วันเสาร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2552

เพลงเกี่ยวข้าว


เพลงเกี่ยวข้าวเป็นเพลงพื้นบ้านของชาวราชบุรี เพลงหนึ่ง เนื่องจากสมัยก่อน ชาวจังหวัดราชบุรีมีอาชีพทำนากันเป็นส่วนใหญ่


เพลงเกี่ยวข้าวเป็นเพลงที่ชาวนานิยมร้องระหว่างการเกี่ยวข้าว ในอดีตชาวนาจะมาช่วยกันเกี่ยวข้าว หรือที่เรียกว่า "การลงแขก" ระหว่างการเกี่ยวข้าวก็จะมีการร้องรำทำเพลง เพื่อเพิ่มบรรยากาศในการเก็บเกี่ยวให้มีความคึกคักสนุกสนาน อีกทั้งยังเป็นการผ่อนคลายความเหนื่อยล้าระหว่างการทำงานได้เป็นอย่างดี


เพลงเกี่ยวข้าวพบในทุกๆ จังหวัดที่มีการทำนา ประวัติของเพลงเกี่ยวข้าว มีเล่นมากันตั้งแต่สมัยใดไม่ปรากฏหลักฐาน ลักษณะของเพลงเกี่ยวข้าวจะเป็นกลอนสั้นๆ ใช้ร้องยั่วเย้ากัน ระหว่างชายหญิง ไม่มีถ้อยคำหยาบโลน ส่วนมากจะเป็นการเกี้ยวพาราสีกันเท่านั้น


การแต่งกาย

ฝ่ายหญิง จะนุ่งโจงกระเบนและสวมเสื้อแขนยาว สวมงอบ
ฝ่ายชาย จะนุ่งโสร่ง โจงกระเบน หรือกางเกงสามส่วน สวมเสื้อม่อฮ่อมหรือเสื้อคอกลม และสวมงอบ


ตัวอย่างเพลงเกี่ยวข้าวที่พบใน จ.ราชบุรี
คว้าเถิดหนาแม่คว้า
รีบตะบึงให้ถึงคันนา
จะได้พูดจากัน (เอ่ย)ฯ
เกี่ยวเถิดหนาแม่เกี่ยว
อย่ามัวแลมัวเหลียว
เคียวจะบาดมือ (เอ่ย)ฯ
เกี่ยวข้าวแม่ยาย
ผักบุ้งหญ้าหวาย
พันที่ปลายกำ (เอ่ย)ฯ
คว้าเถิดหนาแม่คว้า
ผักบุ้งสันตะว้า
คว้าให้เต็มกำ (เอ่ย)ฯ
ฯลฯ

ปรับปรุงมาจาก
มรกต งามภักดี. (2543). ราชบุรี. กรุงเทพฯ : บริษัท ต้นอ้อ 1999 จำกัด.

ไม่มีความคิดเห็น: