วันพฤหัสบดีที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2553

รายนามผู้ประกอบอาชีพแสดงดนตรีไทย แตรวง ศิลปะและวัฒนธรรม จ.ราชบุรี

ข้อมูลอาจขาดความทันสมัยหรือไม่ครบถ้วน  ทุกท่านสามารถเพิ่มข้อมูลได้ที่ท้ายบทความนี้

ดนตรีไทย
  1. คณะครูรวม พรหมบุรี (รวมศิษย์บรรเลง) ปี่พาทย์มอญ มาตรฐานวงใหญ่ พร้อมแสงและเสียงครบวงจร  เลขที่ 14 ท่าเสา ซ.2 วัดมหาธาตุ อ.เมือง จ.ราชบุรี ติดต่อ นายอุดมศักดิ์  พรหมบุรี  โทร.08-1694-7783, 0-3231-2145
  2. นายวิรัช ขำมาลัย (ศิลปินดีเด่นจังหวัดราชบุรี สาขาศิลปะการแสดงด้านการแสดงพื้นบ้าน (ดนตรีไทย) พ.ศ.2542 ) รับงานการแสดงทั่วราชอาณาจักร ที่อยู่ติดต่อ 28 หมู่ 12 ต.คุ้งพยอม อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี 70110 โทร.0-3237-2531
  3. นายพุ่ม  เผยเผ่าเย็น (เป็นผู้ควบคุมวงด้วย) มีสมาชิกในวงกว่า 12 คน ที่อยู่ติดต่อ 4/4 ซอยหน้าวัดเขาเหลือ ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ราชบุรี โทร.08-1651-7302, 0-3231-2284
  4. นายลิบ  หนูอิม (เป็นผู้ควบคุมวงด้วย)  มีเครื่องดนตรีไทยปี่พาทย์มอญ มีสมาชิกในวง 12 คน ที่อยู่ติดต่อ 145 ต.ปากท่อ อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี
  5. บุญช่วย บรรเลงศิลป์ ปี่พาทย์มอญ เลขที่ 222/1 ถ.บ้านปากแรต ต.บ้านโป่ง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรีโทร.08-9692-9930,08-1513-5929
ลิเก
  1. น.ส.ทิพวรรณ  เกาะผล (เป็นหัวหน้าคณะ) รับงานแสดงลิเกทั่วไป นำโดยพระเอก นางเอก พร้อมชาวคณะกว่า 20 คน เครื่องเสียง เครื่องดนตรี เวที ไฟ ครบครัน ที่อยู่ติดต่อ 41 หมู่ 5 ตำบลสร้อยฟ้า อ.โพธาราม จ.ราชบุรี 70120 โทร.08-7158-9940
  2. นางพิศมัย  รัศมี รับแสดงลิเกทั่วไป ที่อยู่ติดต่อ 4/78 หมู่ 5 ต.เบิกไพร อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี 70110 โทร.08-6049-3944
  3. นายไพรัตน์  ทองกันยา รับงานแสดงลิเกทั่วไป นำโดยพระเอก นางเอก พร้อมชาวคณะกว่า 25 คน ที่อยู่ติดต่อ 31/2 หมู่ 14 ต.ท่าผา อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี 70110 โทร.08-1846-2287
  4. นายสมชาย  บุตรสำราญ รับงานแสดงลิเกทั่วไปทั้งในและนอกจังหวัดราชบุรี ที่อยู่ติดต่อ 209 หมู่ 14 (สามแยกกระจับ) ต.หนองอ้อ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี 70110 โทร.08-9881-6168, 08-1355-4676
  5. คณะจันทิมา วัยรุ่น รับงานแสดงลิเกทั่วไป รับจ้างคณะนักแสดงชุดเล็ก จำนวน 10 คนขึ้นไป ถ้าชุดใหญ่ จำนวน 15 คนขึ้นไป มีเครื่องเสียง ดนตรี เวที ไฟ ครบครัน ที่อยู่ติดต่อ 60 หมู่ 4 ต.ปากแรด อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี 70110 โทร.08-4317-5607
  6. คณะชวนชื่นโชว์ รับงานแสดงลิเกทั่วไป นำโดยพระเอก นางเอก พร้อมชาวคณะ 50 คน เครื่องเสียง เครื่องดนตรี เวที ไฟ ครบครัน โดยมีนายอุดมศักดิ์ ชวนชื่น เป็นหัวหน้าคณะ ที่อยู่ติดต่อ 60/2 หมู่ 2 ต.เบิกไพร อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี 70110 โทร.08-1304-9573
  7. คณะต้นรักชัชชัย รับงานแสดงลิเกทั่วไป โดยมีนายชัชวาลย์  จินรอด เป็นหัวหน้าคณะ มีเครื่องเสียง เครื่องดนตรี เวที ไฟ ครบครัน ที่อยู่ติดต่อ 35/213 ซอยมายเฮาส์ ถ.ปากแรด ต.บ้านโป่ง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี 70110 โทร.08-9254-8085
  8. คณะทองเคลิ้ม เสริมศิลป์ รับงานแสดงลิเกทั่วไป นพโดยพระเอก นางเอก พร้อมชาวคณะจำนวน 50 คนขึ้นไป นายเคลิ้ม คล้ายพันธ์ เป็นหัวหน้าคณะ เครื่องเสียง เครื่องดนตรี เวที ไฟ ครบครัน ที่อยู่ติดต่อ 43 หมู่ 3 ต.คุ้งพยอม อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี 70110
  9. คณะน้ำผึ้ง เดือนเพ็ญ รับงานแสดงลิเกทั่วไป นำโดยพระเอก นางเอก พร้อมชาวคณะกว่า 16 คน นางอุดม จินรอด เป็นหัวหน้าคณะ ที่อยู่ติดต่อ 35/213 ซอยมายเฮาส์ ถ.ปากแรด ต.บ้านโป่ง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี 70110 โทร.08-9986-9661
  10. คณะนิตย์กฤษณะ รับงานแสดงลิเกในเทศกาลงานแก้บน งานวัดและงานทั่วไป โดยมี จำนิตย์  แย้มเกสร เป็นหัวหน้าคณะ พร้อมเครื่องเสียง เครื่องดนตรี เวที ไฟ ครบครัน ที่อยู่ติดต่อ 9 หมู่ 10 ต.เบิกไพร อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี 70110 โทร.08-1005-9475
  11. คณะพรเทวัญดาวรุ่ง รับงานแสดงลิเกทั่วไป นำโดยพระเอก นางเอก พร้อมชาวคณะกว่า 30 คน ที่อยู่ติดต่อ 210 หมู่ 14 ต.หนองอ้อ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี 70110 โทร.0-3229-9601
  12. คณะสาลิกา สายัณห์  รับงานแสดงลิเกทั่วไป นำโดยพระเอก นางเอก พร้อมชาวคณะกว่า 20 คน นายสาคร ม่วงดี เป็นหัวหน้าคณะ มีเครื่องเสียง เครื่องดนตรี เวที ไฟ ครบครัน ที่อยู่ติดต่อ 99 หมู่ 17 ต.ปากแรด อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี 70110 โทร.08-6623-0137
  13. คณะสาลี่ศรีสง่า รับงานแสดงลิเกทั่วไป ที่อยู่ติดต่อ 57/2 หมู่ 3 ต.หนองอ้อ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี 70110 โทร.0-3220-0621
  14. คณะสุนัน จันทรา รับแสดงงานลิเกทั่วไป นำโดยพระเอก นางเอก พร้อมชาวคณะกว่า 25 คนขึ้นไป นางสุนันท์ แย้มเกษร เป็นหัวหน้าคณะ เครื่องเสียง เครื่องดนตรี เวที ไฟ ครบครัน ที่อยู่ติดต่อ 35/198 ถ.ประชาร่วมใจ ต.ปากแรด อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี 70110 โทร.08-3312-6241
  15. คณะหยกไทย สกุลทอง รับงานแสดงลิเกทั่วไป นำโดยพระเอก นางเอก พร้อมชาวคณะกว่า 20 คน มีนายเสวก โรจน์บุรานนท์ เป็นหัวหน้าคณะ ที่อยู่ติดต่อ 90/43 หมู่ 1 ต.หนองอ้อ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี 70110 โทร.08-7971-4588
  16. คณะยิ่งรัก อารีพร พระเอกเยาวชนคนน่ารัก คณะลิเกเด็กและเยาวชน เลขที่ 222/1 ถ.บ้านปากแรต ต.บ้านโป่ง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรีโทร.08-9692-9930,08-1513-5929
หนังตะลุง
  1. นายสุธรรม  ชูชาติ รับแสดงหนังตะลุงพื้นบ้านพร้อมชาวคณะ 10 คน และอุปกรณ์การแสดงครบชุด ที่อยู่ติดต่อ 14/2 หมู่ 2 ต.โพหัก อ.บางแพ จ.ราชบุรี โทร.0-3238-7304
  2. คณะบุญธรรมศิษย์ทวนทอง รับแสดงหนังตะลุงพื้นบ้านพร้อมชาวคณะ 9 คน และอุปกรณ์การแสดงครบชุด โดยมีนายบุญธรรม พานเจริญ เป็นหัวหน้าคณะ ที่อยู่ติดต่อ 309 ถ.แสงชูโต ต.บ้านโป่ง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี 70110 โทร.08-9220-0544
  3. คณะรุ่งพรมจันทร์ รับแสดงหนังตะลุงพื้นบ้านพร้อมชาวคณะ 12 คน และอุปกรณ์การแสดงครบชุด แสดงตามเรื่องแบบเชิดคนเดียว มีคนช่วยพากย์เป็นเสียงผู้หญิง โดยพากย์เสียงได้หลายภาษาหลายสำเนียง มี นายเภา พรมจรรย์ เป็นหัวหน้าคณะ ที่อยู่ติดต่อ 101 หมู่ 3 ต.หนองพันจันทร์ อ.บ้านคา จ.ราชบุรี 70180 โทร.08-1194-1534
  4. คณะวงศ์นารายณ์ทอง รับแสดงหนังตะลุงพื้นบ้าน พร้อมชาวคณะ 13 คน และอุปกรณ์การแสดงครบชุด โดยมีนายสุวรรณ จิตราวงศ์ เป็นหัวหน้าคณะ ที่อยู่ติดต่อ 75/2 หมู่ 6 ต.อ่างทอง อ.เมือง จ.ราชบุรี 70000 โทร.0-3235-2452, 08-9009-3557
  5. คณะวิชาน้อยศิษย์ ส.ภักดี รับแสดงหนังตะลุงพื้นบ้าน พร้อมชาวคณะ 5 คน และอุปกรณ์การแสดงครบชุด โดยมีนายวิชา  เสาเงิน เป็นหัวหน้าคณะ ที่อยู่ติดต่อ 12/3 หมู่ 4 ต.เบิกไพร อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี 70110 โทร.08-9547-5849
  6. คณะศรนารายณ์ รับแสดงหนังตะลุงพื้นบ้าน พร้อมชาวคณะ 7 คน และอุปกรณ์การแสดงครบชุด โดยมีนายบุญลือ แสงเพชร เป็นหัวหน้าคณะ ที่อยู่ติดต่อ 35/203 ซอยมายเฮ้าส์ ต.บ้านโป่ง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี 70110 โทร.0-3220-2032
ละครชาตรี
  1. คณะทองคำนาฎศิลป์ รับแสดงละครชาตรี ที่อยู่ติดต่อ 12 หมู่ 2 ต.พงสวาย อ.เมือง จ.ราชบุรี 70000 โทร.0-3231-7177
  2. คณะสายทองบันเทิง รับแสดงละครชาตรี ทั้งในและนอกจังหวัดราชบุรี ที่อยู่ติดต่อ 4 หมู่ 8 ต.ดำเนินสะดวก อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี 70130 โทร.08-1820-9718, 0-3234-5278
  3. คณะสุนทรี ชังเหยียว รับแสดงละครชาตรีในงานและเทศกาลต่างๆ ที่อยู่ติดต่อ 42 หมู่  4 ต.สร้อยฟ้า อ.โพธาราม จ.ราชบุรี 70120 โทร.08-1251-5751
  4. คณะนาฎศิลป์วาสนา รับแสดงละครชาตรี พร้อมด้วยชาวคณะกว่า 15 คน ที่อยู่ติดต่อ 158/1 ถ.เขางู ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ราชบุรี 70000 โทร.0-3231-2248,08-9443-9017
แตรวง
  1. คณะแตรวงตามดวง รับงานแสดงแตรวงในงานต่างๆ ทั่วไป โดยมี นายเล็ก  กลึงซัง เป็นผู้ควบคุมวงพร้อมชาวคณะกว่า 20 คน ที่อยู่ติดต่อ 137 หมู่ 4 ต.บ้านไร่ อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี 70130
  2. คณะแตรวงปิ่นเกล้าประเสริฐ รับแสดงแตรวงในงานมงคลต่างๆ ทั่วไป โดยนายนิลพัตร์ ปิ่นแก้วประเสริฐ เป็นผู้ควบคุมวง พร้อมชาวคณะกว่า 20 คน ที่อยู่ติดต่อ 146 หมู่ 6 ต.ดำเนินสะดวก อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี 70130
  3. คณะแตรวงเพื่อนเรา รับแสดงแตรวงในงานมงคลต่างๆ ทั่วไป โดยมีนายสมปอง น้อยประสิทธิ์ เป็นผู้ควบคุมวง พร้อมชาวคณะกว่า 20 คน ที่อยู่ติดต่อ 89 หมู่ 7 ต.บ้านไร่ อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี 70130
  4. คณะแตรวงรวมดาว รับแสดงแตรวงในงานมงคลต่างๆ ทั่วไป โดยมีนายแสวง  เมืองอินทร์ เป็นผู้ควบคุมวงพร้อมชาวคณะกว่า 20 คน ที่อยู่ติดต่อ 74 หมู่ 7 ต.บ้านไร่ อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี 70130
  5. วง ส.ศิษย์บรรเลง (รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 การประกวดดนตรีและศิลปะการแสดงพื้นบ้าน ประจำปีพุทธศักราช 2552) รับงานแสดงพื้นบ้านประเภทแตรวงในงานทั่วไป ที่อยู่ติดต่อ 40/3 หมู่ 7 ต.ดอนทราย อ.โพธาราม จ.ราชบุรี 70120 โทร.0-3237-5152 (ติดต่อนายสมาน  กันเกตุ)
  6. สุนิสาแตรวง รับงานแสดงแตรวงทั้งในและนอกจังหวัด โดยมี นายสมาน กันเกตุ เป็นผู้ควบคุมวงพร้อมชาวคณะกว่า 20 คน ที่อยู่ติดต่อ 40/3 หมู่ 7 ต.ดอนทราย อ.โพธาราม จ.ราชบุรี 70120 โทร.0-3237-5152, 08-1981-3661
อังกะลุง
  1. นายสุเทพ จอมคำ รับการแสดงอังกะลุง โดยมีนายสุเทพ จอมคำ เป็นผู้ควบคุมวง ที่อยู่ติดต่อ 52/1 หมู่ 3 ต.บ่อกระดาน อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี 70140
เพลงปรบไก่
  1. นายหล่อ เคลือบสำริด เป็นศิลปินพ่อเพลง รับงานแสดงเล่นเพลงปรบไก่ และถ่ายทอดให้เยาวชนผู้สนใจ ที่อยู่ติดต่อ ชุมชมบ้านเวียงทุน หมู่ 2 ต.เกาะศาลพระ อ.วัดเพลง จ.ราชบุรี
โขน
  1. คณะโขนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ดอนคลัง เป็นการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ มีนายธาตรี  ทรัพย์สำราญ เป็นผู้สอนและควบคุมการแสดง ที่อยู่ติดต่อ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาาพัฒนาการดอนคลัง อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี 70130 โทร.0-3223-6152-8
แคน
  1. วงแคนดอนคลัง รับงานแสดงวงแคนในงานต่างๆ ทั่วไป โดยมีนายลำใย  จีบฟัก เป็นผู้ควบคุมวงพร้อมชาวคณะกว่า 20 คน ที่อยู่ติดต่อ 121/1 หมู่ 3 ต.ดอนคลัง อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี 70130 โทร.08-1861-4904
วงแคนย้อนยุค
  1. คณะโพธิ์งามมิวสิค รับแสดงแคนย้อนยุคประยุกต์ พร้อมเครื่องดนตรีและผู้แสดงจำนวน 16 คน ปัจจุบันมี นายอนงค์ โพธิ์งาม เป็นหัวหน้าคณะ ที่อยู่ติดต่อ หมู่ 7 ต.วังมะนาว อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี โทร.08-5293-8066
รำโทน
  1. คณะรำโทนบ้านตลาดควาย รับงานแสดงรำโทนทั่วไป เป็นการแสดงรำวงเป็นคู่ชาย-หญิง ผู้แสดงอาวุโส โดยมี นายบุญชู  จันทร์สุน เป็นหัวหน้าคณะ ที่อยู่ติดต่อ หมู่ 5 ต.รางบัว อ.จอมบึง จ.ราชบุรี โทร.08-1942-5124
แคนประยุกต์
  1. คณะรุ่งอรุณคอมโป  รับแสดงแคนประยุกต์ และรำวงย้อนยุคพร้อมนางรำ มีสมาชิกประมาณ 30 คน (ทีทั้งชุดเล้ก ชุดใหญ่) รับงานแห่ งานกฐิน  ปัจจุบันมีนายเศียร มณีจันทร์ เป็นหัวหน้าคณะ ที่อยู่ติดต่อ 32 หมู่ 5 ต.ดอนแร่ อ.เมือง จ.ราชบุรี 70000 โทร.0-3220-7054, 08-1981-5206
ละครเวที
  1. คณะละครยามเช้า (โรงเรียนช่องพรานวิทยา) รับงานแสดงละครในจังหวัดและใกล้เคียง ที่อยู่ติดต่อ โรงเรียนช่องพรานวิทยา 158 หมู่ 2 ต.เตาปูน อ.โพธาราม จ.ราชบุรี 70120 โทร.0-3235-9217-8, 08-1378-5755 โทรสาร.0-3235-9217 ต่อ 104 อีเมล์ sunny_jaja@hotmail.com 
หนังใหญ่
  1. คณะหนังใหญ่วัดขนอน รับงานแสดงหนังใหญ่ ซึ่งเป็นมหรสพโบราณที่ได้ร่วมสืบทอดกันมา เป็นเพียงวัดเดียวที่มีมหรสพเป็นของวัด มีตัวหนังและคณะหนังใหญ่ รับจัดแสดงในงานต่างๆ จัดสาธิตทำหนังใหญ่ และรับสอนโดยมีทีมงานจำนวน 30 คน ควบคุมการแสดงโดย พระครูพิทักษ์ศิลปะคม เจ้าอาวาสวัดขนอน ที่อยู่ติดต่อ วัดขนอน ต.สร้อยฟ้า อ.โพธาราม จ.ราชบุรี โทร.0-3223-3386, 08-1753-1230 โทรสาร.0-3235-4272
กลองยาว
  1. ชมรมอนุรักษ์และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน รับการแสดงกลองยาวของชาวบ้านโคกแขกแบบโบราณ โดยมีนายเฉลา ศรีอาจ เป็นผู้ควบคุมวง ที่อยู่ติดต่อ 92 หมู่ 8 ต.ดอนกรวย อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี โทร.08-6996-5477
มโหรี
  1. วงพุฒิ-เทพ บันเทิง รับงานแสดงดนตรีไทย วงมโหรี ในงานเทศกาล งานแต่ง โดยมี นายเทพ ทองลิ่ม เป็นผู้ควบคุมวง ที่อยู่ติดต่อ 47 หมู่ 4 ต.จอมบึง อ.จอมบึง จ.ราชบุรี โทร.0-3236-2034 
ศิลปะการแสดงด้านละครและการแสดง
  1. นางสุดใจ  สิทธิประเสริฐ (ศิลปินดีเด่นจังหวัดราชบุรี สาขาศิลปะการแสดงด้านการละคร พ.ศ.2545) รับงานแสดง อาทิ การแสดงเซิ้งตังหวาย (ฉบับบ้านโป่งวิทยาคม) การแสดงเซิ้งแหย่ไข่มดแดง (ฉบับบ้านโป่งวิทยาคม) และรับเป็นวิทยากรให้แก่สถาบันการศึกษา ที่อยู่ติดต่อ 77 หมู่ 10 ต.นครชุมน์ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี 70170 โทร.08-1290-4612
เจอปันนิว
  1. เจอปันนิว เป็นการแสดงของชาวไทยกะเหรี่ยง เนื้อเพลงของการแสดงนี้เป็นภาษากะเหรี่ยง สอนให้เด็กๆ อย่าขี้เกียจ เหมือนอย่างเจอปันนิว การแสดงจะเป็นการร้องรำทำเพลงของคนสูงอายุและเด็กชาวกะเหรี่ยง ใช้บทเพลงเจอปันนิว บรรเลง ตามจังหวะการแสดง ควบคุมการแสดงโดย นายชูศิลป์  ชีช่วง พร้อมนักแสดงจำนวนกว่า 10 คน ที่อยู่ติดต่อ บ้านโป่งกระทิงบน หมู่  1 ต.บ้านคา อ.บ้านคา จ.ราชบุรี 70180 โทร.08-9095-9126
ดนตรีจีน
  1. วงดนตรีจีนอิ๋วเซียง (เสียงสวรรค์) รับงานแสดงดนตรีจีน ในงานประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของโรงเจ มีสมาชิกแสดงจำนวน 15 คนขึ้นไป พร้อมอุปกรณ์ ที่อยู่ติดต่อ โรงเจฮกตั้วบ้านโป่ง 19/1 ถ.เสรีนิยม ต.บ้านโป่ง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี 70110
ที่มา :
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2552). จังหวัดราชบุรี. นามสงเคราะห์ ศิลปินและผู้ประกอบการด้านศิลปะการแสดง. กระทรวงวัฒนธรรม. (หน้า 297-302)

ข้อมูลอาจขาดความทันสมัยหรือไม่ครบถ้วน  ทุกท่านสามารถเพิ่มข้อมูลได้ที่ท้ายบทความนี้
อ่านต่อ >>

วันพุธที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2553

โครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน จ.ราชบุรี 13 แห่ง

โครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน จังหวัดราชบุรี
จำนวน 13 แห่ง

ผู้รับผิดชอบโครงการ วัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี
ที่อยู่ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี ถ.ไกรเพชร ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ราชบุรี
โทรศัพท์ 032-322786, 032-322-862
E-mail : pana051100@hotmail.com
  1. โครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนตำบลบ้านม่วง วัดม่วง ต.บ้านม่วง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ประธานโครงการ นางสอางค์ พรหมอินทร์ ที่อยู่ ๙๙ หมู่ ๕ ต.บ้านม่วง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ๗๐๑๑๐ โทร. ๐๓๒-๓๒๒๗๘๖ , ๐๘๙-๘๘๕๘๘๑๗
  2. โครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนตำบลหนองปลาหมอ โรงเรียนชุมชนวัดหนองปลาหมอ ถ.เขางู-เบิกไพร หมู่ ๕ ต.หนองปลาหมอ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี โทร ๐๓๒-๓๗๒๒๐๘ ประธานโครงการ นายอำนวย บุญณรงค์ ๒/๑ หมู่ ๓ ต.หนองปลาหมอ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี โทร. ๐๓๒-๓๗๒๕๑๘ , ๐๘๑-๕๗๘๖๑๐๒
  3. โครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนตำบลปากแรด โรงเรียนชุมชนวัดโคกหม้อ (ประชาสามัคคี) หมู่ ๙ ต.ปากแรด อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี โทร. ๐๓๒-๒๐๐๓๖๘ ประธานโครงการ นายเฉลิมชัย จำปาศรี ๑๒๙/๓๐ หมู่ ๓ ต.ปากแรด อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี โทร. ๐๓๒-๒๒๒๑๓๓ , ๐๘๓-๖๑๐๕๐๓๐
  4. โครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนตำบลดอนแร่ วัดนาหนอง หมู่ ๒ ต.ดอนแร่ อ.เมือง จ.ราชบุรี ประธานโครงการ นายสุรเดช อินทรสันติ โรงเรียนวัดนาหนอง ต.ดอนแร่ อ.เมือง จ.ราชบุรี โทร. ๐๓๒-๒๐๗๓๘๔
  5. โครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนตำบลคูบัว จิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว หมู่ ๖ ต.คูบัว อ.เมือง จ.ราชบุรี ประธานโครงการ นายอุดม สมพร หมู่ ๖ ต.คูบัว อ.เมือง จ.ราชบุรี โทร. ๐๘๑-๗๖๓๑๙๘๙
  6. โครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนตำบลดอนคลัง โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการดอนคลัง ต.ดอนคลัง อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี ประธานโครงการ นายเกียรติศักดิ์ คฤหบดี โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการดอนคลัง ต.ดอนคลัง อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี โทร. ๐๓๒-๓๒๒๗๘๖ , ๐๓๒- ๓๒๒๘๖๒
  7. โครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนตำบลบ้านสิงห์ สำนักงานเทศบาลตำบลบ้านสิงห์ ต.บ้านสิงห์ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี ประธานโครงการ นางกัญญา พัฒนผดุงวิทยา ๑๒/๑๓ หมู่ ๔ ต.บ้านสิงห์ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
  8. โครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนตำบลโพหัก ห้องสมุดประชาชนเฉลิมพระเกียรติ (ชั้นล่าง) ต.โพหัก อ.บางแพ จ.ราชบุรี ประธานโครงการ นายประเสริฐ อุนันทชัย ห้องสมุดประชาชนเฉลิมพระเกียรติ (ชั้นล่าง) ต.โพหัก อ.บางแพ จ.ราชบุรี
  9. โครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนตำบลปากท่อ ศูนย์วัฒนธรรมไทยทรงดำบ้านหัวเขาจีน หมู่ ๑ ต.ห้วยยางโทน อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี ประธานโครงการ นายไพรัช บัวบังใบ ๖๒ หมู่ ๗ ต.วังมะนาว อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี โทร. ๐๘๙-๙๑๑๓๘๖๖
  10. โครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนตำบลรางบัว วัดรางบัว ๑ หมู่ ๖ ต.รางบัว อ.จอมบึง จ.ราชบุรี นายมุก ดาวดึงส์ องค์การบริหารส่วนตำบลรางบัว อ.จอมบึง จ.ราชบุรี โทร. ๐๘๑-๓๗๘๖๕๓๒
  11. โครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนตำบลวัดเพลง วัดศรัทธาราษฎร์ ต.วัดเพลง อ.วัดเพลง จ.ราชบุรี ประธานโครงการ พระครูไพศาลวัฒนากร เจ้าอาวาสวัดศรัทธาราษฎร์  โทร. ๐๓๒-๓๙๙๒๘๙
  12. โครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนตำบลตะนาวศรี องค์การบริหารส่วนตำบลตะนาวศรี อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี ประธานโครงการ นายสธาวุฒิ จันท์ผกาพันธ์ โรงเรียนบ้านสวนผึ้ง ต.ตะนาวศรี อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี โทร. ๐๘๙-๐๑๒๑๕๓๒
  13. โครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนตำบลบ้านบึง โรงเรียนบ้านโป่งกระทิงบน ต.บ้านบึง อ.บ้านคา จ.ราชบุรี ประธานโครงการ นายพิทยา คงสุคนธ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโป่งกระทิงบน ต.บ้านบึง อ.บ้านคา จ.ราชบุรี โทร. ๐๘๑-๙๘๑๙๔๑๒
ที่มา :
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2553).โครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน : จังหวัดราชบุรี. [Online]. Available : http://saiyai.culture.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=160:2010-04-08-08-40-27&catid=42:2010-01-22-02-49-26&Itemid=30. [2553 ตุลาคม 11 ].
อ่านต่อ >>

วันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ภูมิหลังโคกพลับ

ภูมิหลังโคกพลับ
ชื่อ แหล่งโบราณคดีโคกพลับ
สถานที่ตั้ง  หมู่ที่ 4 ตำบลโพหัก อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี

ลักษณะทั่วไป
โคกพลับ มีสภาพเป็นเนินร้างไม่มีบ้านเรือนของผู้คนมีแต่ต้นไม้เล็กใหญ่ปกคลุมอยู่เป็นหย่อมๆลักษณะเนินเป็นรูปกลมรี ยาวไปตามแนวเหนือใต้ มีเนื้อที่ทั้หมด 9 ไร่เศษ

จากการขุดค้นของกรมศิลปากรในปี พ.ศ. 2520-2522 ได้สรุปว่า โคกพลับเคยเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ในช่วงยุคก่อนประวัติศาสตร์เมื่อ 2000-3000 ปีมาแล้ว ซึ่งก็น่าจะเป็นช่วงยุคสำริด

สภาพทางภูมิศาสตร์ของโคกพลับเมื่อ3,000 ปีที่แล้ว น่าจะอยู่ไม่ไกลจากริมชายฝั่งทะเล เมื่อย้อนหลังไปประมาณ 3,000  ปี ลำน้ำแม่กลองไม่ได้ไหลผ่านอำเภอท่ามะกาลงไปทางบ้านโป่ง โพธาราม เข้าเขตราชบุรีแล้วไปออกปากน้ำที่จังหวัดสมุทรสงคราม อย่างเช่นที่เห็นในทุกวันนี้ แต่ไหลไปออกอ่าวไทย ในเขตจังหวัดนครปฐมแทน ปรากฏร่องรอยลำน้ำ ที่แยกจากบริเวณ อำเภอท่าเรือ ไปทางตะวันออกเฉียงใต้ วกวนไปยังอำเภอนครชัยศรี ที่ยังแลเห็นร่องรอยชัดเจน ก็ได้แก่ ลำน้ำทัพหลวง และลำพะเนียงแตก เป็นต้น (อ่านเพิ่มเติม)

เมื่อเป็นเช่นนี้ อาณาบริเวณที่เป็นที่ราบลุ่มของจังหวัดราชบุรี ตั้งแต่เขตอำเภอบางแพ อำเภอเมือง อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี เลยเข้าไปถึง เขตอำเภอเขาย้อย จนถึงอำเภอเมืองเพชรบุรี ในเขตจังหวัดเพชรบุรี ก็คือบริเวณหาดทรายชายขอบอ่าวไทย ในสมัยราว 3,000  ปีนั่นเอง ทำให้บริเวณอำเภอนครชัยศรี อำเภอสามพราน เรื่อยลงมาถึงอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร อำเภอดำเนินสะดวก อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี เลยไปถึงอำเภอบางคนที อำเภออัมพวา และอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม และอำเภอบ้านเหลม จังหวัดเพชรบุรี ยังเป็นส่วนหนึ่งของท้องทะเล และที่ลุ่มใต้น้ำ ที่เริ่มจะดอนขึ้นเท่านั้น

ปัจจุบันหาดทรายชายขอบอ่าวไทยในยุคนั้น ยังเห็นได้จากแนวสันทราย ตั้งแต่บริเวณบ้านตากแดด อำเภอบางแพ ผ่านบ้านโพหัก ลงมายังอำเภอเมืองราชบุรี แล้วต่อเป็นแนวยาวผ่านบ้านคูบัวลงไปยังอำเภอปากท่อ อำเภอเขาย้อย และอำเภอเมืองเพชรบุรีตามลำดับ แนวสันทรายชายหาดที่ผ่านเขตบ้านคูบัว จนไปถึงเมืองเพชรบุรีนี้ ได้กลายเป็นทางคมนาคมทางบก ระหว่างเมืองราชบุรี และเพชรบุรี เกิดชุมชนตามแนวสันทรายเป็นระยะ ๆ ไปอย่างสืบเนื่อง จนกระทั่งชาวบ้านมักเรียกว่า ถนนท้าวอู่ทอง เป็นถนนที่ใช้มาก่อน เกิดถนนเพชรเกษม

จากหลักฐานทางโบราณคดี พัฒนาการของชุมชนมนุษย์ ในบริเวณลุ่มน้ำแม่กลองตอนล่าง ตามลักษณะภูมิประเทศ เมื่อประมาณ 3,000 ปีมาแล้วนั้น น่าจะเกิดขึ้นเมื่อราว 2,500 ปีที่ผ่านมา อันเป็นสมัยยุคสำริดเหล็ก ที่มีการติดต่อคมนาคมกัน ทั้งทางบก และทางทะเล ระหว่างชุมชนในเขตประเทศจีนตอนใต้ และเวียดนาม กับบรรดาชุมชนต่าง ๆ ในพื้นแผ่นดินใหญ่ และหมู่เกาะของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นับแต่เวลานี้ลงมา ได้มีชุมชนเกิดขึ้นตามชายทะเลของอ่าวไทย ในเขตจังหวัดราชบุรี

เห็นได้จากแหล่งโบราณคดีโคกพลับ ที่บ้านโพหัก อำเภอบางแพ ซึ่งพบโบราณวัตถุ ที่มาจากภายนอก เช่น ตุ้มหู เครื่องประดับ และโบราณวัตถุสำริด และเหล็กเป็นต้น บริเวณที่ต่ำลงมาในเขตอำเภอเมือง จนถึงอำเภอปากท่อ ก็คงเป็นชายขอบ ที่ผู้คนจากภายเขตอำเภอจอมบึง เข้าไปยังอำเภอสวนผึ้ง และเดินทางตามลำน้ำภาชี ขึ้นไปยังลำน้ำแควน้อยในเขตบ้านเก่า และอำเภอไทรโยค เหตุนี้จึงพบร่องรอยของชุมชนโบราณ ในยุคสำริด-เหล็กตอนปลายหลายแห่ง เช่น ในเขตอำเภอจอมบึง และเมืองสิงห์ ที่มีการขุดพบโครงกระดูกของคนในยุคนี้และถ้ำองบะ พบกลองมโหระทึกสำริด

ข้อมูลจากการขุดสำรวจโคกพลับเมื่อปี  2520-2522
โครงกระดูกมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์
กว้าง 50 ซม. สูง 180 ซม.
 อายุ 3,000 - 2,000 ปีมาแล้ว
พบที่แหล่งโบราณคดีโคกพลับ
ต.โคกพลับ อ.บางแพ
จังหวัดราชบุรี

การค้นพบที่เกิดขึ้นคือการค้นพบแหล่งโบราณคดีที่มีโครงกระดูกมนุษย์พร้อมของใช้และเครื่องประดับสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มีอายุ 1,000-3,000 ปี ซึ่งได้สร้างความอัศจรรย์ใจให้แก่นักโบราณคดีในสมัยนั้นเป็นอย่างมากเพราะว่ามันคือ การค้นพบแหล่งประวัติศาสตร์ที่จะช่วยไขความเป็นมาของเผ่าพันธุ์มนุษย์ในยุค 1,000 ปี ที่แล้ว

นับแต่นั้นมาชื่อของ "โพหัก" ก็เริ่มเป็นที่คุ้นหูของใครอีกหลายๆคน การค้นพบที่เกิดขึ้นถือว่าเป็นการค้นพบแหล่งโบราณคดีในยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่มีอายุ 1,000-3,000 ปี ซึ่งในประเทศไทยการค้นพบแหล่งโบราณคดีในยุคก่อนประวัติศาสตร์นั้นมีเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น

"โคกพลับ" คือจุดที่มีการค้นพบเกิดขึ้น โคกพลับนี้อยู่ที่ตำบลโพหัก อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรีมีลักษณะเป็นเนินดินร้างที่อยู่ไกลจากชุมชน การค้นพบนี้เกิดขึ้นโดยบังเอิญเนื่องจากมีการขุดคลองชลประทานส่งน้ำผ่านบริเวณโคกพลับ ทำให้พบโครงกระดูกมนุษย์จำนวนมากฝังรวมอยู่กับเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ลักษณะคล้ายมนุษย์โบราณก่อนประวัติศาสตร์

สภาพชีวิตของคนในชุมชนโบราณโคกพลับ เจริญยาวนานมาอย่างต่อเนื่องนับร้อยปี เพราะจากสภาพศพที่ฝังซ้อนกันอย่างหนาแน่น ตลอดแนวความลึกประมาณ 2 เมตร มิใช่การประกอบพิธีฝังศพในคราวเดียว แต่เป็นการฝังที่ได้กระทำอย่างต่อเนื่องมานับศตวรรษ ศพทุกศพถูกฝังอย่างเป็นระเบียบ แสดงให้เห็นถึงขนบธรรมเนียมประเพณีและความเชื่อของคนในสมัยนั้นได้อย่างชัดเจน ศพถูกฝังในท่านอนหงายอย่างสบาย แขนวางแนบลำตัว ขาเหยียดยาว หน้าหงายมองฟ้า ศพฝังโดยไม่ใส่โลง แต่หลุมที่ฝังนั้นขุดอย่างเรียบร้อยตามรูปร่างลำตัวคน มีการใส่สิ่งของเครื่องใช้ เครื่องประดับ และอาหารลงในหลุม

จากสภาพศพที่ฝังไว้ทำให้เห็นว่าคนในชุมชนแห่งนี้มีฐานะความเป็นอยู่ต่างๆ กัน บางศพจะมีสิ่งของฝังรวมไว้จำนวนมาก แต่บางศพก็มีเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย สำหรับการเลือกสถานที่ฝังศพนั้นจะกระทำอย่างประณีต โดยเฉพาะที่โคกพลับจะพบโครงกระดูกฝังรวมกันอย่างหนาแน่น ศพที่ฝังไว้ที่นี่จะถูกเนื้อดินรักษาไว้ได้อย่างสมบูรณ์ไม่มีการผุกร่อนหรือเปลื่อยยุ่ย

แสดงว่าดินของที่นี่มีคุณสมบัติในการรักษาโครงกระดูกไว้ได้อย่างดี ดินที่นี่มีลักษณะเป็นดินดำแข็ง ปนทรายละเอียดส่วนล่างสุดเป็นทรายล้วนๆ เนื้อทรายละเอียดสีขาว และสีเหลือง ซึ่งจะเรียกว่าทรายเงินและทรายทองก็คงไม่ผิด คติการฝังศพในทรายนี้น่าจะเกิดขึ้นกับชุมชนที่อยู่ริมทะเลซึ่งมีชายหาด เนินดินที่โคกพลับมิได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหากแต่เกิดจากฝีมือมนุษย์ซึ่งสร้างขึ้นตามหลักความเชื่อของคนในชุมชน เรียกได้ว่าโคกพลับคือสุสานของคนโบราณที่สร้างขึ้นด้วยความเฉลียวฉลาดของคนในสมัยนั้น และคงต้องใช้เวลาสร้างนานพอสมควร

การศึกษาเรื่องราวความเป็นมาของมนุษย์โบราณที่โคกพลับเป็นการศึกษาเรื่องราวความเป็นมาของเผ่าพันธุ์มนุษย์เพื่อประโยชน์ส่วนรวม ที่จะได้รู้เรื่องราวความเป็นมาของปู่ ย่า ตา ยาย บรรพบุรุษว่าสืบทอดต่อกันมาอย่างไร มิได้ศึกษาเพื่อค้นหาของมีค่าไปขายเป็นประโยชน์เฉพาะตนแต่อย่างใด หลายคนอาจมองว่าวัตถุโบราณที่โคกพลับเป็นของไม่มีค่า ขายไม่ได้ แต่ในทางการศึกษาถือว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามหาศาล

หากท่านเคยเข้าไปในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กรุงเทพฯ ท่านจะได้เห็นภาพถ่ายขนาดใหญ่เป็นภาพโครงกระดูกมนุษย์นอนหงายเหยียดยาวอยู่ในหลุม บนศีรษะมีภาชนะดินเผาครอบอยู่คล้ายหมวก แสดงรวมอยู่กับกลุ่มโบราณวัตถุบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งถ้าเป็นคนที่ไม่รู้จริงก็จะบอกว่าภาพนั้นคือโครงกระดูกที่บ้านเชียง แต่คนโพหักจะรู้สึกภูมิใจอย่างเงียบๆว่าแท้จริงแล้วภาพนั้นคือโครงกระดูกที่ขุดพบที่โคกพลับ ตำบลโพหัก

สิ่งที่ขุดค้นพบจำแนกได้ดังนี้
  1. กำไลหิน พบทั้งที่ทำจากหินสีเขียว และหินสีดำ มีลักษณะคล้ายจักร สันของวงกำไลเป็นสันคมขวานหรือมีดโดยรอบ ทุกวงจะทำขึ้นอย่างปราณีตมันเรียบจนขึ้นเงา มีทั้งขนาดใหญ่ และขนาดเล็ก ขนาดใหญ่สุดมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ8นิ้ว มีทั้งที่สวมอยู่ในข้อมือของศพและวางรวมไว้ในหลุม
  2. ลูกปัดหิน พบทั้งที่ทำจากหินสีเขียวและสีส้ม เนื้อหินเป็นสีเขี้ยวหนุมานหรือหยกอย่างอ่อน รูปร่างกลมแบนเจาะรูตรงกลางสำหรับใช้วัสดุประเภทเส้นใยร้อยเป็นพวงใช้คล้องคอ ส่วนใหญ่พบวางเรียงอยู่รอบๆคอศพคล้ายคล้องคอไว้แต่จำนวนลูกปัดในแต่ละพวงไม่เท่ากัน
  3. ต่างหูหิน พบทั้งที่ทำจากหินสีเขียว สีส้ม และสีน้ำตาล เนื้อหินเป็นสีเขี้ยวหนุมานหรือหยกอย่างอ่อนเหมือนกับหินที่ใช้ทำลูกปัด รูปร่างเป็นแผ่นแบนกลมบ้างรีบ้าง ตรงกลางเจาะรูกลมและมีร่องผ่าไปสู่ขอบด้านนอกเพื่อใช้สำหรับหนีบคาบติดไว้กับติ่งหู ส่วนใหญ่พบอยู่ด้านข้างของกะโหลกศีรษะ
  4. หินบดยา เป็นแท่งหินสีเขียว กลมยาว เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5เซนติเมตร พบเพียงครึ่งท่อนปะปนอยู่ในกองกระดูกสัตว์นอกหลุมศพ
  5. ขวานหิน เป็นแผ่นหินสีเทารูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดเล็กกว้างประมาณ2นิ้ว ด้านที่เป็นคมมีลักษณะคล้ายคมมีดหรือคมขวานในปัจจุบัน ผิวขัดมันเรียบ พบเพียงชิ้นเดียว
  6. กำไลสำริดแบน เป็นกำไลที่หล่อจากโลหะสำริด เลียนแบบกำไลหินสันของวงกำไลโดยรอบเป็นแผ่นเรียบ พบเพียงวงเดียว
  7. กำไลสำริดกลม เป็นกำไลข้อมือหล่อด้วยสำริด เป็นเส้นกลมคล้ายเส้นลวดขนาดใหญ่ผิวเรียบ พบสวมไว้กับข้อมือศพข้างละ 2-3วง มากน้อยขึ้นอยู่กับฐานะความเป็นอยู่ของผู้ตาย
  8. ปลอกแขนสำริด เป็นกำไลข้อมือรูปทรงกระบอก หล่อจากโลหะสำริดขนาดความยาวประมาณ6-7นิ้ว ผิวภายนอกดุนเป็นตุ่มเล็กๆเพื่อความสวยงามบริเวณกึ่งกลางโดยรอบมีหนามเตยแหลมยื่นออกมาคล้ายพันเฟือง พบเพียง 3อัน บางอันสวมอยู่ที่ข้อมือศพ บางอันวางไว้ในหลุมศพ
  9. ใบหอกสำริด เป็นลักษณะของหอกใบข้าวหล่อจากโลหะสำริดมีป้องสำหรับไว้สวมกับด้าม พบเพียงเล่มเดียวฝังรวมอยู่ในหลุมศพ
  10. เบ็ดสำริด เป็นเบ็ดตกปลาขนาดใหญ่หล่อด้วยโลหะสำริด ตะกรุดขมวดเป็นปมสำหรับใช้เส้นใยผูก ปลายมีเงี่ยง พบเพียงชิ้นเดียว พบในชั้นดินนอกหลุมศพ
  11. แท่งสำริดคล้ายเขาสัตว์ เป็นแท่งสำริดกลมภายในกลวง ปลายข้างหนึ่งสอบเข้าหากันปิดตันกลมมนคล้ายเขาสัตว์ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10 เซนติเมตร พบเพียง2 ชิ้นอยู่ในหลุมฝังศพ
  12. หวีทำจากกระดูกสัตว์ (หรืองาช้าง) เป็นกระดูกสัตว์หรือไม่ก็งาช้าง กว้างประมาณ 5 เวนติเมตร ยาวประมาณ7 เซนติเมตร รูปสี่เหลี่ยมปลายสอบเล็กน้อย มีลวดลายแกะสลัก ด้านล่างผ่าเป็นซี่ๆเหมือนหวีในปัจจุบัน พบเพียง2อันวางอยู่บนศีรษะศพ
  13. กำไลข้อมือทำจากกระดูกสัตว์หรืองาช้าง เป็นกำไลข้อมือลักษณะเดียวกับกำไลสำริดกลม ทำจากกระดูกสัตว์หรือไม่ก็งาช้าง สวมอยู่ในข้อนมือศพซ้อนกันข้างละหลายๆวง
  14. กำไลข้อมือทำจากเปลือกหอย เป็นกำไลข้อมือลักษณะเดียวกับกำไลสำริดกลม พบเพียง1ชิ้น
  15. กำไลข้อมือรูปดาวเทียมทำจากเปลือกหอย เป็นกำไลข้อมือแบบมีสัน เหมือนกำไลหิน แต่แทนที่สันของกำไลจะคมเหมือนใบมีดกลับมาทำหนามแหลมยื่นเป็นแฉกคล้ายดาว ทำจากเปลือกหอยมือเสือขนาดใหญ่
  16. กำไลข้อมือรูปดาวทำจากกระดองเต่า ลักษณะเดียวกับกำไลเปลือกหอยแต่ทำขึ้นจากกระดองเต่า
  17. กำไลดินเผา เป็นกำไลข้อมือชนิดมีสันเช่นเดียวกับกำไลหินและกำไลสำริดแบนแต่ทำจากดินเผาเนื้อค่อนข้างหยาบขนาดเล็ก
  18. พานดินเผา เป็นภาชนะรูปพานทำจากดินเผาฝีมือประณีต เนื้อดินสีเทาวางอยู่บริเวณปลายเท้าและศีรษะของศพ เป็นศิลปะสมัยทาราวดี
  19. หม้อดินเผา เป็นภาชนะรูปหม้อส่วนใหญ่มีขนาดเล็กเนื้อดินเผาสีแดงผิวเรียบ ก้นมน ปากผายและคอหยัก ฝีมือการปั้นไม่ค่อยประณีต ที่เป็นหม้อขนาดใหญ่พบเพียง 2ใบ รูปร่างคล้ายหม้อทะนนมีลายภายนอก เป็นลายก้านไม้ขีด เป็นศิลปะสมัยทาราวดี
  20. จานดินเผา เป็นภาชนะรูปคล้ายจาน ทำด้วยดินเผาสีแดง พบเพียงชิ้นเดียว ที่ก้นเป็นขอบชักวงกลมตั้งได้ ลายภายนอกเป็นลายก้านไม้ขีด
  21. ชามดินเผา เป็นภาชนะดินเผารูปคล้ายชามที่ใช้กันในปัจจุบัน ทำด้วยดินเผาสีแดง ภายนอกเป็นรอยนิ้วมือกด
  22. ชามดินเผาก้นมน เป็นภาชนะดินเผาคล้ายหม้อตาล ขอบปากตั้ง ก้นมน พบเพียงชิ้นเดียววางครอบอยู่ที่ศีรษะศพ
  23. ถ้วยดินเผา เป็นภาชนะดินเผาเนื้อหนารูปร่างคล้ายกะลามะพร้าว ผิวเรียบ ปั้นขึ้นอย่างหยาบๆ เข้าใจว่าเป็นถ้วยใส่เครื่องเซ่นในหลุมฝังศพ
  24. ฝาหม้อดินเผา เป็นภาชนะดินเผารูปร่าง ฝาละมี เหมือนฝาชีที่มียอดชักขอบเป็นวงกลมสูงให้สามารถจับถือได้
  25. ลูกกระสุนดินเผา เป็นดินปั้นกลม ผิวเรียบ เผาสุกแกร่ง พบในระดับดินชั้นตื้นๆ
  26. ภาชนะดินเผาทรงกระบอกลายเรขาคณิต เป็นภาชนะดินเผาทรงกระบอกปลายสอบเข้าหากันเล็กน้อย ก้นมน ภายในกลวง มีรูกลมเจาะไว้ตรงกลาง ไม่ปิดตันเหมือนด้านก้น ผิวด้านนอกเขียนเป็นเส้นลายเราขาคณิตเป็นรอยลงบนเนื้อดินฝีมือการปั้นประณีต
  27. รางดินเผา เป็นเครื่องปั้นดินเผาสีแดงเนื้อหนารูปร่างคล้ายรางดินปลายนอกบานออก ก้นแคบปิดตัน
  28. หินดุ เป็นเครื่องปั้นดินเผาคล้ายดอกเห็ดผิวเรียบมีหลายขนาด
  29. ดินเทศ เป็นดินฝุ่นสีแดง พบกองอยู่บนหน้าอกศพบางศพ
  30. เปลือกหอยและกระดูกสัตว์ เป็นซากเปลือกหอยทะเล เปลือกหอยน้ำจืด ก้างปลาและกระดูกสัตว์ชนิดต่างๆฝังรวมอยู่ในหลุมฝังศพ พบเกือบทุกหลุม
จากหลักฐานดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าชุมชนโบราณบริเวณโคกพลับจะต้องเป็นชุมชนในสมัยเดียวกับ นครปฐมโบราณ อู่ทอง และคูบัวซึ่งเรียกกันว่า “สมัยก่อนประวัติศาสตร์ “หรืออาจจะเก่ากว่านั้นอย่างแน่นอน ในด้านการคมนาคมติดต่อกับชุมชนอื่นๆ พบว่าชุมชนโบราณแห่งนี้ตั้งอยู่ห่างจากชายฝั่งทะเลปากอ่าวไทยทางด่านใต้เพียง 20 กิโลเมตรเศษเท่านั้น  พร้อมกับตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มระหว่างแม่น้ำแม่กลองและแม่น้ำท่าจีน มีร่องรอยของลำน้ำเก่าเชื่อมโยงติดต่อกับแหล่งชุมชนโบราณที่มีความเจริญได้ทุกแห่ง

การศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีพบว่า การติดต่อค้าขายระหว่างอินเดียและจีนทางทะเล ในระยะแรกๆ นั้นได้ใช้วิธีการขนสินค้าผ่านเข้ามาจากชายฝั่งทะเลประเทศพม่า ผ่านเจดีย์สามองค์ ล่องลงมาตามลำน้ำแควน้อยและลำน้ำแม่กลองมาทำการขนถ่ายสินค้าลงเรือสำเภาจีนบริเวณปากอ่าวไทย ซึ่งเคยเข้าใจว่าน่าจะเป็นบริเวณเมืองนครปฐมและคูบัวนี้เอง ดังนั้นจึงเชื่อได้อย่างแน่นอนว่าชุมชนโบราณบริเวณโคกพลับจะต้องมีอยู่แล้วก่อนที่เมืองนครปฐม เมืองอู่ทอง และเมืองคูบัวเจริญรุ่งเรืองขึ้นในภายหลัง

หลักฐานที่ค้นพบเหล่านี้ได้ถ่ายทอดบอกเล่าถึงเรื่องราวความเป็นอยู่ของผู้คนในยุคอดีตเมื่อ 1,000-3,000 ปีที่แล้ว ให้กับผู้คนในยุคปัจจุบันได้รับรู้และเรียนรู้ ถ้าเป็นไปได้แหล่งโบราณคดีโคกพลับควรมีการฟื้นฟูกลับคืนมาเพราะแหล่งโบราณคดีนี้มิใช่ประวัติศาสตร์เฉพาะของคนโพหัก หากแต่นับว่าเป็นประวัติศาสตร์เผ่าพันธุ์ของคนไทยทั้งชาติ และลูกหลานควรจะกล่าวขานว่า “โคกพลับเป็นแหล่งอารยธรรมประวัติศาสตร์ 1,000ปี”  มิใช่ โคกพลับที่ทิ้งขยะดังเช่นทุกวันนี้

ขอขอบพระคุณข้อมูลจากหนังสือ อาจาริยานุสรณ์ , อาจารย์อภัย นาคคง,อาจารย์ทองเพี้ยน คงแป้น

อ่านเพิ่มเติม โครงกระดูกมนุษย์โบราณอายุร่วม 2,000 ปี ที่โคกพลับ

ที่มาข้อมูลและภาพ
นกน้อยแห่งโพหัก.(2553). ขุดพบโครงกระดูกมนุษย์โบราณอายุร่วม 2,000 ปีที่โคกพลับ. [Online]. Available :http://www.oknation.net/blog/nonglek/2010/09/16/entry-3. [2553 ตุลาคม 8 ].
อ่านต่อ >>

โครงกระดูกมนุษย์โบราณอายุร่วม 2,000 ปี ที่โคกพลับ

ขุดพบโครงกระดูกมนุษย์โบราณอายุร่วม2,000 ปี ที่โคกพลับ ต.โพหัก อ.บางแพ จ.ราชบุรี

คาดว่าโครงกระดูกเหล่านี้
น่าจะมีอายุไม่ต่ำกว่า 2,000ปี
เป็นยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่อยู่ในช่วงยุคสำริด
เมื่อวันที่ 16 กย.53  ได้มีการขุดพบโครงกระดูกของมนุษย์โบราณที่คาดว่าน่าจะมีอายุร่วม 2,000ปี บริเวณโคกพลับ ต.โพหัก อ.บางแพ จ.ราชบุรี โดยเจ้าหน้าที่จากกรมศิลปากรเป็นผู้ขุดสำรวจ

โครงกระดูกที่พบบริเวณเนินดินของโคกพลับในครั้งนี้น่าจะมีอายุนับพันปี ซึ่งคงต้องรอการตรวจสอบตามขั้นตอนต่อไปว่าจะกี่พันปีกันแน่   แต่จากการสอบถามคุณปรียานุช จุมพรม นักโบราณคดีชํานาญการ กรมศิลปากรผู้ที่ทำการขุดสำรวจก็คาดว่าโครงกระดูกที่ขุดพบในครั้งนี้น่าจะมีอายุใกล้เคียงกับโครงกระดูกที่ได้เคยขุดพบเจอเมื่อ 30 ปีที่แล้วจากบริเวณเดียวกันนี้

การขุดสำรวจในครั้งนี้นับเป็นการขุดสำรวจครั้งแรกในรอบ 30 ปี หลังจากการขุดสำรวจครั้งล่าสุดก็คือช่วงปี 2520-2522 ซึ่งการขุดในครั้งนั้นทำให้ได้พบหลักฐานที่เป็นโบราณสถานและโบราณวัตถุที่มีคุณค่าอย่างสูงต่อการศึกษาเกี่ยวกับความเป็นมาของเผ่าพันธุ์มนุษย์แห่งลุ่มน้ำแม่กลองในยุคก่อนประวัติศาสตร์ หลังจากขุดสำรวจขนาด 4X4 เมตร จำนวน 2 หลุม ปรากฏว่าได้มีการค้นพบโครงกระดูกมนุษย์จำนวน 48 โครงฝังรวมกับสิ่งของเครื่องใช้เครื่องประดับจำนวนมาก แล้วก็ได้หยุดการสำรวจไป

จากบันทึกของอาจารย์ทองเพี้ยน คงแป้น ผู้อยู่ในเหตุการณ์การขุดค้นทางโบราณคดีเมื่อ 30 ปีที่แล้ว เขียนเล่าในบางตอนว่า “สิ่งที่น่าเสียดายที่สุดก็คือ การที่นักโบราณคดีที่มาทำการขุดในครั้งนั้นได้เคยเสนอความคิดให้ชาวโพหักจัดให้โคกพลับเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง แสดงถึงเรื่องราวความเป็นอยู่ของมนุษย์ที่โคกพลับ แต่ความคิดนี้กลับไม่ได้รับการตอบรับจากชาวบ้าน ซ้ำร้ายไปกว่านั้นกลับมีการทำลายโคกพลับให้หมดไปด้วยการขุดดินโคกพลับขายให้แก่บริษัทรับถมดิน เพื่อทำโคกพลับให้เป็นที่ราบลุ่มใช้สำหรับทำนาอีกด้วย ความคิดแคบๆเช่นนี้ใครเล่าจะแก้ได้ ” สุดท้ายโคกพลับเลยมาไม่ถึงยุครุ่นลูกรุ่นหลานอย่างเรา สิ่งที่เหลืออยู่ก็เห็นจะเหลือเพียงตำนานการเล่าขานเท่านั้น

การศึกษาเรื่องราวความเป็นมาของมนุษย์โบราณที่โคกพลับเป็นการศึกษาเรื่องราวความเป็นมาของเผ่าพันธุ์มนุษย์เพื่อประโยชน์ส่วนรวม ที่จะได้รู้เรื่องราวความเป็นมาของปู่ ย่า ตา ยาย บรรพบุรุษว่าสืบทอดต่อกันมาอย่างไร มิได้ศึกษาเพื่อค้นหาของมีค่าไปขายเป็นประโยชน์เฉพาะตนแต่อย่างใด หลายคนอาจมองว่าวัตถุโบราณที่โคกพลับเป็นของไม่มีค่า ขายไม่ได้ แต่ในทางการศึกษาถือว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามหาศาล

หลังจากการขุดสำรวจเมื่อ 30 ปีที่แล้ว เนื่องจากชาวบ้านในขณะนั้นไม่ได้ให้ความสำคัญกับแหล่งโบราณคดีนี้ จึงส่งผลให้พื้นที่ส่วนหนึ่งกลายเป็นที่ทิ้งขยะ และพื้นที่บางส่วนก็ถูกขุดทำเป็นบ่อเลี้ยงกุ้งหรือบ่อเลี้ยงปลาไป

ปัจจุบัน พื้นที่บริเวณโคกพลับนี้เหลือน้อยมาก

จึงนับว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างมากที่วันนี้โคกพลับจะได้รับการรื้อฟื้นขึ้นมาอีกครั้งเพื่อใช้เป็นแหล่งการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์สำหรับลูกหลานในรุ่นต่อไป

ขอขอบพระคุณ คุณปรียานุช จุมพรม นักโบราณคดีชํานาญการ กรมศิลปากรและเจ้าหน้าที่ทุกท่าน ที่ให้ข้อมูลและความรู้เพิ่มเติม


หลุมที่ขุดลึกและกว้างประมาณ1.50เมตร

ดูคลิบวีดีโอ : ชาวบ้าน ต โพหัก ทำบุญโครงกระดูก อายุ 2,000 ปี

ที่มาข้อมูลและภาพ
นกน้อยแห่งโพหัก.(2553). ขุดพบโครงกระดูกมนุษย์โบราณอายุร่วม 2,000 ปีที่โคกพลับ. [Online]. Available :http://www.oknation.net/blog/nonglek/2010/09/16/entry-3. [2553 ตุลาคม 8 ].
อ่านต่อ >>