คณะลิเกยิ่งรัก อารีพร ลิเกเด็กและเยาวชน แห่ง อ.บ้านโป่ง ในปัจจุบัน ที่ยังพอมีสืบทอดอยู่บ้าง อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม |
เป็นบุตรีของนางทองดี สีสกุล ได้รับการฝึกหัดสืบทอดศิลปะการแสดงด้านละคร และลิเกมาจากมารดา และเป็นโตโผลิเกคณะ "ศิลป์สงเสริม" และฝึกหัดลูกหลานเล่นลิเกจนเกิดคณะลิเกหลายคณะ เช่น อุดมศิลป์ ราชศักดิ์,อุดมศักดิ์วัยรุ่น และลูกหลานบางคนได้อาศัยพื้นฐานเล่นลิเกไปจัดตั้งคณะตลกได้แก่ คณะตลก "ชวนชื่น" มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักทั่วประเทศ
นางทองคำ สีสกุล
นางทองคำฯ มีชีวิตอยู่ระหว่างปี พ.ศ.2450-2525 ชาวบ้านเรียกนางทองคำฯ ว่า "ป้าดำ" เป็นบุตรสาวของนางทองดี สีสกุล เป็นศิลปินผู้สืบทอดศิลปะการแสดงโขน ละคร ลิเก และดนตรีไทยจากมารดา ระหว่างอายุ 13-18 ปี ได้มีโอกาสเข้าไปศึกษาหาความรู้ด้านการแสดงโขน ละคร และลิเกจากกรุงเทพฯ เมื่ออายุได้ราว 15 ปี ได้มีโอกาสแสดงละครหน้าพระที่นั่งถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 จนเป็นที่พอพระราชหฤทัย ทรงชมว่า "เธอแสดงได้ดีมาก" และพระราชทานกระบี่ พระธำมรงค์ และเหรียญตรา ให้เป็นที่ระลึกซึ่งนางทองคำ สีสกุล ได้ซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณครั้งนี้เป็นอย่างมาก และเล่าขานให้ลูกหลานฟังอย่างภาคภูมิใจ
เมื่ออายุได้ 18 ปี ได้กลับไปอยู่กับมารดาที่บ้านโป่ง หาเลี้ยงชีพโดยการเล่นโขน ละคร และลิเก และเป็นโต้โผคณะลิเก "ทองคำ ดำรงศิลป์" แสดงเป็นนางเอก นับเป็นคณะลิเกที่มีชื่อเสียงมากคณะหนึ่งในขณะนั้น ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี นางทองคำ สีสกุล ได้สอบผ่านความรู้ด้านนาฎศิลป์จากกรมศิลปากร ได้บัตรประจำตัวเทียบเท่าศิลปิน ได้สิทธิเล่นลิเกอาชีพได้
นางทองคำ สีสกุล จัดเป็นศิลปินองค์แห่งความรู้ด้านศิลปะการแสดงโขน ละคร ลิเก และดนตรีไทย โดยแท้ ท่านได้ฝึกหัดลิเกแก่ลูกหลานหลายรุ่น และศิษย์บางคนยังคงเล่นลิเกเป็นอาชีพจนถึงปัจจุบัน เช่น คณะบุนนาค ทองคำศิลป์ และคณะอรวรรณ นาฎศิลป์
ต่อมานายบุญนาค แสงใส หัวหน้าคณะลิเกบุญนาค ทองคำศิลป์ ศิษย์เอกของแม่ทองคำ สีสกุล ได้สืบทอดและฝึกหัดลิเกตั้งแต่รุ่นเด็กถึงรุ่นใหญ่ มีลูกศิษย์ออกไปตั้งคณะลิเกสร้างชื่อเสียงให้แก่ อ.บ้านโป่ง หลายคณะ เช่น คณะน้ำผึ้ง เดือนเพ็ญ, สมพร ศิษย์เมธา, จ๊ะเอ๋ เมธา, สุนันท์ จันทรา เป็นต้น
นางสาลี่ ทองอยู่
เป็นธิดาของนายลับ และนางละม่อม สุนทร ชาวเพชรบุรี บิดามารดาเป็นศิลปินละครเมืองเพชรที่มีชื่อเสียง มารดาเคยเล่นละครถวายหน้าพระที่นั่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 และได้รับพระราชทานนาวมสกุล "สุนทร" นางสาลี่ ทองอยู่ ได้ฝึกหัดละครตั้งแต่อายุ 13-14 ปี เมื่อบิดาเสียชีวิตจึงได้อพยพมาตั้งรกรากทำมาหากินอยู่ใน อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี โดยเล่นละครและลิเกเป็นอาชีพหลัก ต่อมาได้แต่งงานอยู่กินกับนายเขียว สีสกุล บุตรชายคนสุดท้องของนางทองดี สีสกุล ซึ่งมีความสามารถด้านการเล่นลิเก และเล่นระนาคในวงปี่พาทย์ ต่อมาภายหลังได้แต่งงานใหม่กับนายสง่า ทองอยู่ เมื่อ พ.ศ.2500 และได้ตั้งคณะลิเก "สาลี่ศรีสง่า" นับเป็นลิเกที่มีชื่อเสียงคณะหนึ่งของจังหวัดราชบุรี และนางสาลี่ ทองอยู่ ได้ฝึกหัดลิเกแก่บุตรหลานจนเกิดคณะลิเกขึ้นใหม่ใน อ.บ้านโป่ง หลายคณะ เช่น คณะสมชาย บุตรสำราญ, เพชร น้ำหนึ่ง, เนตรดาว บุตรสำราญ, สาลิกา สายัณห์ เป็นต้น
นายทองเคลิ้ม คล้ายพันธุ์
เป็นลูกหลานลิเกชาวบ้านโป่งโดยแท้ ได้เริ่มฝึกหัดลิเกเมื่ออายุได้ 13 ปี จากบิดา มารดา และนางสำลี สว่างเมฆ ผู้เป็นป้า เมื่อ พ.ศ.2489 อายุได้ 15 ปี ได้เล่นลิเกเป็นพระเอก "คณะ อ.แสงจันทร์" ต่อมาได้ตั้งคณะลิเกเป็นของตนเองชื่อ "ทองเคลิ้ม เสริมศิลป์" เคยเล่นลิเกร่วมกัยสมศักดิ์ ภักดี คณะดำเนินศิลปิน ออกอากาศทางสถานีวิทยุ 012 กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม และสถานีวิทยุ 07 จันทบุรี
นายเคลิ้ม คล้ายพันธุ์ ได้ฝึกหัดลิเกให้ลูกศิษย์ลูกหลานอย่างต่อเนื่องหลายรุ่น บางรุ่นออกไปตั้งคณะลิเกทำมาหากินจนมีชื่อเสียง เช่น บุญเลิศ กังวาลศิลป์, สมรักษ์ รุ่งเรืองศิลป์ และพระเอกนางเอกในสังกัดคณะทองเคลิ้ม เสริมป์ศิลป์ ที่มีชื่อเสียงเช่นกัน เช่น เพชร ไพรินทร์, ขวัญนภา เสริมศิลป์, รุ่ง ดารา, เอกชัย เพชรไพฑูรย์ และทรงพล ดาวรุ่ง เป็นต้น
นางลำใย วงศ์พิชิต
มีชีวิตอยู่ระหว่าง ปี พ.ศ.2470-2522 ฉายา "ราชาละครเร่" นางลำใยฯ เดิมเป็นชาวจังหวัดอ่างทอง ฝึกหัดเล่นลิเกครั้งแรกกับครูสันโดษ และเล่นลิเกเป็นอาชีพ ต่อมาได้ย้ายภูมิลำเนามาหากินในเขต อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี และตั้งคณะลิเก " สหายศิลปิน 1" โดยตนเองเป็นโต้โผและเล่นเป็นพระเอกประจำคณะ จนมีชื่อเสียงรู้จักทั่วไปในเขตจังหวัดราชบุรี เพชรบุรี นครปฐม และชุมพร เป็นต้น เมื่อเล่นประชันกับคณะอื่นมักชนะเสมอ และเกิดคณะลิเกสหายศิลปิน 2 และ 3 เพื่อรองรับความต้องการของเจ้าภาพที่จัดหาไปแสดง
ต่อมาได้ยุบคณะลิเกสหายศิลปิน 1 ลงเพราะคณะลิเกมีจำนวนมากขึ้น การแข่งขันสูง และรายได้ไม่ดีเท่าที่ควร จึงหันไปเล่นละครเวทีสมัยใหม่ในรูปแบบ ละครเร่ โดยเร่ปิดวิกเก็บสตางค์จากผู้ชมไปตามจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ โดยได้แนวคิดจากการชมละครเวที คณะ ร.ลูกไทย ที่ จ.พิษณุโลก และเกิดความประทับใจ และตัดสินใจเปลี่ยนการแสดงลิเกมาเป็นละครเวที ปรากฏว่าได้รับการตอบรับจากผู้ชม แฟนละครเป็นอย่างดี เพราะคณะละครเวทีมีน้อยทำให้มีรายได้ดีขึ้น และสามารถสร้างตัวได้มั่นคง จนได้รับฉายาว่า "ราชาละครเร่ คุณลำใย" นางลำใยได้แสดงละครเร่ครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ.2522 ในงานนมัสการพระฉาย วัดดอนตูม อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ถึงแก่กรรมเมื่ออายุเพียง 52 ปี โดยมีนางประยูร วงศ์พิชิต และนางพเยาว์ วงศ์พิชิต บุตรสาวคนโตและคนรอง เป็นหัวหน้าคณะแทน และนำละครเร่ออกแสดงจนถึง พ.ศ.2527 จึงได้ยุบคณะลงเนื่องจากหาตัวศิลปินผู้แสดงยาก และเป็นงานที่เหนื่อยที่ต้องเร่ออกตามสถานที่ต่างๆ ผู้แสดงไม่มีเวลาเป็นของตนเอง ปัจจุบันลูกหลานได้หันไปประกอบอาชีพรับจ้างฉายภาพยนตร์กลางแปลง และปิดวิกแทน
*****************************************************
อ่านต่อ ตำนานลิเกราชบุรี ตอน 3
ที่มาข้อมูล
คณะกรรมการอำนวยการโครงการจัดทำหนังสือ เรื่อง "วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญา". (2543). หนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดราชบุรี. กรมศิลปากร : องค์การค้าของคุรุสภา. (หน้า 170-180) (ดูภาพหนังสือ)
เมื่ออายุได้ 18 ปี ได้กลับไปอยู่กับมารดาที่บ้านโป่ง หาเลี้ยงชีพโดยการเล่นโขน ละคร และลิเก และเป็นโต้โผคณะลิเก "ทองคำ ดำรงศิลป์" แสดงเป็นนางเอก นับเป็นคณะลิเกที่มีชื่อเสียงมากคณะหนึ่งในขณะนั้น ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี นางทองคำ สีสกุล ได้สอบผ่านความรู้ด้านนาฎศิลป์จากกรมศิลปากร ได้บัตรประจำตัวเทียบเท่าศิลปิน ได้สิทธิเล่นลิเกอาชีพได้
นางทองคำ สีสกุล จัดเป็นศิลปินองค์แห่งความรู้ด้านศิลปะการแสดงโขน ละคร ลิเก และดนตรีไทย โดยแท้ ท่านได้ฝึกหัดลิเกแก่ลูกหลานหลายรุ่น และศิษย์บางคนยังคงเล่นลิเกเป็นอาชีพจนถึงปัจจุบัน เช่น คณะบุนนาค ทองคำศิลป์ และคณะอรวรรณ นาฎศิลป์
ต่อมานายบุญนาค แสงใส หัวหน้าคณะลิเกบุญนาค ทองคำศิลป์ ศิษย์เอกของแม่ทองคำ สีสกุล ได้สืบทอดและฝึกหัดลิเกตั้งแต่รุ่นเด็กถึงรุ่นใหญ่ มีลูกศิษย์ออกไปตั้งคณะลิเกสร้างชื่อเสียงให้แก่ อ.บ้านโป่ง หลายคณะ เช่น คณะน้ำผึ้ง เดือนเพ็ญ, สมพร ศิษย์เมธา, จ๊ะเอ๋ เมธา, สุนันท์ จันทรา เป็นต้น
นางสาลี่ ทองอยู่
เป็นธิดาของนายลับ และนางละม่อม สุนทร ชาวเพชรบุรี บิดามารดาเป็นศิลปินละครเมืองเพชรที่มีชื่อเสียง มารดาเคยเล่นละครถวายหน้าพระที่นั่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 และได้รับพระราชทานนาวมสกุล "สุนทร" นางสาลี่ ทองอยู่ ได้ฝึกหัดละครตั้งแต่อายุ 13-14 ปี เมื่อบิดาเสียชีวิตจึงได้อพยพมาตั้งรกรากทำมาหากินอยู่ใน อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี โดยเล่นละครและลิเกเป็นอาชีพหลัก ต่อมาได้แต่งงานอยู่กินกับนายเขียว สีสกุล บุตรชายคนสุดท้องของนางทองดี สีสกุล ซึ่งมีความสามารถด้านการเล่นลิเก และเล่นระนาคในวงปี่พาทย์ ต่อมาภายหลังได้แต่งงานใหม่กับนายสง่า ทองอยู่ เมื่อ พ.ศ.2500 และได้ตั้งคณะลิเก "สาลี่ศรีสง่า" นับเป็นลิเกที่มีชื่อเสียงคณะหนึ่งของจังหวัดราชบุรี และนางสาลี่ ทองอยู่ ได้ฝึกหัดลิเกแก่บุตรหลานจนเกิดคณะลิเกขึ้นใหม่ใน อ.บ้านโป่ง หลายคณะ เช่น คณะสมชาย บุตรสำราญ, เพชร น้ำหนึ่ง, เนตรดาว บุตรสำราญ, สาลิกา สายัณห์ เป็นต้น
นายทองเคลิ้ม คล้ายพันธุ์
เป็นลูกหลานลิเกชาวบ้านโป่งโดยแท้ ได้เริ่มฝึกหัดลิเกเมื่ออายุได้ 13 ปี จากบิดา มารดา และนางสำลี สว่างเมฆ ผู้เป็นป้า เมื่อ พ.ศ.2489 อายุได้ 15 ปี ได้เล่นลิเกเป็นพระเอก "คณะ อ.แสงจันทร์" ต่อมาได้ตั้งคณะลิเกเป็นของตนเองชื่อ "ทองเคลิ้ม เสริมศิลป์" เคยเล่นลิเกร่วมกัยสมศักดิ์ ภักดี คณะดำเนินศิลปิน ออกอากาศทางสถานีวิทยุ 012 กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม และสถานีวิทยุ 07 จันทบุรี
นายเคลิ้ม คล้ายพันธุ์ ได้ฝึกหัดลิเกให้ลูกศิษย์ลูกหลานอย่างต่อเนื่องหลายรุ่น บางรุ่นออกไปตั้งคณะลิเกทำมาหากินจนมีชื่อเสียง เช่น บุญเลิศ กังวาลศิลป์, สมรักษ์ รุ่งเรืองศิลป์ และพระเอกนางเอกในสังกัดคณะทองเคลิ้ม เสริมป์ศิลป์ ที่มีชื่อเสียงเช่นกัน เช่น เพชร ไพรินทร์, ขวัญนภา เสริมศิลป์, รุ่ง ดารา, เอกชัย เพชรไพฑูรย์ และทรงพล ดาวรุ่ง เป็นต้น
นางลำใย วงศ์พิชิต
มีชีวิตอยู่ระหว่าง ปี พ.ศ.2470-2522 ฉายา "ราชาละครเร่" นางลำใยฯ เดิมเป็นชาวจังหวัดอ่างทอง ฝึกหัดเล่นลิเกครั้งแรกกับครูสันโดษ และเล่นลิเกเป็นอาชีพ ต่อมาได้ย้ายภูมิลำเนามาหากินในเขต อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี และตั้งคณะลิเก " สหายศิลปิน 1" โดยตนเองเป็นโต้โผและเล่นเป็นพระเอกประจำคณะ จนมีชื่อเสียงรู้จักทั่วไปในเขตจังหวัดราชบุรี เพชรบุรี นครปฐม และชุมพร เป็นต้น เมื่อเล่นประชันกับคณะอื่นมักชนะเสมอ และเกิดคณะลิเกสหายศิลปิน 2 และ 3 เพื่อรองรับความต้องการของเจ้าภาพที่จัดหาไปแสดง
ต่อมาได้ยุบคณะลิเกสหายศิลปิน 1 ลงเพราะคณะลิเกมีจำนวนมากขึ้น การแข่งขันสูง และรายได้ไม่ดีเท่าที่ควร จึงหันไปเล่นละครเวทีสมัยใหม่ในรูปแบบ ละครเร่ โดยเร่ปิดวิกเก็บสตางค์จากผู้ชมไปตามจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ โดยได้แนวคิดจากการชมละครเวที คณะ ร.ลูกไทย ที่ จ.พิษณุโลก และเกิดความประทับใจ และตัดสินใจเปลี่ยนการแสดงลิเกมาเป็นละครเวที ปรากฏว่าได้รับการตอบรับจากผู้ชม แฟนละครเป็นอย่างดี เพราะคณะละครเวทีมีน้อยทำให้มีรายได้ดีขึ้น และสามารถสร้างตัวได้มั่นคง จนได้รับฉายาว่า "ราชาละครเร่ คุณลำใย" นางลำใยได้แสดงละครเร่ครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ.2522 ในงานนมัสการพระฉาย วัดดอนตูม อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ถึงแก่กรรมเมื่ออายุเพียง 52 ปี โดยมีนางประยูร วงศ์พิชิต และนางพเยาว์ วงศ์พิชิต บุตรสาวคนโตและคนรอง เป็นหัวหน้าคณะแทน และนำละครเร่ออกแสดงจนถึง พ.ศ.2527 จึงได้ยุบคณะลงเนื่องจากหาตัวศิลปินผู้แสดงยาก และเป็นงานที่เหนื่อยที่ต้องเร่ออกตามสถานที่ต่างๆ ผู้แสดงไม่มีเวลาเป็นของตนเอง ปัจจุบันลูกหลานได้หันไปประกอบอาชีพรับจ้างฉายภาพยนตร์กลางแปลง และปิดวิกแทน
*****************************************************
อ่านต่อ ตำนานลิเกราชบุรี ตอน 3
ที่มาข้อมูล
คณะกรรมการอำนวยการโครงการจัดทำหนังสือ เรื่อง "วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญา". (2543). หนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดราชบุรี. กรมศิลปากร : องค์การค้าของคุรุสภา. (หน้า 170-180) (ดูภาพหนังสือ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น