราชบุรี

  • วัดโสดาประดิษฐาราม ต.เขาแร้ง อ.เมือง
  • บ้านบ่อมะกรูด(บ้านช่าง) บ้านเก่า บ้านฆ้อง ต.บ้านฆ้อง อ.โพธาราม
  • บ้านสิงห์ บ้านกำแพงเหนือ บ้านกำแพงใต้ บ้านน้ำหัก ต.บ้านสิงห์ อ.โพธาราม
  • บ้านเลือก วัดโบสถ์ บ้านดอนกลาง บ้านหนองรี บ้านหนองเต่าดำ บ้านเตาเหล็ก บ้านขนุน บ้านหุบกล่ำ ต.บ้านเลือก อ.โพธาราม
  • บ้านบางลาน บ้านดอนทราย ต.ดอนทราย อ.โพธาราม
  • บ้านกรับใหญ่ บ้านอ้ออีเขียว บ้านหนองประทุน บ้านหนองประทุน บ้านหนองกลางด่าน บ้านหนองโรง บ้านรางพลับ ต.กรับใหญ่ อ.บ้านโป่ง
  • บ้านหนองปลาดุก ต.หนองกบ อ.บ้านโป่ง
  • วัดปลักแรด ต.ปากแรด อ.บ้านโป่ง
  • บ้านหนองอ้อ ต.หนองอ้อ อ.บ้านโป่ง
  • บ้านดอนเสลา บ้านฆ้องน้อย ต.ท่าผา อ.บ้านโป่ง
  • บ้านเขาแร้ง บ้านเกาะ ต.จอมบึง อ.จอมบึง
  • บ้านนาสมอ ต.ปากช่อง อ.จอมบึง

7.กะเหรี่ยงราชบุรี

  • บ้านบ่อ ต.สวนผึ้ง อ.สวนผึ้ง
  • บ้านบ่อหวี ต.ตะนาวศรี อ.สวนผึ้ง
  • บ้านคา ต.บ้านคา อ.บ้านค่า
  • บ้านโป่งกระทิงบน ต.บ้านบึง อ.บ้านคา
  • บ้านท่ายาง บ้านแม่ประจัน บ้านไทรงาม ต.ยางหัก อ.ปากท่อ

8.โส้งราชบุรี

  • บ้านตลาดควาย ต.จอมบึง อ.จอมบึง
  • บ้านดอนคลัง บ้านโคกตับเป็ด ต.ดอนคลัง อ.ดำเนินสะดวก
  • บ้านบัวงาม ต.บัวงาม อ.ดำเนินสะดวก
  • บ้านดอนคา บ้านตากแดด บ้านดอนพรม ต.ดอนคา อ.บางแพ
  • บ้านหัวเขาจีน ต.ห้วยยางโทน อ.ปากท่อ

ปรับปรุงจาก : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี. (2550). คนราชบุรี. ราชบุรี : ธรรมรักษ์การพิมพ์.(หน้า 211-215)


อ่านต่อ >>

วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สายสัมพันธ์ 8 เชื้อชาติในราชบุรี

ประชากรในจังหวัดราชบุรีมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์อันเป็นลักษณะเด่นของจังหวัดที่สืบทอดมาแต่โบราณกาล ทั้งนี้เพราะสภาพภูมิประเทศที่เสริมให้เมืองราชบุรีเป็นอู่รวมทางวัฒธรรม เป็นเมืองที่ผู้คนทั้งจากดินแดนโพ้นทะเลและชาวพื้นเมืองอีกหลายกลุ่มที่อยู่อาศัยบริเวณชายแดนระหว่างไทย และประเทศสหภาพพม่าอพยพเข้ามาตั้งรกรากเมืองราชบุรีจึงประกอบด้วยชนหลายเชื้อชาติ แต่ละเชื้อชาติมีความแตกต่างกันทางวัฒนธรรมและประเพณี ประชากรของจังหวัดราชบุรีเท่าที่สืบค้นได้ในปัจจุบัน แบ่งตามสายเชื้อชาติได้ดังนี้ คนไทยภาคกลางพื้นถิ่น ชาวไทยจีน ชาวไท–ยวน ชาวไทยมอญ ชาวไทยกระเหรี่ยง ชาวไทยลาวโซ่ง ชาวไทยลาวตี้ และชาวไทยเขมร
1. คนไทยภาคกลางพื้นถิ่น
คนไทยภาคกลางพื้นถิ่นที่จังหวัดราชบุรีเห็นเด่นชัดที่ชุมชนบ้านโพหัก ตำบลโพหัก อำเภอบางแพ คนที่รู้จักโพหักรวมทั้งคนโพหักดั้งเดิม ต่างยอมรับว่า คนโพหักเป็นไทยแท้ สังเกตได้จากสำเนียงภาษาที่แปลกว่าท้องถิ่นอื่นในจังหวัดราชบุรี เช่น ใช้คำนำหน้าชื่อผู้หญิง “ออ” อาทิ ออแดง ออนุ่น เป็นต้น บางคนกล่าวว่าคำเหล่านี้เป็นคำไทยแท้แต่โบราณ
2.ชาวไทยจีน
ชาวไทยเชื้อสายจีนเป็นกลุ่มชนที่มีบทบาททางเศรษฐกิจต่อเมืองราชบุรีอย่างมาก G.Williaw Skinner ผู้ศึกษาเรื่องราวของชาวจันในประเทศไทยระบุว่าใน พ.ศ.๒๔๕๐ ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เป็นช่วงที่ชาวจีนอพยพเข้ามายังดินแดนประเทศไทยมากที่สุด ชาวจีนที่อพยพเข้ามาสารถแยกออกเป็น ๕ กลุ่มตามสำเนียงการพูด ได้แก่ ชาวจีนกลุ่มแต้จิ๋ว จีนแคะ ไหหลำ กวางตุ้ง และฮกเกี้ยน ชาวจีนเหล่านี้กระจายกันอยู่ในเขตอำเภอเมืองราชบุรี อำเภอดำเนินสะดวก อำเภอบ้านโป่ง และอำเภอโพธาราม
3.ชาวไท – ยวน
ชาวยวนมีถิ่นฐานเดิมอยู่ทางแถบอาณาจักรล้านนา ดินแดนทางตอนเหนือของประเทศไทย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ได้มีพระราชบัญชาให้กองทัพกรมหลวงเทพหริรักษ์ กองทัพเมืองเวียงจันทน์ พร้อมด้วยกองทัพเมืองล้านา ยกขึ้นไปตีเมืองเชียงแสนใน พ.ศ.๒๓๔๗ ขณะนั้นเมืองเชียงแสนถูกพม่ายึดไว้ เมื่อยึดเมืองเชียงแสนได้และไล่ตีทัพพม่าแตกไปแล้วกองทัพจากกรุงเทพฯ ก็ได้รื้อกำแพงเผาบ้านเมืองแล้วกวาดครัวชาวเมืองราง ๒๓,๐๐๐ คนเศษ อพยพลงมาทางใต้ แบ่งครัวออก เป็น ๕ ส่วนหนึ่งให้อยู่ที่เชียงใหม่ ส่วนที่สองอยู่ที่เมืองนครลำปาง ส่วนที่สามอยู่ที่เมืองน่าน ส่วนที่สี่อยู่ที่เมืองเวียงจันทน์ ส่วนสุดท้ายพาลงมากรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่สระบุรีบ้าง ราชบุรีบ้าง
ชาวยวนที่มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เมืองราชบุรีนั้น พากันตั้งบ้านเรือนบริเวณริมฝั่งขวาของแม่น้ำแม่กลอง ห่างจากเมืองราชบุรีปัจจุบันไปทางทิศตะวันออกประมาณ ๒ กิโลเมตร เรียกว่าบ้านไร่นที ต่อมามีการขยายครัวเรือนออกไปจากที่เดิมอีกหลายพื้นที่ อาทิ ตำบลคูบัว ตำบลดอนตะโก ตำบลดอนแร่ ฯลฯ อำเภอเมืองราชบุรี ตำบลหนองโพ ตำบลบางกระโด ฯลฯ อำโพธาราม และตำบลหนองปลาหมอ เป็นต้น
4.ชาวไทยมอญ
ชาวมอญอพยพเข้าสู่ประเทศไทย มีหลักฐานปรากฏครั้งแรงเมื่อ พ.ศ.๒๑๒๗ หลักจากสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสรภาพเมืองแคลง ครั้งนั้นพระมหาเถรคันฉ่องกับพระยาเกียรติ พระยารามได้พาสมัครพรรคพวกชาวมอญตามเสด็จกลับมากรุงศรีอยุธยาเป็นจำนวนมาก หลังจากนั้นก็มีการอพยพต่อมาอีกหลายครั้งให้สมัยอยุธยาและสมัยรัตนโกสินทร์ ชาวมอญในจังหวัดราชบุรีตั้งถิ่นฐานบริเวณสองฝั่งแม่น้ำ แม่กลองในเขตอำเภอโพธารามและอำเภอบ้านโป่ง
5.ชาวไทยกะเหรี่ยง
ชาวไทยกะเหรี่ยงในจังหวัดราชบุรีตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณชายแดนใกล้เทือกเขาตะนาวศรี มีผู้สันนิษฐานว่ากะเหรี่ยงกลุ่มราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ น่าจะอพยพโยกย้ายมาจากเมืองทวายในพม่า ชาวกะเหรี่ยงรุ่นเก่าที่อยู่ในตำบลสวนผึ้งเล่าต่อกันมาว่าราว ๒๐๐ ปีเศษผ่านมาแล้ว ได้ถูกพม่ารุกรานจึงพากันอพยพข้ามเทือกเขาตะนาวศรีเข้าชายแดนไทยทางอำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี แล้วแยกย้ายกันไปอยู่ที่จังหวัดราชบุรีอพยพมาอยู่ที่บ้านเก่ากะเหรี่ยงและบ้านหนองกะเหรี่ยง (บ้านหนองนกกระเรียน) แล้วโยกย้ายต่อมาทางตะวันตกจนถึงลำน้ำภาชี ตั้งบ้านเรือนอยู่ในอำเภอสวนผึ้ง และกิ่งอำเภอบ้านคาส่วนอีกสายแยกลงไปทางใต้ถึงต้นน้ำเพชรบุรี
กะเหรี่ยงที่อยู่ในอำเภอสวนผึ้งและกิ่งอำเภอบ้านคา กระจายอยู่ในตำบลสวนผึ้ง ตำบลบ้านบึง ตำบลบ้านคา และตำบลตะนาวศรี นอกจากนี้ยังอยู่ที่ตำบลยางหักอำเภอปากท่ออีกด้วย
6.ชาวไทยลาวโซ่ง
ชาวลาวโซ่งมีถิ่นฐานเดิมอยู่บริเวณกึ่งกลางระหว่างญวนกันอาณาจักรหลวงพระบาท ซึ่งทำสงคราม รุกรานกันอยู่เป็นประจำชาวลาวโซ่งจึงต้องอพยพโยกย้ายถิ่นฐานเพื่อหนีภัยสงคราม บางกลุ่มโยกย้ายไปอยู่ในถิ่นญวน บางกลุ่มย้ายเข้าไปอยู่ในอาณาจักรหลวงพระบาท ทั้งไปเองโดยสมัครใจและถูกกวาดต้อนไป รวมทั้งการอพยพเขามายังดินแดนประเทศไทยด้วย
ลาวโซ่งที่เข้ามายังประเทศไทยในสมัยธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตาสินมหาราชโปรดให้ตั้งบ้านเรื่อนอยู่ที่จังหวัดเพชรบุรีต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ได้โปรดให้ชาวลาวโซ่งที่อพยพเข้ามาใหม่ตั้งหลักแหล่งที่บ้านหนองปรงอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ภายหลังเมื่อจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น ชาวลาวโซ่งจึงพากันอพยพโยกย้ายไปตั้งหลักแหล่งในพื้นที่ใกล้เคียงและขยายออกไป ส่วนหนึ่งเข้ามาตั้งหลักแหล่งในจังหวัดราชบุรี ที่บ้านตลาดควาย อำเภอจอมบึง บ้าดอนคลัง บ้านบัวงาน บ้านโคกตับเป็ด อำเภอดำเนินสะดวก บ้านดอนคา บ้านตากแดด บ้านดอนพรม อำเภอบางแพ และที่บ้านเขาภูทอง อำเภอปากท่อ
7.ชาวไทยลาวตี้
ชาวลาวตี้หรือชาวไทยลาวเวียน เป้นกลุ่มคนที่มีเชื้อสายลาวจากเมืองเวียงจันทร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองราชบุรีตั้งแต่สมัยธนบุรีเรื่อยมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์โดยตั้งถิ่นฐานบริเวณที่ห่างจากฝั่งแม่น้ำแม่กลองด้านทิศตะวันออกราว ๒ กิโลเมตร ที่เขาแร้ง อำเภอเมืองราชบุรี บ้านฆ้อง บ้านบ่อมะกรูด บ้านเลือก บ้านสิงห์ บ้านกำแพงเหนือ บ้านกำแพงใต้ บ้านดอนทราย บ้านหนองรี บ้านบางลาน ในอำเภอโพธาราม บ้านดอนเสลา บ้านหนองปลาดุก บ้านหนองอ้อ บ้านฆ้องน้อย ในอำเภอบ้านโป่ง นอกจากนี้ยังมีอีกกลุ่มที่อำเภอจอมบึง ในเขตบ้านนาสมอ บ้านสูงเนิน บ้านทำเนียบ บ้านเกาะ บ้านหนอง บ้านเก่า บ้านวังมะเดื่อ เป็นต้น

8.ชาวไทยเขมร
ชาวเขมรลาวเดิมเป็นชื่อเรียนประชากรกลุ่มหนึ่งของจังหวัดราชบุรีที่ไม่มีเอกสารหลักฐานใดๆ กล่าวถึงถิ่นกำเนิดเดิมและสาเหตุของการอพยพครัวเข้าอยู่ในจังหวัดราชบุรีและจังหวัดใกล้เคียง นอกจากคำบอกจากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่บางคนว่า ถูกกวาดต้อนมาจากทางเหนือปัจจุบันชาวเขมรลาวเดิมตั้งบ้านเรือนกระจายในหลายท้องที่ของจังหวัด ได้แก่ ในท้องที่บางส่วนของตำบลคุ้มกระถิน และตำบลคุ้งน้ำวน เขตอำเภอเมืองราชบุรี อำเภอปากท่อ ที่ตำบลวัดยางงาน หมู่ ๓ บ้านกอไผ่ ตำบลบ่อกระดาน ที่บ้านบ่อตะคร้อ บ้านหัวถนน และบางส่วนของตำบลดอนทราย ที่หมู่บ้านหนองจอก อำเภอวัดเพลง ที่ตำบลวัดเพลงบริเวณวัดศรัทธาราษฎร์บ้านบางนางสูญ ตำบลเกาะศาลพระ ที่บ้านคลองขนอน คลองพะเนาว์ บ้านโคกพริก อำเภอบางแพ ที่ตำบลหัวโพ บ้านดอนมะขามเทศ ตำบลวังเย็น ที่บ้านเตาอิฐ บ้านหนองม่วง ตำบลวัดแก้ว ที่บ้านเสาธง บ้านทำนบ ตำบลบางแพ ที่บ้านท่าราบ ฯลฯ
ที่มา : สายสัมพันธ์ 8 เชิ้อชาติในราชบุรี. (2552). จังหวัดราชบุรี. [Online]. Available :http://www.ratchaburi.go.th/culture/people/index.htm#คนไทยภาคกลางพื้นถิ่น .[2552, พฤศจิกายน 8].
อ่านต่อ >>

วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ขนบธรรมเนียมประเพณีของจังหวัด

ขนบธรรมเนียมประเพณีของจังหวัดราชบุรี
  • ประเพณีสารทลาวของชาวไทยลาวเวียง : วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 10 ของทุกปี ชาวไทย เชื้อสายลาวเวียงในราชบุรี หมู่บ้านบ้านฆ้อง อำเภอโพธาราม ถือว่าเป็นวันสารทลาว ชาวบ้านมา ทำบุญ แก้ข้าวห่อ โดยแต่ละครอบครัวนำห่อข้าว ซึ่งภายในบรรจุข้าวสวยกับข้าวและผลไม้ ไปวางไว้ หน้าเจดีย์ผีบรรพบุรุษของตน คอยเวลาเมื่อพระบนศาลาการเปรียญฉันเพลเสร็จก็จะได้ทำพิธี แก้ ข้าวห่อกัน
  • การละเล่นสะบ้ามอญ : การเล่นสะบ้ามอญ เป็นประเพณีของชาวมอญในอำเภอบ้านโป่ง และอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี เป็นการละเล่นพื้นบ้าน นิยมเล่นในเทศกาลวันสงกรานต์
  • พิธีจองโอ๊ะห์ต่าน : จอง แปลว่า เผา โอ๊ะห์ แปลว่า ฟืน ต่าน แปลว่า บริจาค สิ่งที่ให้ ประเพณีนี้ยังไม่มีชื่อเป็นภาษาไทย จึงเรียกเป็นภาษามอญ จะมีขึ้นในวันมาฆบูชา ขึ้น 15 ค่ำเดือน 3 ซึ่งเป็นฤดูที่มีอากาศหนาวเย็น พุทธบัญญัติห้ามพระสงฆ์ก่อไฟเพื่อผิงหรือให้ความอบอุ่นแก่ ร่างกาย คนมอญเป็นผู้ที่มีความเป็นห่วงพระภิกษุสงฆ์ จึงได้ร่วมใจกันก่อไฟให้ความอบอุ่นแก่
  • ประเพณีเสนเรือนของลาวโซ่ง : ประเพณีเสนเรือน หรือประเพณีเสนผีเฮือน เป็น ประเพณีที่จัดขึ้นเพื่อเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษ ด้วยเชื่อว่าบรรพบุรุษของตนที่ตายไปจะได้ไม่อดอยาก มี ความเป็นอยู่สุขสบาย เป็นผลให้ลูกหลานที่อยู่มีชีวิตอย่างสุขสบายด้วย พิธีเสนเรือนจะไม่ทำใน เดือน 9 กับเดือน 10 แต่นิยมทำในเดือน 4 เดือน 6 และเดือน 12 เพราะว่าเป็นเดือนที่ว่างและมีข้าว ปลาอาหารสมบูรณ์ ชาวไทยทรงดำ ตำบลดอนคลัง อำเภอดำเนินสะดวก และอำเภอปากท่อ
  • ประเพณีกินข้าวห่อกะเหรี่ยง : ประเพณีกินข้าวห่อกะเหรี่ยง ของตำบลสวนผึ้ง และกิ่ง อำเภอบ้านคา หรือประเพณีเดือน 9 เป็นประเพณีอันดีงามที่ชาวกะเหรี่ยงในจังหวัดราชบุรี ประเพณี กินข้าวห่อกะเหรี่ยงจะเริ่มในเดือน “หล่าค่อก” หรือเดือนเก้าของทุกปี กะเหรี่ยงเชื่อว่าเดือนหล่าค่อก นี้ไม่ดี เป็นเดือนที่ภูตผีปีศาจจะออกหากิน โดยเฉพาะขวัญของชาวกะเหรี่ยงที่ไม่อยู่กับเจ้าของ ขวัญ ของใครถูกภูตผีจับกิน เจ้าของขวัญก็จะเกิดอาการเจ็บป่วยจนถึงตายได้
  • ประเพณีแห่ดอกไม้ของชาวลาวเวียง : ประเพณีนี้จัดเพื่อฉลองสงกรานต์ของชาวลาว เวียง 4 ตำบล ได้แก่
    -พิธีอัญเชิญพระเถรอุปคุต : ประชาชนชาวไทยเชื้อสายลาวเวียง ตำบลเขาแร้ง ร่วมกัน จัดพิธีอัญเชิญพระเถรอุปคุต ในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 เป็นวันเริ่มงานเทศน์มหาชาติ ทางวัดโสดา ประดิษฐาราม ได้มีพิธีอัญเชิญพระเถรอุปคุต เพราะเชื่อว่าพระเถรอุปคุตเป็นพระเถระผู้ใหญ่ จำศีล สะดือทะเลเป็นผู้คุมและดูแลงาน ปกปักรักษาและคุ้มครองงานเทศน์มหาชาติ ทางวัดได้จัดเครื่อง บูชาอัญเชิญอุปคุต โดยมีพระพุทธ ตาลปัตร ผ้าไตร ดอกไม้ ธูปเทียน เมื่อเริ่มทำพิธีพระสงฆ์ และ ชาวบ้านที่มาถือศีลมาร่วมชุมนุมกันอัญเชิญ ณ ข้างสระน้ำมีผู้อ่านโองการบูชาอัญเชิญพระอุปคุต แล้วนำพระพุทธรูปพร้อมเครื่องบูชาทั้งหมดอัญเชิญมาตั้งที่ศาลหน้าศาลาที่จะมีการเทศน์มหาชาติ อันเชิญพระเถรอุปคุต
    -พิธีตักบาตรเทโว : พิธีตักบาตรเทโว ปฏิบัติกันในวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ทำกันใน บริเวณอุโบสถ ทางวัดอัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานในบุษบก ซึ่งตั้งอยู่บนล้อเลื่อนระหว่างคาหาม มีบาตรตั้งไว้ข้างหน้าพระพุทธรูปเคลื่อนไปช้าๆ นำหน้าพระสงฆ์ และสามเณร ซึ่งถือบาตรเรียงไป ตามลำดับ พุทธศาสนิกชนทั้งหลายต่างก็นำข้าว อาหารหวาน คาว และข้าวต้มลูกโยน เรียงรายกัน เป็นแถวตามแนวที่บุษบกเคลื่อนผ่านคอยตักบาตร โดยชาวไทยลาวเวียงของตำบลเขาแร้ง อำเภอ เมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี ซึ่งจัดทำที่วัดโสดาปรดิษฐาราม
    -การเลี้ยงผี การรำผีของคนมอญ : หมู่บ้านชัยรัตน์ ตำบลท่าชุมพล อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ส่วนมากตำบลท่าชุมพลจะเป็นคนมอญ พอถึงเดือน 4 เดือน 6 จะมีการทำพิธีเลี้ยงผี แต่ถ้าบ้านไหน มีคนในครอบครัวทำผิดธรรมเนียมของคนมอญ บ้านนั้นจะต้องทำพิธีเลี้ยงผี โดยต้อง มีการรำผีด้วย ปัจจุบันมีบุคคลที่ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องนี้ คือ นางกง สินค้าประเสริฐ นางเจียน ปั้นน่วม และนางนที โนรีสุวรรณ
  • ประเพณีแก้ข้าวห่อของชาวไทยลาวเวียง : วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 10 ทุกปี ชาวไทยเชื้อ สายลาวเวียงในราชบุรี ถือว่าเป็นวันสารทลาว ชาวบ้านมาทำบุญ แก้ข้าวห่อ โดยแต่ละครอบครัวนำ ข้าวห่อ ซึ่งภายในบรรจุข้าวสวย กับข้าว ผลไม้ ไปวางไว้หน้าเจดีย์ผีบรรพบุรุษของตน คอยเวลาเมื่อ พระบนศาลาการเปรียญฉันท์เพลเสร็จ ก็จะได้ทำพิธีแก้ข้าวห่อกัน
  • ประเพณีเหยียบหลังกะเหรี่ยง : วัดแจ้งเจริญ ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลจอมประทัด อำเภอวัด เพลง มีพระภิกษุนวม ซึ่งเป็นอดีตเจ้าอาวาส และความศักดิ์สิทธิ์ในอำนาจพระพุทธคุณของเจ้า อาวาสอันเป็นเหตุจูงใจให้ชาวกะเหรี่ยงเดินทางมายังวัดแจ้งเจริญแห่งเดียว ทำให้เกิดประเพณีที่ เรียกว่า “เหยียบหลังกะเหรี่ยงวัดแจ้งเจริญ” พิธีกรรมที่ปฏิบัติคือ เตรียมน้ำผสมขมิ้น ถูตัว ผู้หญิงถู เท้า คลีมวยผมของตนเช็ดเท้าด้วยความศรัทธา สรงน้ำเสร็จแล้ว กะเหรี่ยงผู้ชายจะนอนเรียงกันบน พื้นดินให้ท่าเจ้าอาวาสเดินบนตัวจากที่สรงน้ำจนถึงกุฏิที่พัก เสร็จแล้วจะนำสายสิญจน์ ขี้ผึ้ง ขวดน้ำ มาให้เสกเป่าเพื่อนำกลับบ้าน และขอประพรมน้ำพระพุทธมนต์ ทำแล้วทำให้สบายใจ โล่งใจ โรคภัย ไข้เจ็บก็หายไป ผู้สนใจมาดูประเพณีเหยียบหลังกะเหรี่ยงได้ที่วัดแจ้งเจริญ ในงานประจำปีในเดือน เมษายน ระหว่างขึ้น 15 ค่ำ – แรม 1 ค่ำเดือน 5 ของทุกปี
  • ประเพณีป้าดตง : เป็นประเพณีของชาวไทยทรงดำ ตำบลดอนคลัง อำเภอดำเนิน สะดวก คือพิธีการเซ่นไหว้ผีเรือนของตนกินทุก 10 วัน ที่ห้องกะล้อห่อง วันที่จัดป้าดตง “มื้อเวนตง” เป็นการเซ่นไหว้อย่างธรรมดาต่างกับพิธีเสนและพิธีป้าดตงข้าวใหม่
  • ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง : เป็นประเพณีเก่าแก่ประเพณีหนึ่งของชุมชนชาวบ้านม่วง จัด ขึ้นทุกปี ในวันพระขึ้น 15 ค่ำเดือน 10 ในวันทำบุญตักบาตรน้ำผึ้งนั้น จะมีการทำบุญตักบาตร เช่นเดียวกับการทำบุญในเทศกาลอื่น มีการทำบุญตักบาตร ถวายอาหารคาวหวานแด่พระภิกษุสงฆ์ แต่ที่พิเศษคือ จะมีการตักบาตรน้ำผึ้ง ซึ่งทางวัดจะเรียงบาตร หรือภาชนะอื่นไว้ต่างหากจากการตัก บาตรข้าว โดยผู้ที่จะตักบาตรน้ำผึ้งนั้นจะนำน้ำผึ้งที่บรรจุอยู่ในขวดรินน้ำผึ้งลงในบาตร หรือภาชนะ ที่จัดไว้เหมือนกับที่เราตักบาตรข้าว การตักบาตรน้ำผึ้งนั้น เชื่อว่าจะได้อานิสงส์มากเพราะน้ำผึ้งนั้น พระสงฆ์จะนำไปผสมกับยาโบราณในการรักษาโรคภัยต่างๆ ปัจจุบันน้ำผึ้งหายากและมีน้อยจึง เปลี่ยนมาใช้ตักด้วยน้ำตาลทรายแทน
  • ประเพณีลอยกระทง : ในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 ในตอนเช้าจะจัดให้มีการทำบุญตัก บาตรเลี้ยงพระที่วัดในตอนเย็นและกลางคืนจะจัดให้มีการลอยกระทงสาย มีการประกวดธิดานพมาศ และจัดนิทรรศการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และประเพณีและวิถีชีวิตชาวไทยเชื้อสายมอญ สำหรับกระทงสายของชาวบ้านม่วง จะแตกต่างกับกระทงสายของจังหวัดอื่นๆ เพราะที่วัดม่วง กระทงสายจะเป็นกระทงที่ทำด้วยกระดาษสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 6 นิ้ว พับหักมุมสี่ด้าน ใส่น้ำมันพืช ผสมน้ำมันโซล่า มีไส้เส้นด้ายฟั้นเป็นสามขาตั้งอยู่กลางกระทง โดยในแต่ละปีจะมีการจัดทำกระทง สายจำนวนไม่น้อยกว่า 5,000 ใบ นำไปลอยเป็นสายกลางลำน้ำแม่กลอง จากหน้าวัดม่วงไปจนถึง เขตอำเภอโพธาราม
  • ประเพณีแห่ข้าวแช่ (เปิงสงกรานต์) : ในเทศกาลเปิงสงกรานต์ หรือตรุษสงกรานต์ตาม ประเพณีของชาวไทยมอญ ตำบลบ้านม่วง อำเภอบ้านโป่ง จะมีการทำสำรับข้าวแช่ เพื่อนำไปถวาย
  • การตำหูก : ในสมัยโบราณ ใต้ถุนเรือนจะมีกี่ประจำทุกครัวเรือน กี่นี้ใช้สำหรับตำหูก (ทอผ้า) หญิงที่เริ่มแตกเนื้อสาวจะมาใช้กี่นี้เป็นที่ฝึกทอผ้า ทอเป็นผ้าฝ้าย ไหม ผ้าควบ ผ้าลัง ผ้า โสร่ง แพรชิต แพรลาย เสื่อ สาด อาสนะ มุ้ง หมอน ทำเป็นลวดลายต่างๆ การทำสวนฝ้าย สวน หม่อน เป็นหน้าที่ของผู้ชาย การเลี้ยงหม่อน เข็ญฝ้ายเป็นหน้าที่ของผู้หญิง ใต้ถุนเรือนของคน โบราณเป็นโรงงานอุตสาหกรรมเบาชนิดที่ถือเป็นประเพณี
  • การตำข้าว : การตำข้าว ใต้ถุนเล้าข้าว จะมีครกมอญ (กระเดื่อง ไว้ใช้สำหรับตำ ข้าวเปลือก มีอยู่ทุกครัวเรือน) การตำข้าวเปลือกเป็นหน้าที่ของผู้หญิง สำหรับเรือนที่มีลูกสาว เขาจะ ตำข้าวหลังจากกินแรงแล้ว ในการนี้จะมีชายหนุ่มมาช่วยตำด้วย มีการเกี้ยวพาราสีตามวิสัยชาย หนุ่มหญิงสาว ส่วนเรือนที่ไม่มีลูกสาวเขาจะตำข้าวในเวลารุ่งเช้า ถ้าจะลงดำนาหรือทำบุญให้ทานก็ มักจะบอกเล่าญาติพี่น้องให้มาช่วย
  • ประเพณีสู่ขวัญข้าว : ประเพณีการสู่ขวัญข้าว เป็นประเพณีของผู้มีอาชีพทำนา ถือว่า ข้าวคือพระแม่โพสพที่ชุบชีวิตเลี้ยงผู้คนทั่วทั้งประเทศมาจนถึงทุกวันนี้ บุญคุณแม่โพสพนี้จึงมีแก่ พวกเราชาวมนุษย์ เหลือล้นพ้นคณา เมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวข้าวจะเอาข้าวเก็บใส่ยุ้งและจะนำข้าว ออกมารับประทานหรือซื้อขายกัน ชาวนาจะทำพิธีสู่ขวัญข้าวเสียก่อน (ปัจจุบันจะทำพร้อมกันทั้งทำ ข้าวใส่ยุ้งและเปิดยุ้ง) โดยนำข้าวที่นวดแล้วกองรวมกันไว้ต่อหน้ารูปปั้นแม่โพสพ นิมนต์พระสงฆ์มา สวดเพื่อเป็นสิริมงคล ทำบุญเลี้ยงพระ และมีหมอทำขวัญรับขวัญแม่โพสพ ทั่วๆ ไป แล้วทำพิธีใน เดือน 3 ขึ้น 3 ค่ำ ทุกปี
  • บุญข้าวจี่ : ข้าวจี่คือการนำข้าวเหนียวที่ปั้นแล้ว โรยเกลือทาไข่ไก่นำไปจี่ไฟให้สุก เรียกว่า ข้าวจี่ การทำบุญมีการให้ทานข้าวจี่ เรียกว่า บุญข้าวจี่ มีคนนิยมทำกันมาก เพราะถือว่าได้ บุญกุศลมาก และเป็นการให้ทานชนิดหนึ่ง เวลาทำกำหนดเอาเดือนสาม เพราะมีการกำหนดเช่นนี้ จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าบุญเดือนสาม มีเรื่องเล่าในพระธรรมบทว่า คราวหนึ่งนางปุณณทาสี ทำ ขนมแป้งจี้ (ข้าวจี่) ถวายแด่พระพุทธเจ้าและพระอานนท์ นางคิดว่าพระองค์รับแล้วคงจะไม่ฉันท์ เพราะอาหารของเราไม่ประรีต คงจะโยนให้กาให้สุนัขกินเสีย เมื่อพระองค์ทรงทราบวาระจิตของนาง ปุณณทาสีแล้ว จึงรับสั่งให้พระอานนท์ปูลาดอาสนะลง ทรงประทับนั่งฉันท์ขนมแป้งจี่ ณ ที่นั่น พอ นางปุณณทาสีได้เห็นก็เกิดความปิติยินดีสุดกำลัง พระองค์ทรงแสดงธรรมให้ฟัง นางก็ได้บรรลุโสดา ปัตติผลเป็นอริยบุคคล เพราะข้าวจี่เป็นมูลเหตุ ดังนั้นชาวนาเมื่อเก็บเกี่ยวแล้ว จึงพากันทำบุญข้าวจี่ เพราะการถวายข้าวจี่มีอานิสงส์มาก พิธีทำข้าวจี่ ชาวบ้านตัดหาฟืนและไม้เสียบมาไว้ที่เรือนของตน รุ่งเช้าจุดไฟขึ้น เอาข้าวเหนียวปั้นเป็นปั้นๆ โรยเกลือจี่ไฟเอาไข่ไก่ทาให้ทั่วแล้วจี่ไฟให้สุก เอา
  • ประเพณีสงกรานต์ : ประเพณีสงกรานต์เป็นประเพณีที่ดีงามสืบทอดกันมาเป็น เวลานาน เป็นวันครอบครัว เป็นประเพณีที่คนไทยถือว่าทุกคนในครอบครัว ญาติ พี่น้องได้มาพบกัน พร้อมหน้าเพื่อร่วมกันอนุรักษ์ประเพณีสงกรานต์ ให้ลูกหลานได้สืบทอดวัฒนธรรมที่ดีงามให้ยืนยาว ชุมชนจึงได้ร่วมกันจัดงานประเพณีสงกรานต์อย่างยิ่งใหญ่ มีการสรงน้ำพระ ประกวดนางสงกรานต์ การละเล่นพื้นเมือง การละเล่นแบบไทยๆ มีประชาชนมาร่วมรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ
  • การแห่โคมเวียนเทียนในวันวิสาขบูชา : ในอดีตที่ผ่านมา เพื่อเป็นการสักการะพระพุทธ องค์ ประชาชนตำบลหนองโพ อำเภอโพธาราม ร่วมกันจัดทำโคมดอกบัวด้วยการขดลวดเป็นกลีบ ดอกบัว เอากระดาษแก้วปะติดที่กลีบดอกบัว ต่อด้ามถือ เสียบเทียนไว้ในดอกบัว 1 เล่ม นำไปมอบ ให้กับทางวัดหนองโพ แล้วนำมาจำหน่ายให้ประชาชนทุกที่ที่มาร่วมงาน การเวียนเทียนวันวิสาขบู ชา จัดทำในวันเพ็ญเดือน 6 ของทุกปี
  • ประเพณีทุกขตะ : พระครูสังฆรักษ์พิชัย พุทธยาโน เจ้าอาวาสวัดเขาส้ม ได้สืบค้น ประวัติของประเพณีทุกขตะจากผู้เฒ่าแก่ชาวมอญที่จัดขึ้นในปีที่มีเดือนแปดสองครั้ง ลักษณะของ ประเพณีจะเป็นพิธีถวายทานโดยชาวบ้านแต่ละบ้านจะมารับพระไปฉันท์ที่บ้านของตนเอง ซึ่งจะต้อง มาขึ้นทะเบียนขอรับพระที่วัด โดยทางวัดจะทำสลากเท่ากับจำนวนพระที่นิมนต์ มีจุดประสงค์ว่าในปี หนึ่งๆ ได้มีโอกาสนิมนต์พระไปยังบ้านของตนเอง เพื่อเป็นสิริมงคลโดยไม่ต้องเจาะจงว่าเป็น พระสงฆ์องค์ใด ทำให้ชาวบ้านที่มีกำลังทรัพย์มากหรือน้อย มีโอกาสได้ทำบุญบ้านตามกำลังศรัทธา เจ้าอาวาสวัดเขาส้มได้กล่าวถึงประวัติที่มาของพิธีทุกขตะว่า สืบเนื่องในสมัยพุทธกาลมีนายทุกขตะ และภรรยาเป็นครอบครัวที่ยากจนมาก แต่มีจิตศรัทธาที่จะทำบุญในบวรพุทธศาสนาทั้งที่ตนยากจน โดยมีเครื่องนุ่งห่มเพียงชุดเดียว นายทุกขตะได้นำเครื่องนุ่งห่มของตนไปซักให้สะอาดแล้วนำไปขาย ได้เงินเพียงน้องนิด ก็นำเงินที่ได้ไปเตรียมจัดหาอาหารเพื่อถวายพระ ซึ่งในสมัยพุทธกาลนั้นได้มี ประเพณีการถวายอาหารพระสงฆ์ที่บ้านโดยไม่เจาะจงว่าเป็นพระสงฆ์องค์ใด ชาวบ้านมีความเชื่อว่า ถ้าได้ถวายอาหารแด่พระอรหันต์จะได้บุญและสมความปรารถนา พระพุทธเจ้าทรงจับได้ชื่อของนาย ทุกขตะ พระพุทธเจ้าจึงเสด็จไปยังบ้านของนายทุกขตะ เมื่อพระองค์ทรงฉันท์เสร็จ ได้ให้พรแก่ ครอบครัวของนายทุกขตะ เรื่องของนายทุกขตะครั้งนี้ได้แพร่หลายออกไป ซึ่งเป็นการแสดงถึงจิต ศรัทธาอันแรงกล้าของการทำบุญ พระราชาทรงทราบและทรงโปรดครอบครัวนายทุกขตะ จึงให้การ ดูแลครอบครัวนายทุกขตะเป็นอย่างดี
  • พิธีต้อนรับของชาวบ้านบางโตนด : พิธีต้อนรับบุคคลที่มาเยี่ยมเยียนตำบลบางโตนด หรือไปร่วมกับตำบลใกล้เคียง โดยกลุ่มแม่บ้านทั้ง 6 หมู่ มีประมาณ 20 คน จะแต่งกายด้วยชุดไทย โบราณ นุ่งโจงกระเบน ห่มผ้าสไบเฉียง เป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยโบราณให้คนรุ่นหลังได้เห็น เครื่องแต่งกายของผู้หญิงในอดีต

ที่มา : http://www.ratchaburi.go.th/data/storyofratchaburi.pdf

อ่านต่อ >>

วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ปฏิทินท่องเที่ยว เทศกาล ประเพณี จังหวัดราชบุรี

Culture Festival and Event of Ratchaburi Prvince, Thailand.

มกราคม (January)
  • นมัสการและปิดทองหลวงพ่อแก่นจันทร์ เป็นงานนมัสการหลวงห่อแก่นจันทร์ ตักบาตรทำบุญ สะเดาะเคราะห์พระประจำวัน กลางคืนมีมหรสพ มีลิเก ละครแก้บ่าน สถานที่จัด วัดช่องลม อ.เมือง จ.ราชบุรี สอบถามเพิ่มเติม เจ้าอาวาสวัดช่องลม โทร. 0-3232-1573, 0-3232-5477, 0-3231-3328
กุมภาพันธ์ (February)
  • วิ่งมินิมาราธอน และจอมบึงเสือภูเขา สถานที่จัด บริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง สอบถามเพิ่มเติม มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง
  • งานประกวดกล้วยไม้ ในงาน "เดิน-วิ่ง ขี่จักรยาน ชมกล้วยไม้งาม ราชบุรีศรีจอมบึงประจำภาคตะวันตก ครั้งที่ 1" ในงานจอมบึงมาราธอน ประจำปี ณ อาคารหอประชุมใหม่ มรภ.หมู่บ้านจอมบึง จ.ราชบุรี รายละเอียด โทร.0-3226-1790 ต่อ 3132
  • งานประเพณีไทยตะนาวศรี อำเภอสวนผึ้ง ณ สนามหน้าที่ว่าการอำเภอสวนผึ้ง กิจกรรมภายในงานมีการประกวดขบวนแห่ชนพื้นถิ่น แสดงวิถีชีวิตของชนเผ่า การประกวดการแต่งกายของชนเผ่า การประกวดร้องเพลง การประกวดธิดาไทยตะนาวศรี การประกวดพืชผัก ผลไม้ และ จำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ OTOP หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ตลอดจนสินค้าราคาถูก สอบถามเพิ่มเติม อำเภอสวนผึ้ง ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี องค์การบริหารส่วนตำบลสวนผึ้ง
  • งานนิทรรศการศิลปะเครื่องปั้นดินเผา (มกราคม-ต้นกุมภาพันธ์) สถานที่จัดงาน พื้นที่จัดแสดงงานโรงงานเถ้าฮงไถ่ กิจกรรมเด่นที่น่าสนใจ การจัดแสดงงานเครื่องเคลือบดินเผาที่มีขั้นตอนการเผาแบบรากุ ของโรงงานเถ้าฮงไถ่ โรงงานผลิตเครื่องปั้นดินเผาแห่งแรกของจังหวัดราชบุรี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โรงงานเถ้าฮงไถ่ โทร.0-3232-3630, 0-3233-7574 คุณวศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ โทร.08-1880-3600
  • ย้อยรอยวิถีไทย ร่วมสมัยความทรงจำ วัดจัดงาน 31 ธันวาคม-3 มกราคม สถานที่จัดงาน อุทยานขี้ผึ้งสยาม อ.บางแพ จ.ราชบุรี กิจกรรมเด่นที่น่าสนใจ การจัดบรรยากาศตกแต่งแบบคนไทยย้อนยุค การแสดงฝีมือไทยในอดีต เพลิดเพลินกับเพลงพื้นบ้าน และนิทรรศการความรู้และกิจกรรมพิเศษที่เน้นแบบอดีตวันวาน อาหารไทยๆ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม อุทยานหุ่นขี้ผึ้งสยาม โทร.0-3238-1401-2(4)
  • สืบสานงานศิลป์ ภูมิปัญญาคนของแผ่นดิน "All About Arts" ตลาดเก่า 119 ปี วัดเจ็ดเสมียน วันจัดงาน วันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ สัปดาห์สุดท้ายของเดือน สถานที่ บริเวณตลาดเก่า 119 ปีเจ็ดเสมียน อ.โพธาราม กิจกรรมเด่นที่น่าสนใจ ชมการแสดงจากศิลปินต่างชาติชั้นนำระดับโลกของสวนศิลป์บ้านดิน(ภัทราวดีเธียร์เตอร์) เพลงพื้นบ้านตำรับดั้งเดิม โดยศิลปินอาวุโสในท้องถิ่น อายุ 80 ปีขึ้นไป รำวงย้อนยุค เลือกซื้อเลือกกินอาหารเอร็ดอร่อยแบบติดดินของชุมชนที่มาจำหน่าย กราบนมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ไหว้ศาลเจ้าแม่เจ็ดเสมียน ฯลฯ สอบถามข้อมูล สวนศิลป์บ้านดิน โทร.0-3239-7668,08-1831-7041 เทศบาลตำบลเจ็ดเสมียน โทร.0-3239-7015
  • ราชบุรีไชน่าทาวน์ วันจัดงาน ช่วงตรุษจีนของทุกปี สถานที่ ถ.วรเดช และ ถ.อัมรินทร์ เทศบาลเมืองราชบุรี กิจกรรมเด่น พิธีเปิดอันตระการตา ณ เวทีกลางลำน้ำแม่กลอง การประกวดแห่มังกร สิงห์โต เอ็งกอ-พะบู๊ ชมการแข่งขันเชิดสิงห์โตนานาชาติบนเสาดอกเหมยกลางน้ำ ชมบรรยากาศโรงเตี๊ยมย้อนยุคสมัยราชวงศ์จิ๋น และความงดงามของกำแพงเมืองจีน ชมการแสดงประกอบแสง สี เสียง ม่านน้ำดนตรี ประติมากรรมโคมไฟ การประกวดมิสไชน่าทาวน์ หนูน้อยไชน่าทาวน์ สอบถามเพิ่มเติม กองสำนักปลัดเทศบาล เทศบาลเมืองราชบุรี โทร. 0-3233-1311,0-3233-7688 ต่อ 108
  • เทศกาลปีนเขาเข้าถ้ำจอมพล อ.จอมบึง จ.ราชบุรี พบกิจกรรมย้อนรอยประพาสต้น รัชกาลที่ 5 การแข่งขันปีนเขาเข้าถ้ำจอมพล การแสดงของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มรภ.หมู่บ้านจอมบึง การละเล่นพื้นบ้าน มวย ลิเก ภาพยนตร์ สวนสนุก รำวงย้อนยุค สินค้าราคาถูกจากโรงงาน สินค้า OTOP พืชพันธ์ไม้ดอกไม้ประดับ และมหกรรมฟรีคอนเสิร์ต ทุกคืน
  • งานศิลปะการแสดงนานาชาติ ณ บางกอก มีการแสดงดนตรีร่วมสมัยจากศิลปินไทยและต่างชาติ สถานที่จัด ลานวัฒนธรรม ตลาดร้อยปีเจ็ดเสมียน สอบถามเพิ่มเติม สวนศิลป์บ้านดิน โทร. 0-3239-7668
  • งานวิวาห์ตลาดน้ำเหล่าตั๊กลัก ปากคลองลัดพลี รูปแบบของงานวิวาห์ตลาดน้ำเหล่าตั๊กลัก หรือวิวาห์ทางน้ำจะจัดแบบย้อนยุค มีคู่บ่าวสาวแต่งชุดวิวาห์แบบชาวจีน ใช้เรือเป็นขบวนแห่ไปตามสายน้ำคลองลัดพลี เป็นการย้อนอดีตทางวัฒนธรรมชาวไทยเชื้อสายจีน ที่อาศัยอยู่ริมคลองดำเนินสะดวก ภายในงานมี การจัดแสดงแสง สี เสียง ย้อยรอยประวัติตลาดน้ำดำเนินสะดวก อย่างยิ่งใหญ่ มีการรับสมัครคู่บ่าวสาวเข้าสู่ประตูวิวาห์ สอบถามเพิ่มเติม อ.ดำเนินสะดวก
  • ชวนคู่รักส่งตะวัน รักนิรันดร์วันวาเลนไทน์ วัดจัดงาน 14 กุมภาพันธ์ สถานที่จัดงาน ณ ที่ว่าการอำเภอสวนผึ้ง(สำนักทะเบียนสวนผึ้ง) กิจกรรมเด่นที่น่าสนใจ จดทะเบียนสมรสคู่รัก ถ่ายภาพคู่รัก โดยให้แต่งชุดชนเผ่า(กะเหรี่ยง) นายอำเภอสวนผึ้งมอบทะเบียนสมรส สอบถามข้อมูลเพิ่ม สำนักงานทะเบียนที่ว่าการอำเภอสวนผึ้ง โทร.0-3239-5157
  • งานประกวดกล้วยไม้ เทศน์มหาชาติ วันจัดงาน ช่วงวันมาฆบูชาของทุกปี สถานที่จัดงาน ณ วัดมหาธาตุวรวิหาร อ.เมือง จ.ราชบุรี กิจกรรมเด่นที่น่าสนใจ เทศน์มหาชาติ การประกวดกล้วยไม้ ประกวดไม้บอนไซ การจำหน่ายพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับมากมาย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม วัดมหาธาตุวรวิหาร สำนักงานพระพุทธศาสนา จ.ราชบุรี โทร.0-3233-8531,0-3233-8327,0-3232-3515
  • วันกุ้งปลอดสาร สืบสานประเพณี และของดีบางแพ วันจัดงาน เดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม สถานที่จัดงาน บริเวณหน้าที่ว่าการ อ.บางแพ จ.ราชบุรี กิจกรรมเด่นที่น่าสนใจ มีการจำหน่ายกุ้งก้ามกรามราคาถูก จำหนายสินค้าพื้นเมือง ประกวดธิดากุ้ง ประกวดกุ้งและทำอาหารจากกุ้ง ประกวดสินค้าทางการเกษตร การแสดงศิลปะพื้นเมือง สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ที่ว่าการ อ.บางแพ โทร.0-3238-1067,0-3238-1300
  • งานประจำปีศาลเจ้าแม่เบิกไพร (เจ้าแม่เทียวโหวเซี้ยบ้อ) วันจัดงาน กุมพาพันธ์-มีนาคม สถานที่จัดงาน ลานเอนกประสงค์ริมเขื่อน หน้าศาลเจ้าแม่เบิกไพร อ.บ้านโป่ง กิจกรรมเด่นที่น่าสนใจ อัญเชิญองค์เจ้าแม่แห่รอบตลาดบ้านโป่ง ทำพิทิ้งกระจาด มหรสพ การแสดง การออกร้าค้า การจำหน่ายสินค้าราคาถูก สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สนง.เทศบาล ต.เบิกไพร โทร.0-3234-4381
  • งานอนุรักษ์สืบสานประเพณีแห่พระทางน้ำ วัดปราสาทสิทธิ์ อ.ดำเนินสะดวก ภายในงานจัดให้มีกิจกรรมประกอบด้วย การนมัสการหลวงพ่อไตรรัตน์โรจน์ฤทธิ์ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ขบวนเรือแห่องค์จำลองหลวงพ่อไตรรัตน์โรจน์ฤทธิ์ ขบวนแห่เรือพระรูปของสมเด็จเจ้าพระยาบรมหมาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ผู้อำนวยการขุดคลองดำเนินสะดวก ขบวนเรืออนุรักษ์สายน้ำ คลองดำเนินสะดวก การแสดงศิลปวัฒนธรรม และการแสดงมหรสพสมโภชอีกจำนวนมาก
มีนาคม (March)
  • งานกาชาดเที่ยวราชบุรี ประจำปี วันจัดงาน ปลายเดือนกุมภาพันธ์-ต้นเดือนมีนาคม สถานที่จัดงาน บริเวณรอบศาลากลางจังหวัดราชบุรี กิจกรรมเด่นที่น่าสนใจ จัดเป็นถนนสายต่างๆ ได้แก่ ถนนสายเกษตรกรรม ถนนสายอาหาร ถนนสายหัตถกรรม เป็นต้น การแสดงศิลปวัฒนธรรม การประกวด การแข่งขัน และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร สินค้า O-TOP เป็นงานแสดงสินค้าครั้งใหญ่ประจำปี มีทั้งหน่วยงานราชการและเอกชนมาร่วมแสดง สอบถามเพิ่มเติม สำนักประชาสัมพันธ์ จ.ราชบุรี โทร.0-3232-6016
  • งานเทศกาลองุ่นหวานและของดีดำเนินสะดวก วันจัดงาน ระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน ของทุกปี สถานที่จัดงาน บริเวณวัดราษฎร์เจริญธรรม(วัดสุน) กิจกรรมเด่นที่น่าสนใจ การประกวดองุ่นหวาน ผลไม้ ผักปลอดสารพิษ การประกวดหนูน้อยองุ่นหวาน จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับองุ่นและพืชพันธุ์ไม้ วิถีชีวิต การแสดงศิลปวัฒนธรรม การจำหน่าย พืช ผัก ผลไม้ รวมถึงผลิตผลและผลิตภัณฑ์ชุมชนพื้นบ้าน ของชาวดำเนินสะดวก(OTOP) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ที่ว่าการ อ.ดำเนินสะดวก โทร. 0-3224-1204
  • งานประกวดปลาสวยงาม จ.ราชบุรี วันจัดงาน ปลายเดือนมีนาคม สถานที่จัดงาน อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี กิจกรรมเด่นที่น่าสนใจ การประกวดปลาสวยงามหลายชนิด โดยมีเงินรางวัลและถ้วยรางวัลเกียรติยศ การประกวดการจัดตู้ปลาและพันธ์ไม้น้ำ นิทรรศการด้านการเพาะเลี้ยงปลาสวยงาม การออกร้านแสดงพันธุ์สัตว์น้ำสวยงาม อุปกรณ์เกี่ยวกับการเลี้ยงปลาสวยงาม ร้านค้าจำหน่ายอุปกรณ์การตบแต่งตู้ปลา และผลิตภัณฑ์ OTOP สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สำนักงานประมงจังหวัดราชบุรี โทร.0-3231-4258 ประมง จ.ราชบุรี โทร.08-1983-1377
  • งานประเพณีปิดทองหลวงพ่อนวม เหยียบหลังกะเหรี่ยง วันจัดงาน ปลายเดือนมีนาคม สถานที่จัดงาน วัดแจ้งเจริญ ต.จอมปะทัด อ.วัดเพลง จ.ราชบุรี กิจกรรมเด่นที่น่าสนใจ ชาวกะเหรี่ยงจะแห่รูปหล่ออัญเชิญหลวงพ่อนวม หลวงพ่อม่วง หลวงพ่อป๋อง รอบโบสถ์วัด ร่วมงานบวชพระสามเณรของชาวกะเหรี่ยง และร่วมกันทำบุญ ชมประเพณีเหยียบหลังกะเหรี่ยง สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม อบต.จอมประทัด โทร.0-3274-7282 วดแจ้งเจริญ โทร.0-3239-9221
เมษายน (April)
  • งานสืบสานประเพณีวันสงกรานต์ อ.เมืองราชบุรี วันจัดงาน 13-15 เมษายน สถานที่จัดงาน ภายในเขตเทศบาลเมืองราชบุรี หน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งงชาติ ราชบุรี บริเวณวัดโขลงสุวรรณคิรี ณ วิหารจัตุรมุขพระสี่มุมเมือง ยอดเขาแก่นจันน์ กิจกรรมเด่นที่น่าสนใจ กิจกรรมทำบุญตักบาตร ปล่อยปลา การประกวดขยวนแห่ ประกวดรถสงกรานต์ และการประกวดนางสงกรานต์ การเล่นน้ำของประชาชน สรงน้ำพระ รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ ชทการแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน การแห่หลวงพ่อแก่นจันทร์ และพระพุทธสิหิงค์ สถานที่จัด สอบถามเพิ่มเติม ที่ว่าการเทศบาลเมืองราชบุรี โทร.0-3233-7164, 0-3233-7688 ที่ว่าการ อ.เมืองราชบุรี โทร.0-3232-5869
  • งานสืบสานประเพณีไทยวันสงกรานต์ อ.โพธาราม วันจัดงาน 13-15 เมษายน สถานที่จัดงาน ณ ลานเอนกประสงค์หน้าที่ทำการ อบต.ท่าชุมพล บริเวณริมแม่น้ำแม่กลอง เมืองโพธาราม วัดบ้านสิงห์ อบต.บางโตนด และ อบต.หนองกวาง สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ที่ว่าการ อ.โพธาราม โทร.0-3223-1267 ต่อ 103,104
  • งานสืบสานประเพณีไทยวันสงกรานต์ อ.บ้านโป่ง วันจัดงาน 13-15 เมษายน สถานที่จัดงาน วัดม่วง วัดใหญ่นครชุมน์ และหมู่บ้านคอกวัว ต.นครชุมน์ อ.บ้านโป่ง สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม อบต.บ้านม่วง โทร.0-3237-2623 อบต.นครชุมน์ โทร.0-3230-1058
  • งานสืบสานประเพณีไทยวันสงกรานต์ อ.บางแพ วันจัดงาน 13-15 เมษายน สถานที่จัดงาน เทศบาลบางแพ อุทยานหุ่นขี้ผึ้งสยาม สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ที่ว่าการ อ.บางแพ โทร.0-3238-1067 อุทยานหุ่นขึ้ผึ้งสยาม โทร.0-3238-1401-2
  • งานประเพณีสงกรานต์ลาวเวียงราชบุรี มีการจัดพิธีบวงสรวงบรรพชน พิธีบายศรีสู่ขวัญ การแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน ฯลฯ สถานที่จัด วัดบ้านสิงห์ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี สอบถามเพิ่มเติม ประชาสัมพันธ์เทศบาล ต.บ้านสิงห์ โทร.0-3274-4957-8 ต่อ 104
  • งานชุมนุมชาวไทยทรงดำ อ.ดำเนินสะดวก วันจัดงาน 25 เมษายน สถานที่จัดงาน ศูนย์อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยทรงดำดอนคลัง กิจกรรมเด่นที่น่าสนใจ การทำบุญประเพณีของชาวไทยทรงดำ การแสดงพื้นบ้านของชาวไทยทรงดำ "เอิ่นก๊อนฟ้อนแค้น" การแต่งกายพื้นบ้านชาวไทยทรงดำและการชุมนุมของชาวไทยทรงดำจากจังหวัดใกล้เคียง สอบถามเพิ่มเติม สำนักงานวัฒนธรรม จ.ราชบุรี โทร.0-3232-2786
  • งานวันมะม่วงและของดี อ.ปากท่อ วันจัดงาน ห้องเดือนเมษายน สถานที่จัดงาน หน้าที่ว่าการอำเภอปากท่อ กิจกรรมเด่นที่น่าสนใจ การประกวดมะม่วงหวานของดีปากท่อ การแข่งขันกินหมูย่างอาหารขึ้นชื่อของ อ.ปากท่อ ประกวดร้องเพลง ประกวดธิดามะม่วงหวาน การออกร้านกาชาดและการประกวดแดนเซอร์ของกลุ่มแม่บ้านแต่ละตำบล การแสดงและจำหน่ายสินค้าทางการเกษตรของอำเภอปากท่อ สอบถามเพิ่มเติม ที่ว่าการ อ.ปากท่อ โทร.0-3228-1261
  • ปอยขันโตก รวมใจไท-ยวน มีการกินขันโตก การฟ้อนรำดนตรีพื้นเมืองล้านนา สถานที่จัด วัดหนองโพ อ.บ้านโป่ง สอบถามเพิ่มเติม เทศบาล ต.หนองโพ โทร.0-3238-9022
  • งานสักการะเจ้าพ่อหลักเมือง วันจัดงาน ช่วงเทศกาลสงกรานต์ สถานที่จัดงาน ณ บริเวณศาลเจ้าพ่อหลักเมือง และสนามหญ้าหน้ากองบัญชาการกรมการทหารช่าง ค่ายภาณุรังษี อ.เมือง จ.ราชบุรี กิจกรรมที่น่าสนใจ มีการปิดทองศาลเจ้าพ่อหลักเมือง และหลวงพ่อแก่นจันทร์ การจำหน่ายสินค้าราคาถูก มหรสพ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรมการทหารช่าง โทร.0-3233-7014,0-3233-7406,0-3233-7268,0-3233-7388
  • เทศกาลหนังใหญ่วัดขนอน วันจัดงาน 13-14 เมษายน (เวลา 15.00-21.00 น.) สถานที่จัดงาน ณ ลานกลางแจ้งหน้าพิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดขนอน ต.สร้อยฟ้า อ.โพธาราม จ.ราชบุรี กิจกรรมเด่นที่น่าสนใจ เน้นจัดงานแบบย้อนยุคย้อนอดีต ออกซุ้มงานศิลปะต่างๆ จัดซุ้มอาหารไทย-มอญ ตลาดนัดศิลปะจากกลุ่มศิลปินอิสระ การแสดงหนังใหญ่วัดขนอน การแสดงโขนศิษย์ศิลปากร หุ่นกระบอก ละครชาตรี ลิเกฮูลู หุ่นคน หนังตะลุง และการแสดงของนักเรียน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดขนอน พระครูพิทักษ์ศิลปาคม โทร.08-1753-1230,0-3223-3386 คุณจฬรรณ์ ถาวรนุกูลพงศ์ โทร.08-4413-9177 โทรสาร.0-3235-4272
  • งานวันทำบุญประเพณีไทยทรงดำ อ.ปากท่อ วันจัดงาน 13 เมษายนของทุกปี สถานที่จัดงาน บ้านหัวเขาจีน ต.ห้วยยางโทน อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี กิจกรรมเด่นที่น่าสนใจ การทำบุญประเพณี การแต่งกายพื้นบ้าน การแสดงพื้นบ้านและการแข่งขันกีฬาพื้นบ้านของชาวไทยทรงดำ การชุมนุมของชาวไทยทรงดำทุกจังหวัด ทุกกลุ่มมารวมตัวกันที่ ต.ห้วยยางโทน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม อบต.ห้วยยางโทน โทร.0-3271-1064 คุณไพรัช บัวบางใบ โทร.08-9911-3866
  • งานประเพณีแข่งเรือพาย อ.โพธาราม วันจัดงาน ช่วงเทศกาลสงกรานต์ (13-15 เมษายน) สถานที่ บริเวณคลองสองร้อย หมู่ 2 ต.ธรรมเสน อ.โพธาราม กิจกรรมเด่น แข่งเรือพาย การละเล่นพื้นบ้านต่างๆ เช่น มวยทะเล พายโอ่ง สอบถามข้อมูล อบต.ธรรมเสน โทร.0-3271-1088 ต่อ 11
  • งานประเพณีแห่ดอกไม้ท้ายสงกรานต์และของดีตำบลเจ็ดเสมียน อ.โพธาราม วันจัดงาน 14 เมษายน ของทุกปี 1 สัปดาห์(ศุกร์-เสาร์-อาทิตย์แรก) สถานที่ วัดเจ็ดเสมียน ต.เจ็ดเสมียน อ.โพธาราม จ.ราชบุรี กิจกรรมเด่นที่น่าสนใจ เชิญร่วมมหกรรมอาหารอร่อยนานาชนิดของแต่ละชุมชน ชมการแสดงศิลปวัฒนธรรมของชาติพันธุ์ต่างๆ ใน จ.ราชบุรี ของดีของฝาก สินค้า OTOP ต.เจ็ดเสมียน ขบวนแห่รถบุปผชาติ ประกวดธิดาดอกไม้ นางงามหัวไชโป้ว ชมการแข่งขันเรือยาวประเพณีลุ่มแม่น้ำแม่กลอง สอบถามข้อมูล กองการศึกษาและงานประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดเทศบาล ต.เจ็ดเสมียน โทร.0-3239-7015
  • งานสืบสานวัฒนธรรมประเพณีไทย เทศบาลตำบลหลุมดิน เนื่องในงานสงกรานต์ประจำปี พ.ศ.2553 ระหว่างวันที่ 12-14 เม.ย. ณ วัดบางสองร้อย ม.4 ต.หลุมดิน อ.เมือง จ.ราชบุรี กิจกรรมในงาน ประเพณีการกวนกาละแม การแข่งขันกีฬาฟุตบอล การแข่งขันมวยไทย มวยปิดตา การแสดงรำวงย้อนยุค การแข่งขันกีฬาฟุตซอล การแข่งขันพายเรือ-บอดใบ้ การแข่งขันชักเย่อ การประกวดก่อพระเจดีย์ทราย การประกวดหนูน้อยสงกรานต์ การประกวดแต่งกายผู้สูงอายุ พิธีสรงน้ำพระ ฯลฯ สอบถามข้อมูล สำนักงานปลัดเทศบาล ต.หลุมดิน ต.หลุมดิน อ.เมือง จ.ราชบุรี โทร.0-3274-1757
  • การประกวดปลาสวยงาม จ.ราชบุรี (Ratchaburi Ornamental Fish Festival ) อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ชมการประกวดปลากัด ปลาหางนกยูง ปลาหมอสี ปลาทอง นิทรรศการความรู้ต่างๆ การออกร้าน การแสดงพันธุ์สัตว์น้ำหายากต่างๆ มากมาย จัดโดย สำนักงานประมง จ.ราชบุรี โทร.0-3233-7656,0-3231-4258,0-3232-2165
  • งานประจำปีศาลเจ้าแม่แก่นจันทร์ ณ บริเวณ ม.9 ต.ดอนโก อ.เมือง จ.ราชบุรี กิจกรรม การเชิดสิงโต การแสดงกายกรรม การแสดงงิ้วคณะอี่ไล้เฮง และภาพยนตร์ จัดโดย คณะกรรมการศาลเจ้าแม่แก่นจันทร์
พฤษภาคม (May)
  • วันสับปะรดหวานบ้านคา ณ บริเวณหน้าที่ว่าการ อ.บ้านคา จ.ราชบุรี ชมกิจกรรมการประกวดขบวนรถบุปผชาติสับปะรด การประกวดธิดาสับปะรดหวาน การประกวดผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร การแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน การประกวดร้องเพลงไทยลูกทุ่ง ชมการแสดงวิถีชีวิตและขนบธรรมเนียมประเพณีชาวกะเหรี่ยงและไทยทรงดำ เลือกซื้อสับปะรดหวาน ผลไม้และสินค้า OTOP คาราวานสินค้าราคาถูก พร้อมมหรสพต่างๆ มากมาย จัดโดย ที่ว่าการ อ.บ้านคา
  • วิสาขบูชา พฤษภาร่วมสร้างธรรม ชมการสาธิตการปั้นพระ ร่วมถวายสังฆทาน แจกต้นไม้ในพุทธประวัติ นิทรรศการเกี่ยวกับศาสนา ร่วมเสวนาสนทนาธรรม สถานที่จัดงาน อุทยานหุ่นขี้ผึ้งสยาม สอบถามเพิ่มเติม โทร.0-3238-1401-2
  • ธรรมทัศน์ 358 ทำตามรอยธรรม วันจัดงาน ทุกวันหยุดประจำสัปดาห์ของเดือนพฤษภาคม สถานที่ อุทยานหุ่นขี้ผึ้งสยาม อ.บางแพ กิจกรรมเด่น การจัดนิทรรศการเกี่ยวกับธรรมมะ แบ่งออกเป็น 5 นิทรรศการ คือ ธรรม-คำสอน พุทธประวัติชีวิต ด้วยเสบียงธรรม นี่คือทุกข์ นี้คือมรรค ธรรมทัศน์ 358 และกิจกรรมต่างๆ ด้านศาสนา สอบถามข้อมูล อุทยานหุ่นขี้ผึ้งสยาม โทร.0-3238-1401-2
มิถุนายน (June)
  • อุทยานร่วมสมัย 10 อำเภอ ดนตรีไทยราชบุรี ชมการแสดงดนตรีไทย โดยชมรมดนตรีไทยใน จ.ราชบุรี สาธิตการทำเครื่องดนตรีไทย 4 ประเภท ร่วมกิจกรรมทำบทเพลงขนมไทย ประชันสุดยอดวงดนตรีไทยราชบุรี สถานที่จัด อุทยานหุ่นขี้ผึ้งสยาม สอบถามเพิ่มเติม โทร.0-3238-1401-2
  • ทำนองบรรเลง เปิดกล่องดนตรีไทย วันจัดงาน ทุกวันหยุดประจำสัปดาห์ของเดือนมิถุนายน สถานที่ อุทยานหุ่นขี้ผึ้งสยาม กิจกรรมเด่น การจัดนิทรรศการเกี่ยวกับดนตรี แบ่งออกเป็น 6 ส่วน คือ รำลึกบรมครูดนตรีไทย โน้ตบรรเลง ครื้นเครงเครื่องดนตรี เล่าเรื่องพิธีไหว้ครู สาระความรู้ สีสันดนตรี 8 ชนเผ่า สอบถามข้อมูล อุทยานหุ่นขี้ผึ้งสยาม โทร.0-3238-1401-2
  • งาน "All About Arts" สืบสานงานศิลป์ ภูมิปัญญาคนของแผ่นดิน ณ ลานวัฒนธรรม ตลาดเก่า 119 ปี เจ็ดเสมียน เลือกซื้อของกิน ของใช้ อาหารหวานคาวอร่อยๆ ที่ทางชุมชนและชาวบ้านนำมาจำหน่าย แบบติดดิน ราคาแบบชาวบ้าน ชมการแสดงดนตรีไทยเดิม การแสดงศิลปินพื้นบ้านอาวุโส อายุ 80 ปีขึ้นไป ร้องรำทำเพลงและขับกล่อมเพลงไทยเดิม เพลงเกี่ยวข้าว เพลงฉ่อย เพลงพวงมาลัย เพลงกล่อมเด็ก เพลงขวัญข้าว รำโทน การละเล่นเข้าผี ผีกะลา ผีกระบอก ผีสุ่ม ผีกระด้ง การแสดงของศิลปินร่วมสมัยชั้นนำ ทั้งชาวไทยและต่างชาติ การแสดงของสวนศิลป์บ้านดิน (ภัทราวดีเธียเตอร์) ชมฟรีตลอดงาน ตั้งแต่เวลา 16.00 น.เป็นต้นไป จัดโดย ชุมชนเจ็ดเสมียน วัดเจ็ดเสมียน ร่วมกับสวนศิลป์บ้านดิน (ภัทราวดีเธียเตอร์) สอบถาม โทร.08-1450-9703
กรกฏาคม (July)
  • งานดำเนินรำลึก เสด็จประพาสต้น วันจัดงาน กลางเดือน กรกฎาคม สถานที่จัดงาน วัดโชติทายการาม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี กิจกรรมเด่นที่น่าสนใจ ขบวนแห่เรือพิธีเปิด  การประกวดแต่งกายย้อนยุค การประกวดภาพเก่าเล่าวิถีชีชาวดำเนินสะดวก การถ่ายภาพสตูดิโอย้อนยุค การประลองดนตรีไทย ล่องเรือชมเส้นทางเสด็จประพาสต้น ล่องเรือชมตลาดน้ำดำเนินสะดวก ชมนิทรรศการสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ เชิญชิมอาหารไทย ขนมหวานไทยโบราณ ขบวนแรลลี่ทางน้ำ การประลองดนตรีไทย การแสดงศิลปวัฒนธรรมของชน 8 เผ่า การจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ที่ว่าการ อ.ดำเนินสะดวก โทร.0-3224-1204

สิงหาคม (August)
  • งานประเพณีแห่เทียนพรรษา อ.สวนผึ้ง สถานที่จัดงาน บริเวณตลาดเทศบาล ต.ชัฎป่าหวาย กิจกรรมเด่นที่น่าสนใจ การประกวดขบวนรถบุปผชาติชิงถ้วยพระราชทานสมเดจพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี การแข่งขันฟุตบอล ฟุตซอล การแสดงสินค้า และจำหน่ายสินค้า OTOP ประกวดธิดาเทียน การประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง สอบถามเพิ่มเติม สนง.เทศบาล ต.บ้านชัฎป่าหวาย โทร.0-3236-4517 ต่อ 112
  • เทศกาลเข้าพรรษาโพหักอนุรักษ์วิถีไทยพื้นถิ่น สถานที่จัด บริเวณวัดใหญ่โพหัก อ.บางแพ จ.ราชบุรี กิจกรรมเด่นที่น่าสนใจ การจัดริ้วขบวนวัฒนธรรม 11 หมู่บ้าน 11 ขบวน การประกวดแต่งกายไทยย้อนยุค แสดงการสาธิตการทำว่าวไทย ประกวดหาบกระจาดเป็นทีม สาธิตการละเล่นไทย การประกวดรำโทน การประกวดโห่ ชมนิทรรศการทางวิชาการวัฒนธรรมไทยพื้นถิ่นบ้านโพหัก ประกวดการแต่งกายไทยพื้นถิ่น การแข่งขันกีฬาไทย เสวนาภูมิปัญญาท้องถิ่นบ้านโพหัก สอบถามเพิ่มเติม ที่ว่าการ อ.บางแพ โทร.0-3238-1067 คุณจรัล ท้ยเหมือง รองประธานสภาวัฒนธรรม ต.โพหัก โทร.08-1269-7451
  • เทศกาลเดือน 9 เรียกขวัญกินข้าวห่อ มีการจัดพิธีขวัญข้อมือ กินข้าวห่อ ชมการแสดงวัฒนธรรมพื้นบ้าน พิธียกเสาหงส์ และผูกผ้าสีให้เสาหลักบ้าน สถานที่จัด บ้านโป่งกระทิงบน อ.บ้านคา สอบถามเพิ่มเติม ที่ว่าการ อ.บ้านคา โทร.0-3272-1000
  • ประเพณีแห่เทียนพรรษา อ.บางแพ เทศกาลเข้าพรรษา สถานที่จัดงาน อุทยานหุ่นขี้ผึ้งสยาม กิจกรรมเด่นที่น่าสนใจ จัดนิทรรศการธรรมะเรื่องราวเข้าพรรษาร่วมหล่อเทียนแบบโบราณ ชมผลงานจากเทียนพบสินค้าแบบไทยๆ และฟังเพลงแห่งธรรม สอบถามข้อมูล อุทยานหุ่นขี้ผึ้งสยาม โทร.0-3238-1401-2(4)
  • งานประเพณีแห่เทียนพรรษา อ.บ้านโป่ง สถานที่จัดงาน บริเวณสนามโรงเรียนวัดดอนตูม จนถึงศาลาการเปรียญวัดบ้านโป่ง กิจกรรมเด่นที่น่าสนใจ ชมขบวนแห่เทียนพรรษา การแสดงพื้นบ้าน การรำเซิ้ง วงกลองยาว สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กองการศึกษา สำนักงานเทศบาลเมืองบ้านโป่ง โทร.0-3221-1114 ต่อ 124,125
  • ประเพณีผูกแขนเรียกขวัญกินข้าวห่อ วันจัดงาน 14-15 สิงหาคม สถานที่จัดงาน สนามกีฬาชุมชนบ้านบ่อ อ.สวนผึ้ง กิจกรรมเด่นที่น่าสนใจ กิจกรรมการเรียกขวัญ กิจกรรมการประกวดกินข้าวห่อ กิจกรรมการรำกะเหรี่ยง กิจกรรมการกินข้าวห่อตามบ้านกะเหรี่ยงในหมู่บ้าน ชมการแสดงวิถีชีวิตของชาวกระเหรี่ยง การละเล่นพื้นบ้าน สอบถามเพิ่มเติม สนง.เทศบาล ต.สวนผึ้ง โทร.0-3239-5242
  • 12 สิงหา ร่วมรัก ร่วมเทิดพระเกียรติแม่ของแผ่นดิน วัดจัดงาน 12 สิงหาคม สถานที่จัดงาน อุทยานหุ่นขี้ผึ้งสยาม กิจกรรมเด่นที่น่าสนใจ การแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับแม่ มอบพวงมาลัยดอกมะลิเพื่อตอบแทนพระคุณแม่ ร่วมสนุกร่วมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแม่-ลูก ทราบซึ้งกับเพลงของแม่ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม อุทยานหุ่นขี้ผึ้งสยาม โทร. 0-3238-1401-2
  • เทศกาลเดือน 9 เรียกขวัญกินข้าวห่อ สถานที่จัดงาน บ้านโป่งกระทิงบน หมู่ที่ 1 ต.บ้านบึง อ.บ้านคา จ.ราชบุรี กิจกรรมเด่นที่น่าสนใจ จัดพิธีเรียกขวัญข้อมือ กินข้าวห่อ ชมการแสดงวัฒนธรรมพื้นบ้าน พิธียกเสาหงส์ และผูกผ้าสีให้เสาหลักบ้าน สอบถามเพิ่มเติม ที่ว่าการ อ.บ้านคา โทร.0-3272-1000
  • งานวันประเพณีข้าวห่อของชาวกะเหรี่ยง สถานที่จัดงาน ต.ยางหัก อ.ปากท่อ กิจกรรมเด่นที่น่าสนใจ การทำบุญประเพณีข้าวห่อของชาวกะเหรี่ยง การแสดงพื้นบ้านของชาวกะเหรี่ยง การแข่งขันกีฬาพื้นบ้านของชาวกะเหรี่ยง การแต่งกายพื้นบ้านของชาวกะเหรี่ยง สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม อบต.ยางหัก โทร.0-3232-9000,08-7079-9507
กันยายน (September)
  • งานเทศกาลกินเจบ้านโป่ง ชมการประกวดอาหารรสชาดอร่อย สถานที่จัด ถ.แสงชูโต ตั้งแต่หอนาฬิกาถึงวงเวียน อ.บ้านโป่ง สอบถามเพิ่มเติม กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองบ้านโป่ง โทร.0-3221-1212 ต่อ 118 โทร.0-3220-0977,08-1943-9978
  • งานเทศกาลกินเจ เทศบาลเมืองราชบุรี สถานที่จัดงาน ถ.คฑาธร และหอนาฬิกา อ.เมือง กิจกรรมเด่นที่น่าสนใจ แห่องค์เทพเจ้าที่ตี่แป่บ้อ แห่มังกร แห่ลอยกระทงเจ แห่องค์ฮุดโจ้ว แห่เจ้าขึ้นสวรรค์ การแสดงของนักเรียน เชิดสิงโต การออกร้านขายอาหารเจ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โรงเจบ้วนฮกต้วน
ตุลาคม (October)
  • งานนมัสการพระพุทธฉาย ถ้ำฤาษีเขางู วัดจัดงาน (ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี) สถานที่จัดงาน บริเวณหน้าถ้ำฤาษีเขางู หมู่ 2 ต.เกาะพลับพลา กิจกรรมเด่นที่น่าสนใจ ทำบุญปิดทองพระในถ้ำฤาษีเขางู พระพุทธฉาย นมัสการรอยพระพุทธบาทจำลอง จำหน่ายสลากการกุศล การแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน สถานที่จัด บริเวณถ้ำฤาษีเขางู ต.เขางู อ.เมือง สอบถามเพิ่มเติม เทศบาล ต.เขางู โทร.0-3239-1308 ต่อ 124
  • ประเพณีการแข่งขันกีฬาเรือยาวประเพณี เนื่องในวันออกพรรษาประเพณีการตักบาตรเทโว สถานที่จัดงาน บริเวณหน้าวัดใหญ่นครชุมน์ กิจกรรมเด่นที่น่าสนใจ ร่วมตักบาตรเทโว การแข่งขันเรือยาวประเพณี 23 ฝีพายและ 30 ฝีพาย ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม อบต.นครชุมน์ โทร.0-3230-1058 ต่อ 12
  • การแข่งขันเรือยาวประเพณีตำบลสร้อยฟ้า สถานที่จัดงาน บริเวณแม่น้ำแม่กลอง หน้าวัดสร้อยฟ้า ต.สร้อยฟ้า อ.โพธาราม จ.ราชบุรี กิจกรรมเด่นที่น่าสนใจ การแข่งขันเรือยาวประเพณี ต.สร้อยฟ้าในประเภท 30 ฝีพาย ชิงถ้วยพระราชทานมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม อบต.สร้อยฟ้า โทร.0-3223-3535
พฤศจิกายน (November)
  • งานประเพณีลอยกระทงเทศบาลเมืองราชบุรี ชมการประกวดกระทง นางนพมาศ หนูน้อยนพมาศ ขบวนแห่ สถานที่จัด บริเวณพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติราชบุรี สอบถามเพิ่มเติม เทศบาลเมืองราชบุรี โทร.0-3233-7134
  • งานประเพณีลอยกระทง อ.โพธาราม สถานที่จัดงาน ลานเอนกประสงค์บ้านเขาราบและริมคลองชลประทานบ้านหนองกลางเนิน ลานเอนกประสงค์หน้าที่ทำการ อบต.ท่าชุมพล วัดแก้วฟ้า ต.ธรรมเสน กิจกรรมเด่นที่น่าสนใจ การประกวดกระทง กิจกรรมการแต่งกายชุดไทย 9 ยุค 9 สมัย ร่วมกิจกรรมลอยกระทง การประกวดนางนพมาศ และมหรสพต่างๆ เช่น ลิเก ลำตัด รำวงย้อนยุค ภาพยนตร์ฯลฯ สอบถามเพิ่มเติม ที่ว่าการ อ.โพธาราม โทร.0-3223-3315
  • งานประเพณีลอยกระทง วัดบ้านม่วง สถานที่จัดงาน วัดบ้านม่วง ต.บ้านม่วง กิจกรรมเด่นที่น่าสนใจ การลอยกระทงสายมอญ การประกวดกระทงประดิษฐ์ การแสดงของนักเรียน การประกวดหนูน้อยนพมาศ และมหรสพต่างๆ สอบถามเพิ่มเติม อบต.บ้านม่วง โทร.0-3237-2623
  • งานประเพณีลอยกระทง อ.บางแพ สถานที่จัดงาน วัดบางแพใต้ กิจกรรมเด่นที่น่าสนใจ การประกวดกระทงประดิษฐ์ การแสดงของนักเรียนและประชาชน การประกวดนางนพมาศ หนูน้อยนพมาศ และมหรสพต่างๆ เช่น ลิเก ลำตัด รำวงย้อนยุค ภาพยนตร์ฯลฯ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ที่ว่าการ อ.บางแพ โทร.0-3233-3315
  • Chapter 77 ร่วมฝึกปั้นและเผาเซรามิค สาธิตการผลิตโอ่งมังกร นิทรรศการประวัติเครื่องปั้นดินเผาของ จ.ราชบุรี การแสดงศิลปะร่วมสมัยของศิลปินชั้นนำระดับประเทศ สถานที่จัด โรงงานเถ้าฮงไถ่ สอบถามเพิ่มเติม 0-3233-7574, 0-3232-3630
  • งานประเพณีลอยกระทง คูบัว สถานที่จัดงาน บริเวณวัดโขลงสุวรรณคิรี ต.คูบัว อ.เมือง กิจกรรมเด่นที่น่าสนใจ การประกวดกระทง การประกวดหนูน้อยนพมาศ และมหรสพต่างๆ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ที่ว่าการ อ.เมือง โทร.0-3232-5869
  • อเมซิ่งค้างคาว สถานที่จัด วัดเขาช่องพราน อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
  • การแข่งขันเรือยาวประเพณี จ.ราชบุรี วัดจัดงาน พฤศจิกายน-ธันวาคม สถานที่ บริเวณลำน้ำแม่กลอง ริมเขื่อนรัฐประชาพัฒนา กิจกรรมเด่นที่น่าสนใจ การแข่งขัน 2 ประเภท ได้แก่ เรือยาวทั่วไป จำนวน 24 ฝีพายไม่เกิน 30 ฝีพาย และ เรือยาวชาวบ้าน จำนวน 24 ฝีพายไม่เกิน 30 ฝีพาย ถามรายละเอียดเพิ่มเติม กองการศึกษาฯ อบจ.ราชบุรี โทร.0-3233-8625
  • งานประเพณีลอยและแข่งขันเรือยาวชิงโล่พระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สถานที่จัดงาน ศาลาประชาคม ลุ่มแม่น้ำแม่กลองบริเวณตลาดบ้านโป่ง กิจกรรมเด่นที่น่าสนใจ ขบวนแห่พระพุทธสิงหิงค์ ชมพลุพิธีเปิดงาน การประกวดหนูน้อยนพมาศ การประกวดกระทง การแข่งขันเรือยาวประเภท ก และ ข มหกรรมอาหารสะอาดรรสชาดอร่อย(กินฟรี) การแข่งขันเมืองคนงามเกมส์ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กองการศึกษา เทศบาลเมืองบ้านโป่ง โทร.0-3222-1001 ต่อ 125 และ 0-3221-1212
  • พิธีไหว้ครูดนตรีไทยและนาฎศิลป์ คณะครูรวมศิษย์บรรเลง ประจำปี วันพฤหัสบดี ณ วัดมหาธาตุวรวิหาร อ.เมือง จ.ราชบุรี เวลา 08.00 น.เป็นต้นไป
ธันวาคม (December)
  • งานเทิดพระเกียรติรัชกาลที่ 5 และสืบสานประเพณีและของดีจอมบึง วันจัดงาน 19-21 ธันวาคม สถานที่จัดงาน โดยรอบที่ว่าการ อ.จอมบึง กิจกรรมเด่นที่น่าสนใจ พิธีบวงสรวงพระบรมราชานุสาวรีย์และกิจกรรมเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 5 การแสดงศิลปวัฒนธรรม ดนตรี การแสดงทางวิชาการ ประกวดธิดาผ้าจกรางบัว กิจกรรมกีฬาพื้นบ้าน ประกวดรำกลองยาว ส้มตำลีลา เลี้ยงโต๊ะจีนลิง สอบถามเพิ่มเติม ที่ว่าการ อ.จอมบึง โทร. 0-3226-1133
  • Romantic Arts Festival @ Suaphung : CANDLES IN THE WINTER วันจัดงาน ช่วงเดือนธันวาคม สถานที่ The Scenery Resort & Farm อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี กิจกรรมเด่น การแสดงประติมากรรมเทียนและชิ้นงานศิลปะในรูปแบบต่างๆ ณ ทุ่งหญ้าเลี้ยงแกะ เพลิดเพลินกับวงดนตรี Smooth Jazz สนุกสนานกับซุ้มเกมส์ต่างๆ การออกร้านจำหน่ายชิ้นงานศฺลปะในรูปแบบต่างๆ ที่มีให้เลือกหลากหลาย การจำหน่ายเมนูอาหารพิเศษและเครื่องดื่มที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวสวนผึ้งภายในงาน สอบถามข้อมูล ทีมงาน Candle in the Winter โทร.08-4913-0055
  • งานประเพณีไทยตะนาวศรี อ.สวนผึ้ง วันจัดงาน ปลายเดือนธันวาคม สถานที่จัดงาน บริเวณหน้าที่ว่าการ อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี กิจกรรมเด่นที่น่าสนใจ การแสดงวิถีชนเผ่า การแสดงวัฒนธรรมประเพณีของชาวไทยเชื้อสายต่างๆ การแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน การประกวดธิดาไทยตะนาวศรี การประกวดพืชผล และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร มหรสพต่างๆ ชมนิทรรศการประวัติความเป็นมาของ อ.สวนผึ้ง สอบถามเพิ่มเติม ที่ว่าการ อ.สวนผึ้ง โทร. 0-3239-5157
  • งานโครงการสืบสานวัฒนธรรม จ.ราชบุรี วันที่จัด วันที่ 1 ธันวาคมของทุกปี สถานที่จัด ณ บริเวณโรงยิมเนเซี่ยม จ.ราชบุรี กิจกรรมเด่นที่น่าสนใจ ชมริ้วขบวน 8 ชาติพันธ์ ใน จ.ราชบุรี ได้แก่ ไทยเขมรลาวเดิม ไทยยวน ไทยจีน ไทยทรงดำ ไทยมอญ ไทยกระเหรี่ยง ไทยพื้นถิ่น ไทยลาวเวียง และการแสดงศิลปวัฒนธรรม ซุ้มอาหารพื้นถิ่น และการจุดเทียนชัยถวายพระพรแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สภาวัฒนธรรม จ.ราชบุรี สำนักงานวัฒนธรรม จ.ราชบุรี โทร.0-3232-2786
  • 5 ธันวา ร่วมเฉลิมพระชนมพรรษาพ่อของแผ่นดิน อ.บางแพ วันจัดงาน 4-5 ธันวาคม สถานที่จัดงาน อุทยานหุ่นขี้ผึ้งสยาม กิจกรรมเด่นที่น่าสนใจ นิทรรศการเกี่ยวกับพ่อ มอบเข็มกลัดพุทธรักษาตัวแทน ดอกไม้ของพ่อ ร่วมลงนามถวายพระพร เขียนข้อความลงโพธิ์นำไปหล่อพระเสริมบุญ สร้างบารมีแด่พ่อ บอกรักผ่านไมโครโฟนและกิจกรรมเทิดพระเกียรติ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม อุทยานหุ่นขี้ผึ้งสยาม โทร.0-3238-1401-2(4)
หมายเหตุ : ประเพณีเทศกาล บางอย่างอาจเลิกจัดแล้ว รวมทั้งวันเวลาบางเทศกาลอาจเกิดการคลาดเคลื่อนบ้าง โปรดตรวจสอบกับผู้จัดโดยตรงก่อนวางแผน
ปรับปรุงล่าสุด เมื่อ 1 ก.ค. 2553

บรรณานุกรม
-สำนักงานจังหวัดราชบุรี และคณะ.(2552). จังหวัดราชบุรี. นนทบุรี : ลีโอ แลนเซ็ท.
-การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานเพชรบุรี.(2553).ปฏิทินท่องเที่ยว 2553 เพชรบุรี-ราชบุรี.


อ่านต่อ >>

วันเสาร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2552

เพลงเต้นกำรำเคียว



เพลงเต้นกำรำเคียว เป็นเพลงที่เล่นหลังจากเกี่ยวข้าวกันจนเหน็ดเหนื่อยแล้ว เวลาเล่นชาวนาจะยืนกันเป็นวงกลม มือขวาถือเคียว มือซ้ายถือรวงข้าว เต้นไป ร้องไป เรื่อยๆ เมื่อต้นเสียงร้องนำขึ้นมา คนอื่นๆ ที่เป็นลูกคู่จะร้องสร้อยรับตาม แต่จะไม่มีการปรบมือ เพราะกำลังกำเคียวอยู่
เนื้อหาของเพลงนั้นจะเป็นการร้องแก้เกี้ยวกัน โดยฝ่ายชายเกริ่นเพลงขึ้นมาก่อน ฝ่ายหญิงก็จะเกริ่นตามบ้าง จากนั้นจึงร้องโต้ตอบกัน บางคนอาจจะร้องเพลงไหว้ครูตลกๆ เสียก่อน บ้างก็ว่าทักทายกันไปเลย เพราะเพลงชนิดนี้ ไม่ต้องมีครูก็เล่นได้ ขณะที่ร้องรับกันอยู่นี้ ทุกคนก็จะรำเคียวไปด้วย เท้าก็ขยับเป็นจังหวะ เดินหน้าไปเรื่อยๆ วงเพลงก็จะหมุนเป็นวงกลมไปเรื่อยๆ
เพลงเต้นกำรำเคียวนี้ เป็นเพลงที่มีจังหวะกระชั้น มีการร้อง การรับ กระแทกกระทั้นกันอย่างสนุกสนาน เนื้อเพลงก็ร้องสืบต่อกันมา ตั้งแต่สมัยรุ่นปูย่าจนถึงปัจจุบัน มักจะเป็นบทเบ็ดเตล็ด มีการว่ายั่วเย้าเล็กๆ น้อยๆ ไปจนกระทั่งออกแดง ซึ่งหมายถึง ร้องโต้ตอบกันด้วยถ้อยคำหยาบโลน
การแต่งกาย
ฝ่ายหญิง แต่งตัวตามสะดวก ส่วนใหญ่เป็นชุดที่ใส่เกี่ยวข้าว เช่น เสื้อแขนกระบอก นุ่งผ้าโจงกระเบน สวมงอบ
ฝ่ายชาย นุ่งกางเกงครึ่งน่องหรือกางเกงสามส่วน สวมเสื้อแขนยาว มีผ้าขาวม้าเคียนเอว สวมหมวกสาน
อุปกรณ์การเล่น มีเพียงเคียวที่ใช้สำหรับเกี่ยวข้าว และรวงข้าวเท่านั้น
ปัจจุบันเพลงเต้นกำรำเคียวได้สูญหายไปแล้ว เพราะไม่มีการลงแขกช่วยเหลือกันเหมือนเมื่อก่อน มีเพียงการรับจ้างเกี่ยวข้าวแลกกับค่าแรง
ตัวอย่างเพลงเต้นกำรำเคียว
เพลงเต้นกำรำเคียวที่ยกมานี้ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าพบที่ใด แต่จะนำมาเป็นตัวอย่างเพื่อให้รู้จักลักษณะและเนื้อหาของเพลงพอสังเขปเท่านั้น
ชาย มาเถิดนางเอย เอยรา แม่มา มารึมา แม่มา มาเถิดแม่นุชน้อง พี่จะเป็นฆ้องให้น้องเป็นปี่ ต้อยตะริดติดยอดน้ำแห้งน้ำหยอดที่ตรงลิ้นปี่ มาเถิดนะแม่มา มารึมา แม่มา มาเต้นกำย่ำหญ้า กันในนานี้เอย (ลูกคู่รับท่อนทาย)
หญิง มาเถิดนายเอย เอยรา แม่มา มารึมา พ่อมาฝนกระจายปลายนา แล้วน้องจะมาอย่างไรเอย (ลูกคู่รับ)
ชาย ไปเถิดยางเอย เอยรา แม่ไป ไปรึไป แม่ไป ไปชมนกกันที่ในป่า ไปชมพฤกษากันที่ในไพร ไปชมชะนีผีไพร กันเล่นที่ในดงเอย (ลูกคู่รับ)
หญิง ไปเถิดนายเอย เอยรา พ่อไป ไปรึไป พ่อไป น้องเดินขยิกจิกไหล่ ตามก้นพี่ชายไปเอย (ลูกคู่รับ)
ชาย เดินกันเถิดนางเอย เอยรา แม่เดิน เดินรึเดิน แม่เดิน ย่างเท้าขึ้นโคก เสียงนกโพระดกมันร้องเกริ่น จะพาน้องไปท้องเนิน ชมเล่นให้เพลินใจเอย (ลูกคู่รับ)
หญิง เดินกันเถิดนายเอย เอยรา พ่อเดิน เดินรึเดิน พ่อเดินหนทางก็รก ระหกระเหิน แล้วน้องจะเดินอย่างไรเอย (ลูกคู่รับ)
ชาย รำกันเถิดนางเอย เอยรา แม่รำ รำรึรำ แม่รำ ใส่เสื้อเนื้อดี แม่ห่มแต่สีดอกคำ น้อยหรือแน่แม่ช่างรำ แม่เชื้อระบำเก่าเอย (ลูกคู่รับ)
หญิง รำกันเถิดนายเอย เอยรา พ่อรำ รำรึรำ พ่อรำ มหาหงส์ลงต่ำ ต่างคนต่างรำไปเอย (ลูกคู่รับ)
ชาย ร่อนกันเถิดนางเอย เอยรา แม่ร่อน ร่อนรึร่อน แม่ร่อน (ชะฉ่า ชะฉ่า ชาชาๆๆๆๆๆ) รูปร่างเหมือนนางระบำ แม่เอ๋ยช่างรำ แม่คุณช่างร้อน อ้อนแอ้นแขนอ่อน รูปร่างเหมือนมอญรำเอย (ลูกคู่รับ)
หญิง ร่อนกันเถิดนายเอย เอยรา พ่อร่อน ร่อนรึร่อน พ่อร่อน สีนวลอ่อน ร่อนแต่ลงบนเอย (ลูกคู่รับ)
ฯลฯ
ที่มา : มรกต งามภักดี. (2543). ราชบุรี. กรุงเทพฯ : บริษัท ต้นอ้อ 1999 จำกัด.
อ่านต่อ >>

เพลงเกี่ยวข้าว


เพลงเกี่ยวข้าวเป็นเพลงพื้นบ้านของชาวราชบุรี เพลงหนึ่ง เนื่องจากสมัยก่อน ชาวจังหวัดราชบุรีมีอาชีพทำนากันเป็นส่วนใหญ่


เพลงเกี่ยวข้าวเป็นเพลงที่ชาวนานิยมร้องระหว่างการเกี่ยวข้าว ในอดีตชาวนาจะมาช่วยกันเกี่ยวข้าว หรือที่เรียกว่า "การลงแขก" ระหว่างการเกี่ยวข้าวก็จะมีการร้องรำทำเพลง เพื่อเพิ่มบรรยากาศในการเก็บเกี่ยวให้มีความคึกคักสนุกสนาน อีกทั้งยังเป็นการผ่อนคลายความเหนื่อยล้าระหว่างการทำงานได้เป็นอย่างดี


เพลงเกี่ยวข้าวพบในทุกๆ จังหวัดที่มีการทำนา ประวัติของเพลงเกี่ยวข้าว มีเล่นมากันตั้งแต่สมัยใดไม่ปรากฏหลักฐาน ลักษณะของเพลงเกี่ยวข้าวจะเป็นกลอนสั้นๆ ใช้ร้องยั่วเย้ากัน ระหว่างชายหญิง ไม่มีถ้อยคำหยาบโลน ส่วนมากจะเป็นการเกี้ยวพาราสีกันเท่านั้น


การแต่งกาย

ฝ่ายหญิง จะนุ่งโจงกระเบนและสวมเสื้อแขนยาว สวมงอบ
ฝ่ายชาย จะนุ่งโสร่ง โจงกระเบน หรือกางเกงสามส่วน สวมเสื้อม่อฮ่อมหรือเสื้อคอกลม และสวมงอบ


ตัวอย่างเพลงเกี่ยวข้าวที่พบใน จ.ราชบุรี
คว้าเถิดหนาแม่คว้า
รีบตะบึงให้ถึงคันนา
จะได้พูดจากัน (เอ่ย)ฯ
เกี่ยวเถิดหนาแม่เกี่ยว
อย่ามัวแลมัวเหลียว
เคียวจะบาดมือ (เอ่ย)ฯ
เกี่ยวข้าวแม่ยาย
ผักบุ้งหญ้าหวาย
พันที่ปลายกำ (เอ่ย)ฯ
คว้าเถิดหนาแม่คว้า
ผักบุ้งสันตะว้า
คว้าให้เต็มกำ (เอ่ย)ฯ
ฯลฯ

ปรับปรุงมาจาก
มรกต งามภักดี. (2543). ราชบุรี. กรุงเทพฯ : บริษัท ต้นอ้อ 1999 จำกัด.
อ่านต่อ >>

เทศกาลเดือนเก้า อั้งหมี่ถ่องหรือประเพณีกินข้าวห่อ


ความเป็นมาของเทศกาลเดือนเก้า อั้งหมี่ถ่อง หรือ ประเพณีกินข้าวห่อ
บ้านโป่งกระทิงบน ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านบึง อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี เดิมชื่อบ้านกะเหรี่ยงว่า “บ้านกุ่ยโน่” ต่อมามีการติดต่อกับชาวไทยมากขึ้น จึงเรียกชื่อเป็นภาษาไทยว่า “บ้านบนเขา” เมื่อทางการ ได้เข้ามาพัฒนาโดย นพค. และ กรป.กลาง ได้พบเห็นกระทิงมากินดินโป่งอยู่บ่อย ๆ จึงเรียกว่า “โป่งกระทิง” แต่เนื่องจากมี 2 หมู่บ้านติดต่อกัน จึงเรียนกว่า “บ้านทิ่ยโท” ซึ่งเข้าถึงกันก่อนเรียกว่า “โป่งกระทิงล่าง” และเรียกอีกหมู่บ้านบนเขาว่า “โป่งกระทิงบน”

ปัจจุบันบ้านโป่งกระทิงบนยังมีประชากรชาวกะเหรี่ยงหรือชาวไทยตะนาวศรีเกือบ 50% และยังรักษาประเพณีที่ร่วมใจกันสืบทอดของชาวกะเหรี่ยงในเขต ราชบุรี –เพชรบุรี คือ เทศกาลเดือนเก้า อั้งหมี่ถ่อง หรือ ประเพณีกินข้าวห่อ ซึ่งเป็นการรวมญาติมาพบปะสร้างสรรค์มีการทำพิธีเรียกขวัญ เพื่อเป็นสิริมงคลกับทุกคน

พิธียกเสาหงส์
เสาหงส์ ชาวกะเหรี่ยงพุทธในสมัยก่อนมีความศรัทธาในพระพุทธศาสนาแต่หาโอกาสเข้าศึกษาบทเรียนได้ยาก เพราะเป็นชาวป่า ชาวดงไม่เหมือนคนไทยหรือคนมอญที่มีความเจริญรุ่งเรืองในศาสนา ชาวกะเหรี่ยงมีความเชื่อว่า “หงส์” เป็นนกแห่งสวรรค์สามารถเป็นสื่อนำความดี และนำความดีที่ชาวกะเหรี่ยงทำไปบอกกล่าวให้พระพุทธเจ้าได้รับทราบ เพื่อจะได้นำพระธรรมคำสอนที่บริสุทธ์ มาให้ ชาวกะเหรี่ยงได้ศึกษาและปฏิบัติต่อไป ด้วยการยึดหลักพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะสูงสุด จะมีเจดีย์หรือเสาหลักบ้านเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า และมีเสาหงส์เคียงคู่เพื่อใช้ทำพิธีประกอบในวันสำคัญทางศาสนา
อั้งหมี่ถ่อง ประเพณีกินข้าวห่อ
กะเหรี่ยงโปหรือกะเหรี่ยงโพลง หรือชาวไทยตะนาวศรี เป็นกลุ่มที่อาศัยตามแนวชาวแดนด้านตะวันตกของจังหวัดราชบุรี – เพชรบุรี จังหวัดราชบุรีจะอยู่ในเขตอำเภอสวนผึ้ง ปากท่อ บ้านคา เป็นกลุ่มที่มีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มมายาวนาน
ประเพณีกินข้าวห่อ หรืออั้งหมี่ถ่อง เกิดจากความเชื่อเกี่ยวกับขวัญประจำตัวของคนกะเหรี่ยงเชื่อว่าทุกคนมีขวัญประจำของคนกะเหรี่ยงเชื่อว่าทุกคนมีขวัญประจำตัวเป็นสิริมงคลแก่ตัว หากใครที่ขวัญหายไม่อยู่กับตัว อาจทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ ดังนั้นแต่ละปีชาวกะเหรี่ยงจึงมีประเพณีเรียกขวัญผูกข้อมือกินข้าวห่อขึ้น
ประเพณีกินข้าวห่อจะจัดในเดือน 9 ของทุกปี แต่ละหมู่บ้านจะจัดขึ้นไม่ตรงกันทำให้ญาติพี่น้องหรือเพื่อนฝูงสามารถไปมาหาสู่ร่วมกิจกรรมกันได้ ชาวกะเหรี่ยงเชื่อว่า เดือน 9 หรือ “หล่าคอก” เป็นเดือนที่ไม่ดี เพราะบรรดาวิญญาณชั่วจะกิน “ขวัญ” ของคนที่เร่ร่อนไม่อยู่กับเนื้อกับตัวทำให้เจ้าของขวัญเจ็บป่วยได้
ก่อนถึงวันงาน 3 วัน ชาวกะเหรี่ยงจะต้องเตรียมอุปกรณ์ เช่น ใบผาก ใบตอง และข้าวเหนียวและเริ่มห่อข้าวเหนียวห่อด้วยใบผากหรือใบตองแล้ว แช่น้ำทิ้งไว้ ในวันสุกดิบจะมีการต้มข้าวทั้งหมดให้เสร็จ พร้อมทั้งเคี่ยวน้ำกะทิและเตรียมอุปกรณ์เซ่นไหว้ในตอนหัวค่ำของวันนี้ จะมีการยิงปืน จุดประทัด เคาะแม่บันได้ ให้เกิดเสียงดังเพื่อเป็นขวัญที่อยู่ไกล ๆ ได้รับรู้และจะได้เดินทางกลับมาในคืนนี้ประตูหน้าต่างของทุกบ้านจะเปิดเอาไว้ เพื่อให้ขวัญที่เดินทางกลับมาเข้าบ้านได้
ก่อนรุ่งอรุณของวันใหม่จะมีการยิงปืน จุดประทัด เคาะแม่บันไดอีกครั้งเพื่อเรียกขวัญที่อยู่ไกลบ้านยังเดินทางมาไม่ถึงให้รีบมา จากนั้นผู้เฒ่าประจำบ้านจำนำเครื่องรับขวัญที่ประกอบด้วย ข้าวห่อครูหรือข้าวห่อพวง กล้วยน้ำว้า อ้อย ยอยดาวเรือง เทียน สร้อยเงิน กำไรเงินและด้ายแดง มาทำพิธีเรียกขวัญ โดยจะไล่ผู้อาวุโสสูงสุด และรองไปตามลำดับในครอบครัว ซึ่งช่วงนี้ลูกหลานที่ไปอยู่ที่อื่นจะได้รู้จักกันว่าใครคือ พี่ ป้า น้า อา หรือน้อง ทำให้เกิดความรักความเกรงใจและความสามัคคีในกลุ่ม
ที่มา : แผ่นพับประชาสัมพันธ์งานของ อ.บ้านคา จ.ราชบุรี
อ่านต่อ >>