คำกล่าวที่ว่า "ดูลิเกไปวัดคงคา ได้วิชาไปวัดป่า(ไผ่) ฟังเทศน์ไปวัดบ้านหม้อ" (อ่านรายละเอียด) สะท้อนให้เห็นว่าที่วัดคงคาราม อ.โพธาราม จ.ราชบุรี คงมีลิเกมาเล่นบ่อย คณะลิเกสมัยก่อนคงมีกันหลายคณะ แต่คณะที่โด่งดังจนเป็นความทรงจำที่เล่าสืบกันมา คือ คณะของตาเชื้อยายนิ่ม แห่งชุมชนโพหัก ราชบุรี
ลิเก หรือที่เรียกว่า ยี่เก เป็นการแสดงพื้นบ้านที่เป็นมรดกตกทอดของสังคมไทยมาช้านาน นิยมเล่นกันในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้มีคณะลิเกคณะหนึ่งที่ดีที่สุดในสมัยนั้น คือ คณะดอกดิน เสือสง่า (พ.ศ.2401-2477) เป็นคณะแรกของเมืองไทยที่เล่นเป็นแบบชายจริงหญิงแท้ โดยมีนางละออง เสือสง่า บุตรสาวเล่นเป็นตัวนางประจำคณะ นายดอกดิน เสือสง่า ยังเป็นต้นตำหรับของกลอนลิเก หรือเพลงรานิเกริง ที่นิยมนำมาร้องจนถึงทุกวันนี้
ในพื้นที่จังหวัดราชบุรีและจังหวัดใกล้เคียง อำเภอบ้านโป่งของเราเป็นย่านที่มีคณะลิเกเข้ามาตั้งหลักแหล่งมากที่สุดกว่า 40 คณะ ลิเกได้รับความนิยมเผยแพร่อย่างรวดเร็ว เพราะแต่งตัวสวยงามสมจริง เล่นได้ทั้งโศกเศร้าตลกขบขัน เดินเรื่องได้รวดเร็วทันใจมากกว่าโขน ละคร จึงทำให้บรรดาคณะโขน ละครที่มีอยู่ในขณะนั้นเปลี่ยนอาชีพมาเล่นลิเกมากขึ้น ศิลปินลิเกที่มีชื่อเสียงของอำเภอบ้านโป่งหลายคนมีพื้นฐานการแสดงมาจากโขน และละครเป็นส่วนใหญ่ อาทิ
พระราชวรินทร์ (กุหลาบ โกสุม)
พระราชวรินทร์ (กุหลาบ โกสุม) นี้เป็นชาวสวนกล้วย อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี เป็นบุตรของหลวงกมล ภักดี (บัว โกสุม) และนางอิน โกสุม รับราชการในกรมมหรสพ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 มีความเชี่ยวชาญเรื่องดนตรีไทย การตีระนาดเอก เล่นโขนแสดงเป็นตัวทศกัณฑ์ ชำนาญบทเกี้ยวนางสีดา ตอนทศกัณฐ์ลงสวน และเก่งการเล่นละครออกภาษาลาวเพราะชำนาฐมาจากลิเก จนเป็นที่โปรดปราน และได้พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "พระราชวรินทร์" และได้รับพระราชทานเครื่องปี่พาทย์เครื่องใหญ่ 1 ชุด พร้อมเรือนไม้สักทรงไทย 1 หลัง ต่อมาได้ทูลเกล้าฯ ถวายบรรดาศักดิ์คืนและออกมาเล่นโขนลิเกเป็นการส่วนตัว
ขุนแก้ว กัทฑลีเขตร์ (แก้ว โกสุม)
ขุนแก้วฯ นี้มีชีวิตระหว่างปี พ.ศ.2423-2503 เป็นบุตรชายคนโตของหลวงกมล ภักดี และเป็นพี่ชายของพระราชวรินทร์ รับราชการในกรมมหรสพเช่นเดียวกับพระราชวรินทร์ มีความสามารถด้านการแสดงโขนเป็นตัวทศกัณฐ์ ต่อมาได้สมรสกับนางเชื้อ โกสุม (อัคนิทัต) ซึ่งมีความสามารถในการแสดงโขนเป็นตัวพระลักษณ์ และพระราม บุคคลทั้งสองนับเป็นองค์ความรู้ด้านศิลปะการแสดงโขน ละคร ลิเก และดนตรีไทย ได้เป็นครูฝึกหัดลูกหลานชาวบ้านสวนกล้วย อ.บ้านโป่ง ให้สามารถเล่นโขน ละคร และลิเกได้อย่างชำนาญ โขนละครขุนแก้ว มีชื่อเสียงเป็นที่รู็จักทั่วไปใน จ.ราชบุรี เพชรบุรี และจังหวัดใกล้เคียง โดยใช้ชื่อคณะว่า "บำรุงโบราณนาฎ"
นายประกอบ โกสุม
นายประกอบฯ มีชีวิตอยู่ระหว่างปี พ.ศ.2466-2539 เป็นบุตรของขุนแก้ว กัทฑลีเขตร์ (แก้ว โกสุม) และนางเชื้อ โกสุม เคยรับราชการครู ต่อมาได้ลาออกจากราชการมาเล่นโขน ละคร และลิเก เป็นการส่วนตัว ในการแสดงโขนมักเล่นเป็นตัวพระราม คู่กับนางประพิมพ์ อุตสาหะ ซึ่งเล่นเป็นตัวนางสีดา
คณะบำรุงโบราณนาฎ นายประกอบ โกสุม ได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู้ด้านศิลปะการแสดงจากบิดา มารดา และเป็นครูสอนการแสดงโขน ละคร ลิเก และดนตรีไทย แก่ลูกหลานบ้านสวยกล้วย ตลอดจนนักเรียนตามสถานศึกษาต่างๆ สามารถครอบครูโขน ละคร เป็นที่รู้จักกันทั่วไป คณะลิเกรุ่นลูกหลานที่สืบทอดวิชาศิลปะการแสดงจากครูประกอบ โกสุม ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักได้แก่ คณะอุดมพรวัยรุ่น โดยมีชวลิต อิ่มทรัพย์ เป็นพระเอกและแสดงร่วมกับคณะลิเกสมศักดิ์ ภักดี พระเอกลิเกเงินล้าน ลิเกโทรทัศน์ช่อง 9 นอกจากนี้ยังมีคณะนพดล หลานอุดมพร และคณะประทีป ทวนทอง เป็นต้น
นางทองดี สีสกุล
นางทองดีฯ มีชีวิตอยู่ระหว่างปี พ.ศ.2421-2518 มีชื่อเล่นว่า "ดี่" เป็นชาวตำบลบางช้าง อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม ต่อมาได้พาครอบครัวอพยพมาทำมาหากินด้านการแสดงโขน ละครในเขตอำเภอบ้านโป่ง นางดี่ สีสกุล นับเป็นศิลปินชั้นครู เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถทั้งด้านการแสดงโขน ละคร และลิเก ได้ถ่ายทอดศิลปะการแสดงโดยเฉพาะลิเกให้แก่บุตรหลานได้ยึดเป็นอาชีพทำกินจนถึงทุกวันนี้
นางยุพิน เสือสง่า
โต้โผลิเกคณะยุพิน เสือสง่า เป็นบุตรสาวคนสุดท้องของนายดอกดิน เสือสง่า (คณะลิเกที่ดีที่สุดในสมัยรัชกาลที่ 6) ได้มาแสดงประจำที่ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี และได้สมรสกับ นายสนิท สีสกุล บุตรชายของนางทองดี สีสกุล ซึ่งมีความสามารถด้านการตีระนาด นางยุพินฯ จึงเป็นสะใภ้ของ อ.บ้านโป่ง นางยุพิน เสือสง่า ได้ฝึกหัดลูกศิษย์หลายรุ่นออกไปตั้งคณะลิเกเรียกว่า "ศิษย์เสือสง่า"
***************************************
อ่านต่อ ตำนานลิเกราชบุรี ตอนที่ 2
ที่มาข้อมูล
คณะกรรมการอำนวยการโครงการจัดทำหนังสือ เรื่อง "วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญา". (2543). หนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดราชบุรี. กรมศิลปากร : องค์การค้าของคุรุสภา. (หน้า 170-180) (ดูภาพหนังสือ)
ในพื้นที่จังหวัดราชบุรีและจังหวัดใกล้เคียง อำเภอบ้านโป่งของเราเป็นย่านที่มีคณะลิเกเข้ามาตั้งหลักแหล่งมากที่สุดกว่า 40 คณะ ลิเกได้รับความนิยมเผยแพร่อย่างรวดเร็ว เพราะแต่งตัวสวยงามสมจริง เล่นได้ทั้งโศกเศร้าตลกขบขัน เดินเรื่องได้รวดเร็วทันใจมากกว่าโขน ละคร จึงทำให้บรรดาคณะโขน ละครที่มีอยู่ในขณะนั้นเปลี่ยนอาชีพมาเล่นลิเกมากขึ้น ศิลปินลิเกที่มีชื่อเสียงของอำเภอบ้านโป่งหลายคนมีพื้นฐานการแสดงมาจากโขน และละครเป็นส่วนใหญ่ อาทิ
พระราชวรินทร์ (กุหลาบ โกสุม)
พระราชวรินทร์ (กุหลาบ โกสุม) นี้เป็นชาวสวนกล้วย อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี เป็นบุตรของหลวงกมล ภักดี (บัว โกสุม) และนางอิน โกสุม รับราชการในกรมมหรสพ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 มีความเชี่ยวชาญเรื่องดนตรีไทย การตีระนาดเอก เล่นโขนแสดงเป็นตัวทศกัณฑ์ ชำนาญบทเกี้ยวนางสีดา ตอนทศกัณฐ์ลงสวน และเก่งการเล่นละครออกภาษาลาวเพราะชำนาฐมาจากลิเก จนเป็นที่โปรดปราน และได้พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "พระราชวรินทร์" และได้รับพระราชทานเครื่องปี่พาทย์เครื่องใหญ่ 1 ชุด พร้อมเรือนไม้สักทรงไทย 1 หลัง ต่อมาได้ทูลเกล้าฯ ถวายบรรดาศักดิ์คืนและออกมาเล่นโขนลิเกเป็นการส่วนตัว
ขุนแก้ว กัทฑลีเขตร์ (แก้ว โกสุม)
ขุนแก้วฯ นี้มีชีวิตระหว่างปี พ.ศ.2423-2503 เป็นบุตรชายคนโตของหลวงกมล ภักดี และเป็นพี่ชายของพระราชวรินทร์ รับราชการในกรมมหรสพเช่นเดียวกับพระราชวรินทร์ มีความสามารถด้านการแสดงโขนเป็นตัวทศกัณฐ์ ต่อมาได้สมรสกับนางเชื้อ โกสุม (อัคนิทัต) ซึ่งมีความสามารถในการแสดงโขนเป็นตัวพระลักษณ์ และพระราม บุคคลทั้งสองนับเป็นองค์ความรู้ด้านศิลปะการแสดงโขน ละคร ลิเก และดนตรีไทย ได้เป็นครูฝึกหัดลูกหลานชาวบ้านสวนกล้วย อ.บ้านโป่ง ให้สามารถเล่นโขน ละคร และลิเกได้อย่างชำนาญ โขนละครขุนแก้ว มีชื่อเสียงเป็นที่รู็จักทั่วไปใน จ.ราชบุรี เพชรบุรี และจังหวัดใกล้เคียง โดยใช้ชื่อคณะว่า "บำรุงโบราณนาฎ"
นายประกอบ โกสุม
นายประกอบฯ มีชีวิตอยู่ระหว่างปี พ.ศ.2466-2539 เป็นบุตรของขุนแก้ว กัทฑลีเขตร์ (แก้ว โกสุม) และนางเชื้อ โกสุม เคยรับราชการครู ต่อมาได้ลาออกจากราชการมาเล่นโขน ละคร และลิเก เป็นการส่วนตัว ในการแสดงโขนมักเล่นเป็นตัวพระราม คู่กับนางประพิมพ์ อุตสาหะ ซึ่งเล่นเป็นตัวนางสีดา
คณะบำรุงโบราณนาฎ นายประกอบ โกสุม ได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู้ด้านศิลปะการแสดงจากบิดา มารดา และเป็นครูสอนการแสดงโขน ละคร ลิเก และดนตรีไทย แก่ลูกหลานบ้านสวยกล้วย ตลอดจนนักเรียนตามสถานศึกษาต่างๆ สามารถครอบครูโขน ละคร เป็นที่รู้จักกันทั่วไป คณะลิเกรุ่นลูกหลานที่สืบทอดวิชาศิลปะการแสดงจากครูประกอบ โกสุม ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักได้แก่ คณะอุดมพรวัยรุ่น โดยมีชวลิต อิ่มทรัพย์ เป็นพระเอกและแสดงร่วมกับคณะลิเกสมศักดิ์ ภักดี พระเอกลิเกเงินล้าน ลิเกโทรทัศน์ช่อง 9 นอกจากนี้ยังมีคณะนพดล หลานอุดมพร และคณะประทีป ทวนทอง เป็นต้น
นางทองดี สีสกุล
นางทองดีฯ มีชีวิตอยู่ระหว่างปี พ.ศ.2421-2518 มีชื่อเล่นว่า "ดี่" เป็นชาวตำบลบางช้าง อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม ต่อมาได้พาครอบครัวอพยพมาทำมาหากินด้านการแสดงโขน ละครในเขตอำเภอบ้านโป่ง นางดี่ สีสกุล นับเป็นศิลปินชั้นครู เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถทั้งด้านการแสดงโขน ละคร และลิเก ได้ถ่ายทอดศิลปะการแสดงโดยเฉพาะลิเกให้แก่บุตรหลานได้ยึดเป็นอาชีพทำกินจนถึงทุกวันนี้
นางยุพิน เสือสง่า
โต้โผลิเกคณะยุพิน เสือสง่า เป็นบุตรสาวคนสุดท้องของนายดอกดิน เสือสง่า (คณะลิเกที่ดีที่สุดในสมัยรัชกาลที่ 6) ได้มาแสดงประจำที่ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี และได้สมรสกับ นายสนิท สีสกุล บุตรชายของนางทองดี สีสกุล ซึ่งมีความสามารถด้านการตีระนาด นางยุพินฯ จึงเป็นสะใภ้ของ อ.บ้านโป่ง นางยุพิน เสือสง่า ได้ฝึกหัดลูกศิษย์หลายรุ่นออกไปตั้งคณะลิเกเรียกว่า "ศิษย์เสือสง่า"
***************************************
อ่านต่อ ตำนานลิเกราชบุรี ตอนที่ 2
ที่มาข้อมูล
คณะกรรมการอำนวยการโครงการจัดทำหนังสือ เรื่อง "วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญา". (2543). หนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดราชบุรี. กรมศิลปากร : องค์การค้าของคุรุสภา. (หน้า 170-180) (ดูภาพหนังสือ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น