ผู้ริเริ่มและก่อตั้ง ...ได้ดำเนินการก่อตั้งมาประมาณ 9 ปี เริ่มเมื่อปี พ.ศ.2544 โดยอาจารย์ไกร ตราบดี (อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนวัดอมรญาติสมาคม ปัจจุบันเป็นประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอดำเนินสะดวก และกรรมการพัฒนาโรงพยาบาลดำเนินสะดวก) นางจงกลนี วรพงศ์ (ในช่วงนั้นเป็นหัวหน้าหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง) และนายแพทย์สุรัติ เล็กอุทัย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลดำเนินสะดวก ได้มีความคิดที่จะจัดตั้งวงดนตรีไทยของโรงพยาบาลดำเนินสะดวกขึ้นเป็นสวัสดิการทางสันทนาการของเจ้าหน้าที่ เป็นการสืบสานงานศิลปวัฒนธรรมทางด้านดนตรีไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติ และสร้างเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของโรงพยาบาลได้ในทางหนึ่ง
ในช่วงปีแรกนั้น มีการฝึกซ้อมเกือบทุกวันในเวลาเย็น ณ ห้องศาสนา อาคาเฉลิมพระเกียรติ มีผู้มาเรียนจำนวนมาก โดยมีอาจารย์วิชัย โดดเจ็ดริ้ว (โรงเรียนสายธรรมจันทร์) อาจารย์หนู และอาจารย์รุ่งทิวา ยอแสง เป็นผู้สอน
ย่างเข้าปีที่สอง ทั้งอาจารย์และศิษย์ต่างติดภารกิจ สมาชิกลดน้อยลงมาก คงเหลือไม่กี่คน (คุณอรพันธ์ คุณจงกล คุณนัฐฐินี คุณสมพิศ คุณสุนิสา และคุณจิณัฐตา) ได้อาจารย์อภิชาติ อินทร์ยงค์ (โรงเรียนวัดอัมพวัน และคณะหุ่นกระบอกครูเชิด ชำนาญศิลป์) เข้ามาสอนแทน ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการเล่น การสอน และขับร้องดนตรีไทย และมรสมาชิกรุ่นที่สองและสามทยอยมาเพิ่มขึ้น (ภก.ทศพล, คุณผานิตา,คุณมยุรี,คุณพิชชานันท์,คุณป้านภางค์ และคุณป้ามาลี)จนถึงปัจจุบันมีสมาชิก 14 คน เป็นผู้ใหญ่ 11 คนและเด็กๆ 3 คน(บุตรของเจ้าหน้าที่) ฝึกซ้อมทุกวันอังคารและพฤหัสบดี เวลา 16.30-18.30 น.มีเพลงต่อไปแล้ว 40 กว่าเพลง มีกิจกรรมอสดงประจำปี 6 งาน ในงานของอำเภอดำเนินสะดวก 4 งาน คือ ดนตรีไทยเฉลิมพระเกียรติร่วมกับชมรมผู้สูงอายุอำเภอดำเนินสะดวก ในวันแม่ 12 สิงหาคม วันพ่อที่ 5 ธันวาคม งานองุ่นหวานเดือนเมษายน งานรำลึกเสด็จประพาสต้น ร.5 เดือนกรกฏาคม และในงานของโรงพยาบาลดำเนินสะดวก 2 งาน คือ Sport night เดือนกุมภาพันธ์ และวันเกิดโรงพยาบาลเดือนมิถุนายน
การจัดตั้งชมรมดนตรีไทยเป็นเรื่องยาก แต่การรักษาให้ธำรงอยู่นั้นยิ่งยากกว่า ในปัจจุบันผู้เล่นที่คงอยู่ล้วนเป็นผู้มีใจรักด้านดนตรีไทย มีความตั้งในจริง จัดสรรเวลาในการเรียนได้ และมีความขยันหมั่นฝึกซ้อม บรรยากาศซ้อมแบบสบายๆ เป็นกันเอง สนุกสนาน เน้นกิจกรรมสันทนาการมากกว่าการซ้อมจริงจังเพื่อการแข่งขัน มีสมาชิกหลายช่วงอายุ ทั้งวัยหลังเกษียณ วัยกลางๆ สาวรุ่น และเด็กประถม รวมทั้งมีการประสานงาน จากอาจารย์ไกร ตราบดี ให้ร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของสภาวัฒนธรรมอำเภอดำเนินสะดวก ทำให้มีเวทีในการแสดงและพัฒฯาฝีมือให้ดีขึ้น
ทางชมรมดนตรีไทยจึงยังดำรงอยู่ได้นานกว่า 10 ปี ยังคงมีเพลงไทยที่ต้องเรียนอีกนับร้อยเพลง มีเครื่องดนตรีที่แต่ละคนต้องเล่นให้ได้มากกว่า 1 ชิ้น อีกหลายชนิด มีเพลงที่ต้องให้ฝึกร้องกันให้ได้อีกหลายเพลง มีเวทีที่จะแสดงได้อีกหลายงาน มีโครงการดนตรีบำบัดในสวน รอให้พวกเราชาวชมรมไปแสดงฝีมือในเร็วๆ นี้
ทางชมรมดนตรีไทยจึงยังดำรงอยู่ได้นานกว่า 10 ปี ยังคงมีเพลงไทยที่ต้องเรียนอีกนับร้อยเพลง มีเครื่องดนตรีที่แต่ละคนต้องเล่นให้ได้มากกว่า 1 ชิ้น อีกหลายชนิด มีเพลงที่ต้องให้ฝึกร้องกันให้ได้อีกหลายเพลง มีเวทีที่จะแสดงได้อีกหลายงาน มีโครงการดนตรีบำบัดในสวน รอให้พวกเราชาวชมรมไปแสดงฝีมือในเร็วๆ นี้
พวกเราชาวชมรมดนตรีไทยโรงพยาบาลดำเนินสะดวก ล้วนมีความภาคภูมิใจที่เป็นตัวแทนของโรงพยาบาล ในการสืบสานงานศิลปวัฒนธรรมทางด้านดนตรีไทย ร่วมสร้างเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของโรงพยาบาลสู่สังคมภายนอก และสร้างสรรค์ความบันเทิง อรรถรสทางดนตรีสู่หัวใจของผู้มีดนตรีในหัวใจทุกๆ คน
ที่มา :
ผานิตา พงษ์เศวต. (2553). ชมรมดนตรีไทยโรงพยาบาลดำเนินสะดวก.กึ่งศตวรรษ 50 ปี โรงพยาบาลดำเนินสะดวก. นครปฐม : เพชรเกษม พริ้นติ้ง กรุ๊ป. (หน้า 132-133)
ผานิตา พงษ์เศวต. (2553). ชมรมดนตรีไทยโรงพยาบาลดำเนินสะดวก.กึ่งศตวรรษ 50 ปี โรงพยาบาลดำเนินสะดวก. นครปฐม : เพชรเกษม พริ้นติ้ง กรุ๊ป. (หน้า 132-133)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น