ประวัติความเป็นมา
เพลงรำโทนโพหัก เป็นเพลงพื้นบ้านที่เกิดต่อจากเพลงโอก เพลงสงฟาง เพลงสงคอลำพรวน เพลงพานฟาง เพลงชักกระดาน ของคนโพหัก เป็นต้น ซึ่งการละเล่นนี้มีมาตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือประมาณปี พ.ศ.2479 เป็นเพลงที่ร้องเล่นกันระหว่างหนุ่มสาว เกี้ยวพาราสีกัน โดยจะแสดงในงานรื่นเริง เช่น งานตรุษ งานสงกรานต์ และ งานประเพณี เช่นงานทอดกฐิน แข่งเรือ แสดงกันบริเวณวัด ซึ่งจะเป็นการพบปะกันระหว่างชายหนุ่มกับหญิงสาว
เนื้อเพลงและท่ารำก็จะเป็นการเกี้ยวพาราสีกันระหว่างชายหนุ่มกับหญิงสาวในหมู่บ้านและต่างถิ่น จะเริ่มแสดงในช่วงหัวค่ำจนถึงเช้าของวันรุ่งขึ้น และแสดงภายใต้แสงคบเพลิงหรือแสงจากตะเกียงอีด้า (ตะเกียงเจ้าพายุ) เพราะในสมัยนั้นยังไม่มีไฟฟ้าใช้ รำโทนโพหักได้สูญหายไป 70 กว่าปีแล้ว อาจเนืองมาจากความเจริญของบ้านเมืองและมีการละเล่นอื่นๆเกิดขึ้นอีกมากมาย ทำให้ผู้คนหันไปสนใจของใหม่ จึงเป็นสาเหตุทำให้รำโทนโพหักหายไป
กลับฟื้นคืนตำนาน....
ในปี พ.ศ.2541 อาจารย์มณฑิตย์สา มั่นฤกษ์ ครูโรงเรียนชุมชนวัดใหญ่โพหัก (เสียชีวิตแล้วเมื่อ 18 ส.ค.2552) ซึ่งเป็นลูกเกิดโพหัก ได้ย้ายมาสอนที่บ้านเกิด เห็นว่าศิลปวัฒนธรรมของโพหักมีมากมาย บางอย่างก็คงอยู่ และอีกหลายอย่างได้สูญหายไปแล้ว จึงคิดที่จะขุดค้นส่วนที่สูญหายให้กลับคืนมา ก็เริ่มศึกษาค้นคว้าจากญาติผู้ใหญ่ให้ท่านเล่าให้ฟัง แล้วเก็บข้อมูลไว้ ในปี 2543 อาจารย์มณฑิตย์สา มั่นฤกษ์ ได้ทำการขุดค้นอย่างจริงจัง โดยการเข้าถึงคนเฒ่าคนแก่ที่ยังพอจำเรื่องราวได้ ศึกษาหาข้อมูล และรวบรวมประวัติความเป็นมาทุกวันหลังเวลาราชการ พูดคุยกับชาวบ้านจนดึกดื่นทุกคืนที่ออกหาข้อมูล วันละ 2-3 บ้านต่อวัน ได้ข้อมูลและเนื้อเพลงรำโทนโพหัก แล้วนำมาฝึกร้องฝึกรำ
อาจารย์มณฑิตย์สา มั่นฤกษ์ |
โดยเริ่มต้นจากกลุ่มผู้สูงอายุโพหัก ทำให้เพลงรำโทนโพหักได้กลับฟื้นคืนมา ในปี พ.ศ. 2543 และได้นำไปแสดงในงานเที่ยวราชบุรีปี 2001 เป็นครั้งแรก ได้รับการตอบรับจากผู้ชม นักท่องเที่ยวอย่างมากมาย เขาพูดกันว่าแปลกดีไม่เคยเห็น บางคนชอบเนื้อเพลงที่ร้องมาขอเอาไป สถาบันการศึกษาให้ความสนใจมากเข้ามาสอบถามความเป็นมาสำนักวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรีให้วิทยาลัยครูราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง มาถ่ายทำเป็น วีดีโอ
ต่อจากนั้นก็ได้นำไปเผยแพร่ในระดับมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่ง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมก็ส่งนักศึกษา สาขานาฎศิลป์มาเรียนรู้ รวมถึงสื่อมวลชนต่าง ๆ มาให้ความสนใจมาขอถ่ายทำเป็นสารคดีออกทางโทรทัศน์ทุกช่อง (ช่อง 3 ,5 ,7, 9, 11) และได้นำไปแสดงงานวัฒนธรรมของอำเภอ และจังหวัดราชบุรี รวมถึงจังหวัดใกล้เคียงตลอดมา
อาจารย์มณฑิตย์สา มั่นฤกษ์ ได้เริ่มขยายการฝึกร้องฝึกรำจากผู้สูงอายุมาถึงคนหนุ่มสาวและถึงเด็กประถมศึกษาในโรงเรียน รวมทั้งชาวบ้านทั้ง 11 หมู่บ้านในตำบลโพหัก อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี ฝึกรำโทนเป็นกันทั้งตำบล
งานเทศกาลเข้าพรรษาโพหักอนุรักษ์วิถีไทยพื้นถิ่นครั้งที่ 1
ในปี พ.ศ.2549 อาจารย์มณฑิตย์สา มั่นฤกษ์ ได้เป็นผู้ริเริ่มจัดงานฟื้นฟูและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยพื้นถิ่นขึ้น เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ.2549 โดยใช้ชื่องานว่า “เทศกาลเข้าพรรษาโพหักอนุรักษ์วิถีไทยพื้นถิ่น ครั้งที่ 1" โดยเชิญให้ท่านนายอำเภอบางแพ (นายเจน รัตนพิเชษฐ์ชัย) เป็นประธานจัดงาน และเชิญท่านผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี นายวงษ์ศักดิ์ สวัสดิ์พาณิชย์ เป็นประธานเปิดงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะเผยแพร่และอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของชนชาติพันธ์ไทยพื้นถิ่น(โพหัก) ซึ่งเป็นชนชาติพันธ์หนึ่งใน 8 ชนเผ่าของจังหวัดราชบุรี และเพื่อกระตุ้นปลุกจิตสำนึกให้คนโพหักรักและหวงแหนมรดกที่บรรพชนสร้างไว้ให้ รู้จักรักและหวงแหนและช่วยกันรักษาสืบต่อไปถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน และได้จัดงานเป็นประเพณีติดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน
กิจกรรมมีหลากหลายล้วนเป็นศิลปวัฒนธรรมไทยพื้นถิ่นทั้งสิ้น รวมถึงการจัดประกวดรำโทนโพหัก ตั้งแต่ผู้ใหญ่ และเด็ก ทั้ง 11 หมู่บ้านทุกปี จนทุกวันนี้มีความมั่นใจแล้วว่า “รำโทนโพหัก” ไม่มีวันสูญหายไปอีกแล้ว ผลของการจัดงานเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ท่านผู้ใหญ่ในจังหวัดให้การสนับสนุน โดยเฉพาะท่านผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี และท่านนายอำเภอบางแพ ท่านจัดหางบประมาณให้มาถึง 3 ปี สำนักงานกีท่องเที่ยวและนันทนาการจังหวัดราชบุรี ได้นำงานนี้ลงในปฏิทินการท่องเที่ยวแล้วในปี พ.ศ.2551
ลักษณะการแสดงรำโทนโพหัก
มีพ่อเพลง แม่เพลง เป็นผู้ร้องเพลงเชียร์ให้รำ มีเครื่องดนตรีประกอบจังหวะในการร้องการรำ คือ โทน ฉิ่ง ฉาบ กรับ ผู้แสดง ชาย – หญิง รำกันเป็นคู่ ๆ เดินรำเป็นวง (จะนิยมเดินวนซ้ายมือ) การแต่งกายของผู้แสดง แต่งกายตามพื้นบ้านสมัยนั้น คือ ชาย จะนุ่งโจงกระเบน ใส่เสื้อคอกลมผ่าหน้าหลากสี(ใช้ผ้าสี) หญิง จะนุ่งโจงกระเบน ใส่เสื้อคออ้อม(คล้ายเสื้อกระโปรง) ห่มทับด้วยผ้าสไบ (ดังภาพ)
ลักษณะเด่นของรำโทนโพหัก
รำโทนโพหักจะมีลักษณะโดดเด่นทั้งเพลงที่ร้องและท่าทางการร่ายรำ เพลงที่ร้องจะมีเนื้อร้องและทำนองที่สนุกสนาน ปลุกอารมณ์ให้คึกครื้นชวนให้รำ ท่ารำก็ไม่เหมือนรำวงทั่วไป ตรงที่ผู้รำจะแสดงท่าทางตามเนื้อเพลง แสดงสีหน้าท่าทางให้สอดคล้องกับเนื้อเพลง โดยคู่ชาย–หญิง จะรำแบบเกี้ยวพาราสีกัน หยอกล้อกัน โดยแสดงออกทางสีหน้าท่าทางให้ผู้ชมเห็นได้ชัดเจน
การแต่งกายของชายและหญิง ในการแสดงรำโทน |
ลักษณะเด่นของรำโทนโพหัก
รำโทนโพหักจะมีลักษณะโดดเด่นทั้งเพลงที่ร้องและท่าทางการร่ายรำ เพลงที่ร้องจะมีเนื้อร้องและทำนองที่สนุกสนาน ปลุกอารมณ์ให้คึกครื้นชวนให้รำ ท่ารำก็ไม่เหมือนรำวงทั่วไป ตรงที่ผู้รำจะแสดงท่าทางตามเนื้อเพลง แสดงสีหน้าท่าทางให้สอดคล้องกับเนื้อเพลง โดยคู่ชาย–หญิง จะรำแบบเกี้ยวพาราสีกัน หยอกล้อกัน โดยแสดงออกทางสีหน้าท่าทางให้ผู้ชมเห็นได้ชัดเจน
รูปแบบการแสดงรำโทนโพหัก
ก่อนการแสดงจะจัดทำเวที มีสายรุ้ง พวงมะโหด ตกแต่งเวทีให้สวยงาม ตรงกลางเวที จะนำครกไม้ตำข้าว (สมัยนั้น) มาวางเป็นจุดกลาง พ่อเพลงแม่เพลงและนักดนตรี นั่งเป็นกลุ่มอยู่ด้านหนึ่ง ฝ่ายชายจะเป็นผู้ไปโค้งฝ่ายหญิงรำเป็นคู่ๆ โดยเดินรำเป็นวงรอบครกตำข้าวใครพอใจสาวคนไหนก็จะหมายตาโค้งออกมารำ เริ่มแสดงตั้งแต่หัวค่ำจนใกล้รุ่ง ก่อนจะจบการแสดงจะมีการร้องเพลงเพื่อลากลับทุกครั้ง โดยใช้เพลงลาที
การแสดงรำโทนโพหัก |
****************************
อ่านต่อ : รวมเพลงรำโทนโพหัก 48 เพลง
ที่มาข้อมูลและภาพ
- sin.(2552). รำโทนโพหัก อนุรักษ์วิถีไทยพื้นถิ่นโพหัก อ.บางแพ จ.ราชบุรี. [Online]. Available :http://romtonepohuak.blogspot.com/. [2555 เมษายน 8 ].
1 ความคิดเห็น:
As claimed by Stanford Medical, It's really the SINGLE reason women in this country live 10 years more and weigh 19 KG less than us.
(And by the way, it really has NOTHING to do with genetics or some hard exercise and EVERYTHING to do with "HOW" they eat.)
P.S, I said "HOW", not "what"...
Tap on this link to determine if this easy test can help you unlock your true weight loss possibilities
แสดงความคิดเห็น